ประวัติรำวงมาตรฐาน 1


                 

ประวัติความเป็นมารำวงมาตรฐาน

          รำวงเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวบ้านที่ร่วมเล่นกันเพื่อความสนุกสนานและเพื่อความสามัคคี เป็นการเล่นที่นิยมกัน เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่ชาวบ้านนิยมเล่นกันในฤดูกาลต่างๆเฉพาะท้องถิ่นในบางจังหวัด เป็นศิลปะที่สืบเนืองมาจากรำโทน เนืองจากใช้โทนซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตีประกอบจังหวะในการรำตีจังหวะง่ายๆ คือ ป๊ะโท่นป๊ะ โท่นป๊ะ โท่น โท่น ต่อมาได้เพิ่มเครื่องประกอบจังหวะอีก ๒ ชิ้น คือ กรับและฉิ่ง เป็นเครื่องประกอบจังหวะ แต่ยังไม่มีการขับร้องใดๆ คงรำไปตามจังหวะโทนอย่างเดียว  เสียงของโทนจะทำให้ผู้คนเกิดอารมณ์สนุกสนาน แล้วชวนกันออกมาร่ายรำล้อมวงปรบมือเป็นจังหวะ ลักษณะการรำใช้ท่ารำง่ายๆไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ เพียงแต่ย่ำเท้าให้ตรงตามจังหวะโทน ด้วยเหตุที่การรำใช้จังหวะโทนตีตามหน้าทับ ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ จึงเรียกการรำแบบนี้ว่า “รำโทน” มาแต่เดิม


คำสำคัญ (Tags): #รำวง#รำโทน
หมายเลขบันทึก: 520013เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2013 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2013 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท