การเพิ่มความสุข(well-being)ในเด็กออทิสติก



                                           

Well-being คือ ความสุข ความสุขในการดำเนินชีวิต ความพึงพอใจในชีวิตทั้งในอดีตและปัจจุบัน คิดบวก มองโลกในแง่ดี ความสุขสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ความสุขที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เพื่อน ครอบครัว การงาน การเงิน ความรัก ความสุขจากการช่วยเหลือและแบ่งปันกัน ซึ่งความสุขนี้อยู่รอบๆตัวเราเสมอ อยู่ที่ว่าเราจะมอง จะรู้สึกกับมันอย่างไร ดังคำว่าที่ว่า"ความสุขสร้างได้ด้วยตัวคุณเอง"


การเพิ่มความสุขในเด็กออทิสติกนี้เราจะเพิ่มที่ความสุขของตัวเด็กเองเป็นหลัก

อันดับแรกคือเราต้องเข้าใจความเป็นธรรมชาติของเด็กปกติ และเด็กที่บกพร่องประเภทนี้ก่อน แล้วเราถึงจะนำจิตใจของตัวเราเองใส่ลงไปว่าหากเราเป็นเด็กประเภทนี้แล้ว เราต้องการอะไร?

จากที่เราทราบอยู่แล้วว่า เด็กประเภทนี้มีความบกพร่องที่ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตและสังคมรอบข้างทั้งสิ้น เช่น ไม่สนใจคนรอบข้าง มีพฤติกรรมก้าวร้าว จนทำให้ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างแม้กระทั่งคนในครอบครัวเอง ธรรมชาติของความสุขในเด็กออทิสติกเองก็เหมือนกับเด็กทั่วไปนั่นก็คือ การเล่น หากเราทราบแล้วว่าการเล่นคือความสุขของเด็ก กิจกรรมสื่อการรักษาหรือการทำกิจกรรมในแต่ละวัน ก็ควรที่จะดึงดูดความสนใจ ให้เขาพร้อมที่จะทำกิจกรรมเสมอ ให้เขารู้สึกว่าบางอย่างรอบตัวของเขาก็มีสิ่งที่น่าสนใจไปไม่น้อยกว่าของเล่นที่เขาสนใจหรือเล่นซ้ำๆกันทั้งวัน

นอกจากการเพิ่มความสุขในเด็กออทิสติกแล้ว การให้คำแนะนำแก่ครอบครัวของเด็กออทิสติกเองก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะการที่เด็กคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเป็นเด็กพิเศษ เขาก็ย่อมที่จะต้องการการดูแลเป็นพิเศษกว่าคนอื่นเช่นกัน สำหรับครอบครัวที่มีเด็กพิเศษเพียงคนเดียว อาจไม่มีปัญหาอะไรมากนัก เพราะจะได้รับการดูแลจากครอบครัวอย่างเต็มที่ แต่สำหรับครอบครัวที่เด็กคนใดคนหนึ่งเป็นเด็กพิเศษแล้ว ย่อมส่งผลต่อเด็กอีกคนที่เป็นเด็กปกติเช่นกัน

                                               

เช่น ในครอบครัวที่มีทั้งเด็กออทิสติกและเด็กปกติ พ่อแม่ควรทำกิจกรรมทั้งในรูปแบบครอบครัวและแบบกิจกรรมเฉพาะสำหรับสมาชิกแต่ละคน แต่ก็ไม่ควรละเลยคนใดคนหนึ่งไป ต้องสอนให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างตนเองและพี่น้องออทิสติก รวมทั้งการยอมรับความแตกต่างของพี่น้องแต่ละคนในครอบครัว ควรมีการมอบหมายให้พี่น้องคนอื่นดูแลเด็กพิเศษภายในบ้านแต่ก็ไม่ควรมากเกินไป เพราะเด็กอาจเกิดความรู้สึกน้อยใจที่ต้องมีภาระมากมายในขณะที่เด็กพิเศษไม่ต้องทำอะไรเลย และการสนับสนุนให้พี่น้องมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพี่หรือน้องออทิสติก จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 

แต่อย่างไรก็ตามพ่อแม่ควรคำนึงว่า เด็กก็ต้องการเพื่อนและการยอมรับของสังคม พ่อแม่ควรสนับสนุนในสิ่งที่เด็กสนใจ เมื่อเด็กรู้สึกดีกับตัวเอง เด็กจะรู้สึกดีกับการมีพี่น้องที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษด้วยเพราะการดูแลจะมีส่วนช่วยทำให้พี่หรือน้องที่เป็นออทิสติกมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น 




อ้างอิง เทคนิคการดูแลเด็กออทิสติก.[internet].2012.[cited 2013 FEB20]. Available from:http://www.yuwaprasart.com/เทคนิคการดูแลเด็กออทิสติก/กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ.html

หมายเลขบันทึก: 520407เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท