ความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิตของผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)


                                      

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)

               ภาวะกลืนลำบากจะเป็นอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยประเภทต่างๆ โดยมีภาวะนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ เด็กจนไปถึงผู้สูงอายุ เช่น

               ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท เช่น

                    1.โรคอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออย่างเรื้อรัง (Myasthenia gravis)

                    2.เนื้องอกที่ก้านสมอง (Brainstem tomor)

               ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัตติเหตุของเส้นเลือดในสมอง เช่น

                    1.เส้นเลือดอุดตันในสมอง (embolism)

                    2.เส้นเลือดในสมองแตก (cerevral hemorrhage)

              ผู้ป่วยอื่นๆ เช่น

                    1.ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเอากล่องเสียงออก

                    2.ผู้ป่วยที่มีการใส่ท่อหายใจนานๆ

                    3.ผู้ป่วยมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร

                                     

     

ผลเสียจากการมีภาวะกลืนลำบาก

          1. ขาดอาหาร (Malntrltion)

          2. สำลักอาหาร (Aspiration)

          3. หายใจขัด(Choking) ไอ(Coughing) หายใจไม่ออก (Gaging)

          4. ปอดบวมจากการสำลักอาหาร  และน้ำเข้าปอด (Aspirated pneumonia)

          5. ต้องให้ อาหารทางสายยาง(N-G tube) ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร(lrrutatuib of    mucus    membrane) และขาดความสุขในการรับประทานอาหาร


     

บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก

          1. ประเมินความสามารถในด้านการกลืนของผู้ป่วย

          2. ให้การรักษาทางด้านกิจกรรมบำบัดเกี่ยวกับการกลืน

          3. ให้คำแนะนำอุปกรณ์ช่วยในการรับประทานอาหารหรือเลือกอาหารในการฝึกแต่ละระดับ

          4. ฝึกให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารเองได้โดยไม่เป็นภาระกับผู้อื่น


 

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในการเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรม(Occupational Performance)



           การที่ผู้ป่วยมีภาวะการกลืมลำบากนั้นไม่ใช่เหตุผลเดียวที่จะส่งผลให้ความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยลดลง ยังมีอีกหลายอย่างที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรม โดยในที่นี้นักกิจกรรมบำบัดจะใช้ กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด(Model of Occupational Therapy) PEOP (Person Environment Occupation Performance Model) มาเป็นกรอบอ้างอิงในการบำบัดรักษาผู้ป่วย โดยการ มองถึงแต่ละองค์ประกอบในกรอบอ้างอิง และปรับองค์ประกอบต่างๆให้สมดุลกัน เพื่อให้เกิดความสามารถในการทำกิจกรรม

Person (P)

        ในผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากจะมีปัจจัยมาจากตนเองเช่น การไม่อยากอาหาร อันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารแล้วเจ็บหรือกลืนไม่ลง ก็จะส่งผลให้ผอม ขาดสารอาหาร  จนอาจจะทำให้ป่วยได้

Environment(E)

            หมายถึงสิ่งแวดล้อมหรือบริบทต่างๆที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรม

           ในด้านกายภาพ เช่น อาหารการกิน สภาพแวดล้อมของบ้านเหมาะสมต่อการพักอาศัยมั้ย เพราะมีผลทำให้ผู้ที่มีภาวะการกลืนลำบากมีความสุขในการใช้ชีวิตและรับประทานอาหาร

        ในด้านของสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น เวลาในการรับประทานอาหาร รวมถึงบุคคลต่างๆ ทั้งจากครอบครัวและสังคม อาจจะส่งผลให้ ไม่อยากทานอาหาร และยังส่งผลถึงความสามารถในการทำกิจกรรมอีกด้วย

Occupation(O)

        กิจกรรมที่ผู้ป่วยได้ทำเป็นประจำปกติ เช่น การรับประทานอาหารพร้อมกันการดูทีวี,การออกกำลังกาย

Performance(P)

        ความสามารถที่ผู้มีภาวะกลืนลำบากซึ่งอยู่ที่ว่าผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหารได้มากน้อยแค่ไหน และมันยังไปส่งผลถึงความสามารถในการทำกิจกรรมด้านอื่นๆอีกด้วย

        ในการที่จะให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้นนั้นจำเป็นที่จะต้องปรับองค์ประกอบต่างๆในสมดุลกัน ซึ่งในที่นี้จะมองถึงภาวะกลืนลำบากอย่างเดียว เพราะผู้มีภาวะกลืนลำบากส่วนใหญ่ นั้น จะเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่ปกติเป็นอยู่

Person (P)>>>>จะต้องปรับกระบวนการคิดใหม่เพื่อให้สามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น

Environment(E)>>>>จะต้องมีการปรับถึง อาหารการกินรวมถึงทัศนคติของคนรอบข้างอีกด้วย

Occupation(O)>>>>ต้องส่งเสริมให้ทำกิจกรรมทุกอย่างที่ผู้ป่วยทำมาได้อย่างปกติหรือถ้าไม่ก็ต้องชดเชยหรือแทนสิ่งที่ผู้ป่วยขาดหายไปในการทำกิจกรรม

Performance(P)>>>>จะต้องกระตุ้นให้เกิดการรับประทานอาหารเพื่อให้สามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นต่อไปได้

          จากกรอบอ้างอิงจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่มีภาวะการกลืนลำบากนั้นไม่เพียงแต่จะมีปัญหาทางด้านการรับประทานอาหารอย่างเดียว แต่ยังส่งผลถึงกิจกรรมที่ผู้ป่วยเคยทำได้เป็นปกติ เช่น การออกกำลังกาย หากรับประทานอาหารได้น้อย จะทำให้ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย และสุดท้ายก็ไม่อยากออกกำลังกาย

          เพราะเหตุนี้ การที่จะทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการทำกิจกรรมมากขึ้นจะต้อง ปรับองค์ประกอบในกรอบอ้างอิงต่างๆให้มีความเท่ากัน



อ้างอิง:

อนุชิต อุปเวียง.ภาวะกลืนลำบาก(Dysphasia)[ElectronicMaterial].2555[2013 Feb 21].Available from : http://mccormickhospital.blogspot.com/2012/05/dysphasia.html

หมายเลขบันทึก: 520406เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท