การเลื้องกบ


[img src="http://www.fisheries.go.th/if-yasothon/web2/images/fish/L61_1.jpg" border="0" height="179" width="220">


1. บ่อซีเมนต์ นิยมใช้เลี้ยงกันทั่วไปทั้งกบนาและกบบูลฟร๊อก มีขนาดตั้งแต่ 2x 2.5x1 ลบ.ม. จนถึง 3x 4x1 ลบ.ม. บ่อกักเก็บน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร มีหลังคาหรือสิ่งคลุมปิดบังแสงสว่างบางส่วน เพื่อทำให้กบไม่ตื่นตกใจง่ายและช่วยในการป้องกันศัตรู บ่อแบบนี้สามารถดัดแปลงนำไปใช้ในการเลี้ยงเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น การขยายพันธุ์ เลี้ยงกบเนื้อและพ่อแม่พันธุ์ การอนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก ความหนาแน่นที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ คือ 50-80 ตัว /ตารางเมตร กบรุ่นหรือกบเนื้อ คือ 100-120 ตัว/ตารางเมตร และลูกอ๊อด คือ 1,000-1,500 ตัว/ตาราง (ขึ้นอยู่กับขนาดของลูกอ๊อดแต่ละชนิด)

2. บ่อดิน ควรทำในลักษณะกึ่งถาวร โดยขุดบ่อลึกไปในดิน 50-70 เซนติเมตร ฝังท่อระบายน้ำก่อขอบบ่อด้วยอิฐบล๊อกสูง
2-3 ก้อน ด้านบนปากบ่อมีตาข่ายคลุมปิดเพื่อป้องกันนก ศัตรูธรรมชาติอื่นๆ และแมลงปอลงวางไข่ บ่อทำได้ในขนาดเดียวกับบ่อซีเมนต์โดยขึ้นอยู่กับสภาพพพื้นที่ของเกษตรกร ปัจจุบันบ่อดินมีความนิยมน้อยลง เนื่องจากมีข้อเสีย คือดูแลรักษาความสะอาดและป้องกันศัตรูได้ยาก ส่วนข้อดีคือการลงทุนต่ำและบริเวณที่มีอากาศหนาวสามารถใช้เลี้ยงพ่อแม่ พันธุ์กบนาข้ามฤดูกาลได้ดีกว่าบ่อซีเมนต์ อาจทำเป็นบ่อพักกบนาชั่วคราว ในกรณีที่ต้องการลดอาหารเพื่อให้กบพักตัวในช่วงฤดูหนาวก่อนไปขาย

3. บ่อซีเมนต์ชนิดกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางบ่อเป็น 1.5 เมตร มีความสูงอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และมีฝาปิด บ่อขนาดนี้ใช้ได้ดีในการขยายพันธุ์อนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก ง่ายต่อการคัดขนาด แต่ไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงกบใหญ่เนื่องจากกบจะกระโดดชนผนังและฝาที่ใช้ปิด ทำให้ปากแผลเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ถ้าจะใช้เลี้ยงกบใหญ่ ควรทำบ่อซีเมนต์ให้มีความสูงอย่างน้อย 1 เมตร การใช้ถังซีเมนต์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1.5 เมตร ทำบ่อเลี้ยงกบทำให้กบเจริญเติบโต
ไม่ดี เนื่องจากบ่อมีขนาดเล็กเกินไปทำให้กบแออัด

4. การเลี้ยงในกระชัง ในบริเวณพื้นที่ที่มีบ่อน้ำหรือมีสระน้ำขนาดใหญ่หรือมีร่องน้ำไหลผ่านสามารถเลี้ยงกบในกระชังได้ ขนาดของกระชังไม่ควรเล็กกว่า 1 x 2 x 1 ม. หรือใหญ่กว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ที่ลอยกระชังได้ ด้านบนกระชังต้อมีฝาปิดเพื่อป้องกันศัตรู ควรหมั่นตรวจดูรอยรั่วหรือขาดของกระชังอย่างสม่ำเสมอ กระชังสามารถใช้ในการเลี้ยงได้ดีตั้งแต่การอนุบาลลูกอ๊อด ลูกกบเล็กไปจนถึงใหญ่ และเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ โดยเฉพาะในการอนุบาลลูกอ๊อดกบบูลฟร๊อกจะทำให้ลูกอ๊อดโตเร็วและสมบูรณ์

การขยายพันธุ์  บ่อขยายพันธุ์ ใช้ได้ทั้งบ่อซีเมนต์กลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เมตร บ่อซีเมนต์สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2 x 2.5 เมตร ไปจนถึงขนาด 3 x 4 เมตร กักเก็บน้ำได้ 30-50 เซนติเมตร เตรียมบ่อโดยการทำความสะอาดบ่อโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคฟอร์มาลีน 40% (35 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) ใส่ทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกล้างให้สะอาดตากบ่อทิ้งไว้ให้แห้ง 1-2 วัน เมื่อจะใช้ผสมพันธุ์ให้เติมน้ำลงไป สูง 5-7 เซนติเมตร ถ้าเป็นน้ำประปาต้องใส่น้ำทิ้งไว้ก่อนผสมพันธุ์ 2-3 วัน ใส่ใบหญ้าหรือพันธุ์ไม้น้ำสำหรับเป็นที่เกาะของไข่ บ่อขยายพันธุ์ควรอยู่กลางแจ้งได้รับแสดงแดดเพียงพอเพื่อช่วยให้ไข่ฟักเป็น ตัวเร็วขึ้น ทำหลังคาบางส่วนเพื่อป้องกันในกรณีที่มีฝนตกหนักเพราะถ้ามีน้ำฝนลงในบ่อ จำนวนมากจะทำให้อุณหภูมิและความเป็นกรดด่างของน้ำในบ่อเปลี่ยน แปลงอย่างกระทันหัน มีผลทำให้ลูกอ๊อดช๊อคตาย ควรมีตาข่ายในล่อนคลุมปากบ่อเพื่อป้องกันแมลงปอลงวางไข่ เพราะตัวอ่อนแมลงปอเป็นศัตรูที่สำคัญของลูกอ๊อดและกบเล็ก
การเลือกพ่อแม่พันธุ์
 พ่อแม่พันธุ์กบนาที่ดีควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 14 ปี มีน้ำหนักระหว่าง 200-300 กรัม จากการสังเกตลักษณะภายนอกของกบนาเพศผู้ที่มีความพร้อม จะสังเกตเห็นรอยย่นของถุงเสียงที่ใช้ในการส่งเสียงร้องเรียกตัวเมียมีลักษณะ สีเทาดำคล้ำได้ใต้คางอย่างชัดเจนทั้ง 2 ข้าง และที่บริเวณด้านในของนิ้วหัวแม่มือของเพศผู้ทั้งสองข้างจะพบแถบหนาสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นปุ่มหยาบ ปุ่มนี้ช่วยให้การยึดเกาะบนผิวหนังที่บริเวณเอวของตัวเมียให้ดีขึ้น ปุ่ม จะหายไปเมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์ ส่วนกบนาเพศเมียที่มีความพร้อม สังเกตได้จากที่บริเวณเอวมีลักษณะพองโต ท้องอูม และผิวหนังสดใส เมื่อพลิกด้านท้องขึ้นเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังชัดเจน ในบางตัวอาจสังเกตเห็นเม็ดไข่สีดำและที่ด้านข้างลำตัวทั้งสองข้าง เมื่อใช้มือลูบจะมีลักษณะสากมือเพราะมีปุ่มขนาดเล็กจำนวนมาก ปุ่มนี้จะช่วยให้กบตัวผู้เกาะคู่ได้ดีขึ้น ยิ่งมีความสากมากเท่าใดก็แสดงถึงความพร้อมของเพศเมียมากขึ้นเท่านั้น

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กบบูลฟร๊อก
 พ่อแม่พันธุ์กบ ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 1-1 1/2 ปี มีน้ำหนักระหว่าง 300-400 กรัม เพศผู้ที่มีความพร้อม ลำตัวจะมีสีเข้มและที่ใต้คางจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนเขียวอย่างชัดเจน กบบูลฟร๊อกเพศผู้ต่างจากกบนาเพศผู้ตรงที่ไม่มีถุงเสียง แต่จะมีกล่องเสียงที่บริเวณลำคอ เวลาตัวผู้ส่งเสียงร้องที่บริเวณคอจะพองออกมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่วยทำให้เสียงดังก้องกังวานคล้ายเสียงวัวซึ่งได้ยินไปเป็นระยะไกล ส่วนตัวเมียสังเกตเห็นได้จากที่บริเวณเอวพองโต ท้องอูม ผิวหนังสดใสเช่นกัน แต่เมื่อพลิกด้านท้องขึ้นจะไม่เห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังเนื่องจากกบบูลฟร๊อก มีผิวหนังหนากว่ากบนา

การขยายพันธุ์กบนาและกบบูลฟร๊อก ทำได้ 2 วิธี คือ
1. วิธีธรรมชาติ (Natural breeding) 
 ช่วง เวลาที่เหมาะสมอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน โดยคัดพ่อแม่พันธุ์กบที่มีความพร้อม ใส่ลงในบ่อที่เตรียมไว้ในอัตราส่วน 1 คู่ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้จับคู่และวางไข่ หลังจากที่พบว่ากบไข่แล้วในเช้าของวันต่อมาให้จับพ่อแม่พันธุ์ออก จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำในบ่อให้สูงเป็น 10 เซนติเมตร อาจเพิ่มออกซิเจนด้วยการใช้เครื่องอัดอากาศ ทางที่ดีควรเติมน้ำและให้ออกซิเจนเมื่อสังเกตเห็นว่าไข่มีการพัฒนาเป็นลูก อ๊อดและมีการเคลื่อนไหวแล้ว มิฉะนั้นอาจจะเกิดการรบกวนทำให้ไข่ไม่เจริญเติบโต

2. วิธีฉีดฮอร์โมนกระตุ้น (Injection of GnRH analogue)  
  ทำได้โดยจัดเตรียมพ่อแม่พันธุ์ และบ่อขยายพันธุ์เช่นเดียวกับวิธีแรก จากนั้นใช้สารสังเคราะห์ที่มีชื่อทางการค้าว่า Suprefact (Buserlin) ฉีดให้พ่อแม่พันธุ์กบ โดยฉีด 2 ครั้ง ห่างกันไม่เกิน 6-8 ชั่วโมง สารสังเคราะห์ที่ใช้นี้เป็นสารออกฤทธิ์เช่นเดียวกับในปลา โดยในกบฉีดในปริมาณ 2.5-3 ไมโครกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม สารนี้จะกระตุ้นให้แม่พันธุ์ตกไข่และพ่อพันธุ์หลั่งน้ำเชื้อ วิธีฉีดถ้าฉีดเข้าช่องท้อง (Intraperitoneum) ต้องละลายสารในน้ำเกลือ 0.75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งให้ผลเร็วกว่าและดีกว่าการฉีดเข้าใต้ผิวหนังและบริเวณแอ่งส่วนบั้นท้ายของลำตัวใต้กระดูกสันหลัง (dorsal lymph sac) ซึ่งต้องละลายสารในกรดน้ำส้ม 0.1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการฉีดในครั้งที่ 2 จะใช้ปริมาณสารเป็น 2 เท่า ของปริมาณที่ฉีดในครั้งแรก เมื่อฉีดเสร็จแล้วจึงปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงบ่อเพื่อให้จับคู่ผสมพันธุ์ จากนั้นติดตามการวางไข่เช่นเดียวกับวิธีการแรก

การอนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก

 กบนาไข่กบนาที่ถูกผสมจะฟักเป็นลูกอ๊อดภายใน 28-45 ชั่วโมง ระยะ 2-3 วัน แรกหลังจากที่ฟักออกเป็นตัว ไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังมีถุงไข่แดงที่ติดมากับท้องเป็นแหล่ง เริ่มให้อาหารลูกอ๊อดครั้งแรกเมื่ออายุ 3 วัน โดยให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผงที่ใช้เลี้ยงลูกปลาดุกอ่อนหรือไข่ตุ่น ในกรณีที่มีลูกอ๊อดเป็นจำนวนมากอาจเสริมการให้อาหารด้วยการให้ผักกาดลวกน้ำ ร้อนกึ่งสุก ปลาต้มสุก รำละเอียด เศษเนื้อปลาบดผสมรำ หรือเศษเครื่องไนสัตว์บดผสมรำละเอียดร่วมด้วย เมื่อลูกอ๊อดโตขึ้นอาจใช้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดที่ใช้สำหรับเลี้ยงลูกกบโรย ให้กิน การให้ควรให้ทีละน้อย และวางไว้ตลอดเวลาเพราะลูกอ๊อดจะกินอาหารตลอดวัน ถ้าลูกอ๊อดขาดอาหารจะกินกันเอง
 กบบูลฟร๊อก ไข่ที่ถูกผสมจะฟักเป็นตัวภายในเวลา 3 วัน ลูกอ๊อดของกบบูลฟร๊อกมีลักษณะดีกว่ากบนา คือจะไม่กินกันเองในขณะที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้นจึงสามารถเลี้ยงลูกอ๊อดที่มีขนาดต่างกันและอายุต่างกันในบ่ออนุบาล เดียวกันได้ การย้ายลูกอ๊อดควรย้ายเมื่ออายุประมาณ 20 วัน โดยนำไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลที่จัดเตรียมไว้ ลูกอ๊อดกบบูลฟร๊อกเริ่มกินอาหารเมื่ออายุได้ประมาณ 20 วัน โดยนำไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลที่จัดเตรียมไว้ ลูกอ๊อดกบบูลฟร๊อกเริ่มกินอาหารเมื่ออายุได้ประมาณ 3-5 วัน โดยจะกินซากพืชซากสัตว์และสัตว์น้ำขนาดเล็กรวมทั้งซากลูกอ๊อดที่ตายแล้ว ดังนั้นอาหารที่ให้อาจได้จากธรรมชาติ ได้แก่ ตะไคร่น้ำ ไรแดง แพลงค์ตอนและเศษพันธุ์ไม้น้ำที่อยู่ในบ่อเลี้ยง เสริมด้วยรำละเอียดและอาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงกบหรือเลี้ยงปลาดุกโดยให้ ได้ตลอดวัน ในบ่ออนุบาลต้องมีพันธุ์ไม้น้ำไว้เพื่อเป็นแหล่งพักพิงหรือยึดเกาะเมื่อลูก อ๊อดงอกขาครบ 4 ขาและหางดกลายเป็นลูกกบที่สมบูรณ์ จากนั้นให้ย้ายลูกกบไปเลี้ยงในบ่อเลี้ยงกบเล็กในอัตราส่วน 100 ต่อตารางเมตร บ่อต้องมีหลังคาคลุมแดดและป้องกันศัตรูที่จะเข้ามาทำอันตราย

การอนุบาลลูกกบ
 ในแง่ของการฝึกลูกกบให้กินอาหารควรทำในบ่อซีเมนต์โดยเริ่มฝึกให้ลูกกบกินอาหารตั้งแต่ระยะที่ลูกอ๊อดหางหดหมด มี 4 ขา เจริญครบสมบูรณ์ เรียกระยะเริ่มขึ้นกระดาน โดยให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดเล็กพิเศษที่ใช้เลี้ยงกบหรือเลี้ยงปลาดุกเล็ก หรือปลาสดบดละเอียดผสมรำที่เกษตรผลิตขึ้นเอง ในอัตรา 3-5 เปอร์เซ็นต์/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมและอาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 30-35 เปอร์เซ็นต์ วิธีฝึกให้ลูกกบกินอาหรทำได้หลายวิธี เช่น ใส่อาหารในภาชนะหรือบนจานแล้ววางปริ่มน้ำหรือโรยอาหารเม็ดลงในน้ำ ถ้าโรยอาหารลงในน้ำต้องโรยบริเวณที่ลูกกบสามารถนั่งกินได้และหัวไม่จมน้ำ ซึ่งทั้งสองวิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งในกบนาและกบบูลฟร๊อก
  การให้อาหารกบรุ่นหรือกบเนื้อ
 เมื่อลูกกบอายุประมาณ 2 เดือน ควรให้อาหารเ ป็นเวลาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ในอัตราวันละ 3-5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักอาหารควรมีโปรตีนอยู่ระหว่าง 28-35 เปอร์เซ็นต์ ชนิดของอาหารขึ้นอยูกับชนิดของกบ สภาพพื้นที่ และวิธีการเลี้ยงของเกษตรกร ถ้าผู้เลี้ยงกบนาอยู่ใกล้บริเวณที่สามารถหาปลาสดได้อาจให้ปลาสดบดหรือสับ เป็นชิ้นวางในภาชนะปริ่มน้ำ หรือเหนือน้ำ หรือใช้ปลาสดบดผสมรำในอัตรา 3:1 หรือ ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดที่ใช้เลี้ยงกบหรือเลี้ยงปลาดุก ส่วนกบบูลฟร๊อกควรใช้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดเลี้ยง เนื่องจากอาหารสดจะทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียเร็ว ทำให้กบบูลฟร๊อกเป็นโรคและมีการเจริญเติบโตช้าลงเนื่องจากน้ำสกปรก แต่ทั้งนี้ในการเลี้ยงขึ้นอยูกับการตัดสินใจของผู้เลี้ยงด้วยว่าจะมีวิธีใน การจัดการอย่างไร

การเจริญเติบโต
 กบบูลฟร๊อก  มีการเจริญเติบโตช้ากว่ากบนา และใช้เวลาในการเลี้ยงนานกว่า อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสำหรับการพัฒนาของลูกอ๊อดกบบลูฟร๊อกอยู่ระหว่าง 25-33 องศาเซลเซียส ซึ่งลูกอ๊อดจะพัฒนาเป็นลูกกบได้ตามปกติในเวลา 75-90 วัน ในท้องที่ที่มีอากาศเย็นและมีอุณหภูมิต่ำ ลูกอ๊อดจะพัฒนาเป็นลูกกบโดยใช้เวลา 6-12 เดือน การเจริญเติบโตของลูกอ๊อดของกบบลูฟร๊อกในระยะที่มีการงอก 2 ขาหลังจะมีขนาดใหญ่กว่าลูกอ๊อดของกบนา 5-7 เท่า และอาจมีขนาดใหญ่มากตั้งแต่ 4 ถึง 6 นิ้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ สำหรับการเจริญเติบโตจากลูกกบจนเป็นกบเนื้อใช้เวลา 5-6 เดือน และเจริญเติบโตไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ใช้เวลา 14-18 เดือน ทั้งนี้ต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายอย่างเช่นเดียวกันเหมือนกบนา

การจัดการและการดูแลรักษา
 1.การคัดขนาด เนื่องจากกบเป็นสัตว์กินเนื้อโดยธรรมชาติ และกินสัตว์เป็นที่มีขนาดเล็กกว่าตัวเองเป็นอาหาร
ดังนั้นในการเลี้ยงที่มีความหนาแน่นมากเกินไปหรือให้อาหรไม่เพียงพอจะทำให้เกิดความแออัดและกบขาดอาหาร
ก่อให้เกิดปัญหาตัวใหญ่กินตัวเล็กเพราะในระหว่างการเลี้ยงลูกกบจะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ดังนั้นควรคัดขนาดลูกกบทุก 2 สัปดาห์ โดยคัดกบที่มีขนาดเดียวกันลงเลี้ยงในบ่อเดียวกันจะช่วยลดการกินกันเอง และเมื่อกบมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรคัดขนาดเช่นเดียวกับลูกกบ เพราะการคัดกบที่มีขนาดใกล้เคียงกับนำมาเลี้ยงด้วยกัน จะทำให้ลดการรังแกกัน กบจะมีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น
 2. การถ่ายเทน้ำ การเลี้ยงกบในน้ำสะอาดจะทำให้กบมีการเจริญเติบโต ดังนั้นถ้าบริเวณที่เลี้ยงมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ควรถ่ายเทน้ำทุกวันหรือใช้การหมุนเวียนให้น้ำไหลผ่านในระบบน้ำล้นตลอดเวลา แต่ถ้าแหล่งน้ำไม่อุดมสมบูรณ์ อาจจะถ่ายเทน้ำเมื่อสังเกตว่าน้ำเริ่มมีกลิ่นเน่าเสีย ซึ่งจะขึ้นอยูกับชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงกบด้วย ความถี่ในการถ่ายเทน้ำในบ่อเลี้ยงลูกอ๊อดขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของลูกอ๊อด ที่ปล่อยและอาหารที่ใช้เลี้ยง ถ้าเลี้ยงในบ่อคอนกรีตควรถ่ายเทน้ำทุกๆ 2-3 วัน จะช่วยให้ลูกอ๊อดแข็งแรงกินอาหารได้มากและมีการเจริญเติบโตเร็ว วิธีการถ่ายเทน้ำต้องใช้วิธีเติมน้ำใหม่ลงก่อนครึ่งหนึ่ง จากนั้นจึงปล่อยน้ำเก่าออกให้เหลือระดับน้ำเท่าเดิมถ้าเลี้ยงลูกอ๊อดใน กระชังก็ไม่ต้องถ่ายเทน้ำเนื่องจากในบริเวณนั้นมีการหมุนเวียนของน้ำเกิด ขึ้นได้เองเป็นปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนกระชัง ขนาดของสระ หรือ บ่อที่ใช้แขวนลอยกระชัง หรือ ขนาดร่องน้ำและการไหลผ่านของน้ำ ส่วนการถ่ายเทน้ำในบ่อเลี้ยงลูกกบและกบขนาดอื่นๆ ก็ทำได้โดยวิธีเดียวกัน ไม่ควรปล่อยน้ำในบ่อจนแห้งแล้วจึงเติมใหม่ เพราะกบเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย อาจมีการกระโดดกระแทกพื้นบ่อทำให้กบช้ำและตายได้
 3. โรค กบ การเลี้ยงกบก็คงจะไม่ต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เมื่อมีการเลี้ยงก็มักจะมีปัญหาเรื่องโรคที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเลี้ยงจำนวนมาก การระบาดของโรคอาจเกิดการแพร่กระจายมากขึ้น โรคกบที่พบทั่วไปคือ
 3.1 โรค ขาแดง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แอร์โรโมนาโฮโรฟิลล่า โรคนี้พบบ่อยมากอาการของโรคขาแดงเกิดจากสภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย แอร์โรโมนาโฮโรฟิลล่า พบว่ากบที่ติดเชื้อโรคจะไม่กินอาหาร มีน้ำหนักลด ผิวหนังมีสีผิดปกติเคลื่อนไหวช้า เสียการทรงตัว มีอาการโลหิตเป็นพิษ โดยมีจุดเลือดออกตามตัวและมีแผลเกิดขึ้น ระยะสุดท้ายจะมีอาการชักกระตุกและมีผื่นแดงที่โคนขาซึ่งเป็นลักษณะอาการที่ ใช้เรียกชื่อ โรคนี้เมื่อผ่าเปิดซากดูจะพบว่า มีผื่นแดง และจุดเลือดออกเป็นบริเวณกว้างในกล้ามเนื้อรวมทั้งที่อวัยวะภายในช่องอกและ ช่องท้อง และที่บริเวณเยื่อเมือกจะมีจุดเลือดด้วยเช่นกัน การติดต่อของโลก สามารถติดต่อได้ดดยตรงระหว่างกบ ดดยที่กบปกติกินกบป่วย หรือ การติดต่อที่สำคัญคือทางน้ำที่ใช้เลี้ยงกบ เพราะเชื้อโรคชนิดนี้อาศัยอยู่ในน้ำจืดและจะเจริญได้ดีในอุณหภูมิของน้ำใน ประเทศไทย ดังนั้น้ำที่ใช้เลี้ยงควรเป็นน้ำที่สะอาดและมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง อย่างสม่ำเสมอ และเมื่อมีกบตายในบ่อให้รีบนำออก การใช้อาหารสดเลี้ยงกบต้องระวังไม่ใช้อาหารที่บูดเน่า ทั้งนี้เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคเข้าไปในบ่อกบ การติดต่ออีกทางที่ควรระวัง

คือจากผู้เลี้ยงเองที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกันโดยใช้อุปกรณ์จับกบที่ป่วยแล้วไม่ ได้ทำความสะอาดนำมาใช้กับกบอื่นๆอีก
 การ รักษา เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะหรือยาซัลฟาที่ไวต่อเชื้อนี้ โดยการผสมในอาหารให้กบกิน หรือป้อนยา หรือใส่ยาลงในน้ำ วิธีที่ดีที่สุดคือการให้กินโดยผสมในอาหาร แต่ถ้ากบไม่กินอาหารก็ควรจะใข้วิธีป้อนยา ยาที่ใช้อาจเป็นพวกเตรทต้า-ไซคลิน โดยให้ยาในขนาด 50-100 มิลลิกรัม ต่อกบหนัก 1 กิโลกรัม
 การป้องกัน วิธี ที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดโรค คือการรักษาความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ควรมีการฆ่าเชื้อ บ่อควรล้างให้สะอาด และน้ำที่ใช้เปลี่ยนถ่ายควรสะอาด ทุกครั้งที่มีการย้ายบ่อควรพักบ่อตารกแดดอย่างน้อย 2-3 วัน และถ้ามีการป่วยเกิดขึ้นให้รีบนำกบป่วยออกจากบ่อทันที
 การ ตรวจวินิจฉัยโรค สามารถทำได้โดยการดูจากอาหารและลักษณะของการเกิดโรคในตัวกบ รวมทั้งนำเชื้อจากเลือด หรือ น้ำในช่องท้องหรือจากอวัยวะภายในเช่น ตับ ไปเพาะเลี้ยงแล้วทำการพิสูจน์ว่าเป็นชนิดใด นอกจากนี้ควรทดสอบความไวของเชื้อต่อตัวยาด้วยเพื่อประสิทธิภาพในการรักษา
 3.2 โรค ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบเป็นครั้งคราว คือเชื้อไมโครกรัมแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นตุ่มตามผิวหนังและอวัยวะภายใน เชื้อสแตปฟิลโลค๊อกคัส อิพิสเดอมิส ที่ทำให้เกิดเป็นหนอตามผิวหนังหรือตามขา
 3.3. โรค ที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ เชื้อซาโพเล็กเนีย เป็นเชื้อราที่พบทั่วไปในน้ำ เชื้อชนิดนี้ สามารถทำอันตรายต่อปลาได้เช่นกัน โดยโรคจากเชื้อราอาจจะเกิดร่วมกับโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น กรณีที่กบเป็นโรคขาแดง และผิวหนังมีบาดแผล
เชื้อราชนิดนี้ เข้ามาเกาะตามบาดแผลทำให้บาดแผลมีอาการรุนแรงและเสียหายมากขึ้น ฉะนั้นในการรักษาจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อราร่วมกับยาปฏิชีวนะ
 3.4 โรค ที่เกิดจากสารพิษ มีสารพิษหลายชนิดที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของกบทั้งทางตรงและทางอ้อม สามารถทำให้กบตายได้ทันทีทันใด หรือทำให้เกิดอาการเรื้อรัง สารพิษต่างๆเหล่านี้ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ เมื่อใช้ยาดังกล่าวแล้วควรล้างทำความสะอาด


คำสำคัญ (Tags): #a
หมายเลขบันทึก: 520339เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท