ขอเชิญร่วมบันทึก: องค์กรสุขภาพควรใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์อย่างไรเพื่อสร้างความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วย


เทคโนโลยีสารสนเทศออนไลน์ต่างๆ ต้องรู้จักนำมาใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมค่ะ สื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นเทคโนโลยีประเภทหนึ่งที่เราต้องรู้ว่าควรใช้ประโยชน์จากเครื่องมือนี้อย่างไรค่ะ 

โดยเฉพาะกับองค์กรทางด้านสุขภาพซึ่งต้องปฏิบัติงานอยู่บนความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย หรือที่เรียกกันว่า องค์กรที่น่าไว้วางใจ (High Reliability Organizations) ยิ่งต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านี้อย่างถูกทางค่ะ

และแน่นอนค่ะว่าเครื่องมือเหล่านี้ทรงพลังมหาศาลค่ะ หากรู้จักใช้ย่อมที่จะนำมาซึ่งการปฏิบัติงานด้านสุขภาพที่ถูกต้องรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้นเพื่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำและมีความปลอดภัยสูงค่ะ

GotoKnow ก็เป็นสื่อสังคมออนไลน์หนึ่งที่เป็นศูนย์รวมในโลกออนไลน์ของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และการศึกษาของไทยมานานร่วม 8 ปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ด้วยเครื่องมือหลายอย่างที่บรรจุอยู่ใน GotoKnow ทำให้หน่วยงานและบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้ได้ใช้ GotoKnow ในหลากหลายรูปแบบอันเป็นการเปิดช่องทางเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รับข้อมูลข่าวสารและผลสะท้อนกลับของการทำงานได้อย่างทันท่วงทีทั้งจากทางผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์เอง

การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งต่องานที่มีความซับซ้อนอย่างนี้ค่ะ และงานยิ่งซับซ้อนย่อมที่จะเกิดโอกาสในความผิดพลาดได้สูงเช่นกันค่ะ ความจำเป็นในการเรียนรู้จากบทเรียนความสำเร็จและความผิดพลาดจึงมีมากขึ้นด้วยค่ะ

มาดูกันนะคะว่า องค์กรสุขภาพของไทยใช้บริการจาก GotoKnow เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยกันอย่างไรบ้าง และหากดิฉันตกหล่นประการใดรบกวนช่วยเติมเต็มด้วยนะคะ

  • เพื่องานพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ป่วย
  • เพื่อการถ่ายทอดความรู้ในสิ่งที่ตนมีความเชี่ยวชาญ
  • เพื่อเป็นช่องทางในการรับคำถามจากผู้ป่วย
  • เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย
  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับข้ามหน่วยงานและข้ามองค์กร
  • เพื่อเป็นช่องทางรับประเด็นจากผู้ป่วยทั้งแบบส่วนตัวผ่านระบบอีเมลติดต่อและแบบสาธารณะผ่านทางบล็อก 
  • เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานและองค์กร
  • เพื่อรณรงค์กิจกรรมความร่วมมือต่างๆ
  • เพื่อถ่ายทอดการปฏิบัติงาน ความร่วมทุกข์ร่วมสุขขององค์กร สภาวะแวดล้อมขององค์กร
  • เพื่อค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพ
  • เพื่อสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ข้ามหน่วยงานและองค์กร

แต่อย่างไรก็ตามจำนวนการบันทึกแลกเปลี่ยนก็ยังมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับปริมาณการอ่านหรือค้นหาข้อมูลที่มีอยู่ค่ะ

ในปัจจุบัน GotoKnow เป็นเว็บไซต์อันดับประมาณ 25 ของประเทศไทยและเป็นเว็บไซต์อันดับ 1 ของประเทศไทยด้านการศึกษา ตามการจัดอันดับของ TrueHits.net (NECTEC) และปริมาณการใช้งานเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีสมาชิกร่วม 200,000 คน ที่ผลิตเนื้อหาความรู้กว่า 500,000 บันทึก และไฟล์กว่า 800,000 รายการ และมีปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์เฉลี่ยต่อเดือนมากถึง 4.5 ล้านครั้ง และมีจำนวนหน้าเพจที่ถูกเข้าชมเดือนละเฉลี่ย 7.5 ล้านหน้าเพจ 

องค์กรสุขภาพของไทยสามารถสร้างวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัย (Cultures of Safety) ได้นั้นจะต้องทำให้เกิดการสื่อสารสองทางอย่างชัดเจนและเป็นจริงเป็นจังค่ะ ไม่ว่าจะเป็น 

  • การที่ผู้นำมีการกระตุ้นให้เกิดการบันทึกอย่างเหมาะสมถูกต้องและอิสระเพื่อเน้นที่ความร่วมมือในการทำงานข้ามสายงาน
  • การกระตุ้นให้ผู้ป่วยหรือครอบครัวผู้ป่วยเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น


ขอเรียนเชิญทุกท่านนะคะช่วยกันระดมสมองแสดงความคิดเห็นว่า องค์กรสุขภาพของไทยควรใช้ประโยชน์อย่างไรจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัย (Cultures of Safety) ค่ะ<p></p>

ท่านที่ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จะได้ลุ้นรับรางวัลเงินสด 2,500 บาทจำนวน 2 รางวัลจากการสุ่มจับหมายเลขบันทึก หมดเขต 13 มีค. นี้นะคะ สนับสนุนรางวัลโดย สรอ. 

บันทึกลงในสมุดของท่านเอง และใส่คำสำคัญว่า "องค์กรที่น่าไว้วางใจ" ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

http://www.gotoknow.org/posts/519763


<p></p>

ภาพจาก: http://www.mednet-tech.com/newsletter/social-networking/using-social-media-to-spread-awareness-for-patient-safety



หมายเลขบันทึก: 520132เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2013 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2015 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เรียน ท่าน อ.จัน คู่ ชัย ลองเขียน Diagram ความเชื่อมโยง กรณีศึกษาของ ชาวรังสีเทคนิค มา ลปรร ครับ


คำถามคือ

องค์กรสุขภาพของไทยควรใช้ประโยชน์อย่างไรจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัยซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาวะดีต่อสังคมไทยค่ะ

ซึ่งผมเห็นว่ามีสองท่อน นั่นคือท่อนแรกเป็น general และท่อนสองมี specific target คือเพื่อ "สร้างวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัย" (ขยายความต่อไปว่า "ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาวะดี" และมี specific group อีกคือ "ต่อสังคมไทย")

อาจารย์อยากให้แยกสะท้อน หรืออย่างไรครับ?

อาจารย์หมอสกลค่ะ เกรงจะรบกวนเวลาจึงขอเป็นเน้นที่เรื่องการ "สร้างวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัย" นะคะอาจารย์

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณ อ จัน ที่บอกกล่าว จะเขียนลองไปเขียนดูค่ะ

ขอบคุณคะ หัวข้อที่ปรับเป็น "องค์กรสุขภาพของไทยใช้บริการจาก GotoKnow เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยกันอย่างไรบ้าง" ชัดเจนขึ้นมากคะ แต่กำลังคิดหาวิธีให้บันทึกเรื่องหนักๆ มีรสชาดกลมกล่อมน่าอ่านอยู่นะคะ

จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ หากสมาชิก  GotoKnow ช่วยดิฉันตอบคำถามต่อไปนี้ค่ะ

สมาชิกที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์

  1. สิ่งที่ท่านได้บันทึกไว้ใน  GotoKnow ท่านคิดว่าบันทึกใดบ้างที่มีประโยชน์ในการสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยหรือครอบครัวผู้ป่วย 
  2. ท่านอยากเห็นประชาชนบันทึกอะไรบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ค่ะ
สมาชิกที่ไม่ได้เป็นบุคลากรทางแพทย์
  1. สิ่งที่ท่านได้บันทึกไว้ใน  GotoKnow ท่านคิดว่าบันทึกใดบ้างที่มีประโยชน์ในการสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยหรือครอบครัว
  2. ท่านอยากเห็นบุคลากรทางการแพทย์บันทึกอะไรบ้างเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของตัวท่านและครอบครัว

ขอบคุณค่ะ

อ.จัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท