ปอยออกหว่า หลู่จองพารา


หลู่จองพารา

ปอยออกหว่าเป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่าเทศกาลออกพรรษาก่อนถึงวันออกพรรษาตามประเพณีที่ชาวไทยใหญ่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจะมีการเตรียมการทำจองพารา(ภาษาไทยใหญ่แปลว่าประสาทพระ) ซึ่งทำจากโครงไม้ไผ่เป็นรูปทรงประสาท ติดด้วยกระดาษสาและกระดาษสีต่างๆที่เจาะฉลุเป็นลวดลายเอกลักษณ์ของชาวไต จัดทำเข่งหรือหิ้งไว้ในที่เหมาะสม วันขึ้น 11 คำ่เดือน  11ตั้งบูชาจองพาราไว้ที่เข่ง จัดหาผลไม้หลากชนิดรวมถึงขนมต่างๆด้วย นำมาห้อยหรือแขวนไว้ที่เข่งประดับ ประทีป โคมไฟ และผูกมัดหน่อกล้วย หน่ออ้อยไว้ที่มุมเข่ง เช้าวันรุ่งขึ้น 15 คำ่ เดือน 11 ตรงกับวันออกพรรษา จัดทำกระทงข้าว ผลไม้ ขนมหวาน ต่างๆ นำไปถวาย จุดธูปเทียนบูชา และอัญเชิญพระพุทธเจ้าให้เสด็จมาประทับที่จองพารา เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ครอบครัว

จองพารา


จองพารา เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า "ปราสาทพระ" มาจากคำว่า "จอง" แปลว่า วัด หรือ ปราสาท และคำว่า พารา แปลว่า พระพุทธรูป หรือ พระพุทธเจ้า การบูชาจองพารา คือ การสร้างปราสาทเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า ที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันออกพรรษา           
          จากหนังสือธรรมะของชาวไทยใหญ่ เรื่อง "อลองกาเผือก" ซึ่งเป็นเรื่องราวประวัติ "อะลอง" คือ    พระพุทธเจ้า ถึงเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นกาเผือก หนึ่งในสิบชาติ ก่อนมาเป็นพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า...         
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นกาเผือก หรือกาขาว อยู่ด้วยกัน 2 ผัวเมีย ที่ใต้ต้นมะเดื่อใหญ่อันร่มรื่น กาทั้งสองตัวหากินผลไม้ในละแวกป่าที่อาศัยอยู่อย่างมีความสุขเรื่อยมา 
จวบจนระยะเวลาหนึ่ง กาตัวเมียเริ่มตั้งท้องใกล้จะออกไข่ กาตัวผู้รู้ด้วยญาณทิพย์ เมื่อใดที่กาตัวเมียต้องวางไข่ ตนอยู่อีกไม่นานก็ต้องตาย ด้วยความเป็นห่วงเมียกาตัวผู้จึงได้สั่งสอนเมียว่าเมื่อตนตายไปเวลาออกหากินขอให้ออกไปหากินต้นไกลๆ และมีลูกสุกก่อน เมื่อท้องแก่ฟักไข่จะได้ไม่ต้องออกบินไปไกลๆ และไม่เหนื่อย หลังจากสั่งเสียได้ไม่นาน กาตัวผู้ก็สิ้นลมหายใจ         
          กาตัวเมีย เมื่อกาตัวผู้จากไปแล้ว ก็คอยเฝ้าประคองลูกในท้องเป็นอย่างดี จนกระทั่งไข่ออกมา 5 ฟอง ก็เฝ้าฟักไข่เป็นอย่างดี จวบจนวันหนึ่งกาตัวเมียออกไปหากินเกิดพายุและมีฝนตกหนักพัดตันไม้ล้มระเนระนาด รวมทั้งต้นมะเดื่อที่กาอาศัยอยู่ด้วย ไข่ทั้ง 5 ฟองหล่นจากรังตกลงไปในแม่น้ำ และหายไปในแม่น้ำอันเชี่ยว เมื่อแม่กากลับมาไม่เห็นไข่ทั้ง 5 ฟอง ก็รู้สึกเสียใจ และอกแตกตายในที่สุด        
          ไข่ทั้ง 5 ฟอง ถูกลมพายุพัดกระจายไปยังที่ต่างๆ กัน ใบหนึ่งไหลไปค้างในพงหญ้า แม่ไก่คุ้ยเขี่ยหากินไปพบจึงนำไปฟัก ใบที่สองวัวไปพบเข้าจึงนำไปฟัก ใบที่สามไหลไปค้างที่ริมตลิ่ง เต่าไปพบเข้าจึงเก็บเอาไปฟัก ใบที่สี่คนซักผ้าไปพบเข้าก็เก็บไปฟักอีกใบ  ใบที่ห้าจมดิ่งลงสู่ก้นแม่น้ำ พญานาคมาพบเข้าจึงเก็บเอาไปฟัก         
          เมื่อครบกำหนดไข่ฟักออก ไข่ทั้ง 5 ฟองก็แตกออกเป็นเด็กชายเรียงตามลำดับ อาศัยอยู่กับผู้ที่นำไปฟัก เมื่อเจริญเติบโตจนอายุได้หกปี ทุกคนก็ลาเพื่อไปเสาะหาบิดามารดา โดยบวชเป็นฤาษีมุ่งหน้าไปยังทิศตะวันออกได้พบต้นโพธิ์ใหญ่ ตั้งใจว่าจะให้เป็นที่บำเพ็ญพรต ก็ได้พบกับฤาษีองค์อื่นทั้ง 5 คนไต่ถามกันถึงรู้ว่าเป็นพี่น้องกันต่างก็ดีใจ อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข         
          มาวันหนึ่งพี่น้องทั้ง 5 ก็ได้ปรึกษากันเรื่องพ่อแม่ว่า ทำอย่างไรจึงจะได้พบ ก็ตกลงกันว่าจะผลัดเปลี่ยนกันหาผลไม้มาตั้งไว้เป็นร้านสูงๆ แล้วอธิฐานขอให้ได้พบพ่อแม่ จนเวลาผ่านไปหลายเดือนตั้งแต่วันเพ็ญเดือนหก เรื่อยมาก็ยังไม่พบ จนเข้าถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 พี่น้องทั้ง 5 จึงได้ปรึกษากันตกลงว่า วันนี้ทุกคนจะช่วยกันไปหาผลไม้ และจะร่วมกันอธิษฐาน
ครั้นได้เวลาทุกคนนำผลไม้ไปตั้งบนร้านสูง แล้วอธิษฐานขอให้พบพ่อแม่ โดยเริ่มตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเที่ยงคืน เปลี่ยนจากวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็มีกาเผือกคู่หนึ่งบินมาปรากฏกายให้เห็น บอกให้ทราบว่าเป็นพ่อแม่ของฤาษีทั้ง 5 แล้วเล่าความเป็นมาให้ฟัง และพ่อแม่ได้รู้ที่ทุกคนอธิษฐานถึง แต่ไม่สามารถปรากฏกายได้ จะมาปรากฏกายได้เฉพาะวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เท่านั้น เมื่อบอกความต่างๆ แล้ว ทั้งสองก็หายตัวไป
          ตั้งแต่นั้นมา ฤาษีทั้ง 5 ได้บำเพ็ญพรต รักษาศีล และไม่ลืมออกหาผลไม้นำมาอธิษฐานให้พบเห็นพ่อแม่ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จวบจนชีวิตตายไปได้เสวยชาติใหม่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนกาเผือกก็ได้เสวยชาติในสวรรค์ชั้นพรหม และเฝ้ารอคอยว่าเมื่อไร ลูกทั้งห้าจะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ จากนั้นจนบัดนี้ลูกของกาได้ตรัสรู้ไปแล้ว 5 องค์ คือ
          1.   กกุสันโท  บุตรที่เกิดจาการเลี้ยงดูของไก่         
          2.   โคตรมโน  บุตรที่เกิดจากการเลี้ยงดูของวัว         
          3.   กลโป       บุตรที่เกิดจากการเลี้ยงดูของเต่า         
          4.   โคตรโม    บุตรที่เกิดจากการเลี้ยงดูของคนซักผ้า         
          5.   อริยเมตไตยโย  บุตรที่เกิดจากการเลี้ยงดูของพญานาค (เชื่อกันว่า พระศรีอริยเมตไตยจะอุบัติในอนาคตกาล)         
          และที่มาอีกเรื่องหนึ่ง คือ จากพุทธประวัติ ตอนที่พระองค์เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ เพื่อเทศนาโปรดพุทธมารดาของ พระองค์ จากนั้นพระองค์เสด็จกลับลงมายังพื้นโลกมนุษย์ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและรับเสด็จพระพุทธองค์ จึงได้สร้าง "จองพารา" หรือปราสาทพระรับเสด็จ

หมายเลขบันทึก: 51927เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2006 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ครูอู๊ด

วันนี้พยายามตามหา และอ่าน Blog ของคุณครูที่เมืองปอนทุกท่าน และผมก็เห็นว่า มีการเขียนกันหลายบันทึก

น่าชื่นใจที่คุณครูเริ่มการเขียน นำความรู้สู่สาธารณะมากขึ้น ผมเชื่ออย่างหนึ่งในส่วนของ Tacit Knowledge ที่มากมายและมีคุณค่า ให้กำลังใจและจะติดตามเรื่อยครับ

เยี่ยม Blog ของผมได้ครับ ที่นี่ 

หมอเอกคะ ต้องขออภัยที่ไม้ได้ตอบทันทีเพราะกำลังยุ่งๆอยู่ ขอบคุณสำหรับความเห็นอันมีค่ายิ่ง ยังไงเราก็ต้องช่วยๆกันประคับประคองการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เดินไปข้างหน้าให้ได้ ไม่ต้องไปใส่ใจกับ"ศูนย์บ้าๆบวมๆ"อะไรนั่น

 

ตอนนี้ผมมีความสนใจเรื่องปอยออกหว่าอยู่อ้ะงัฟ....รบกวนบางท่านช่วยแนะนำการเขียนรายงานนี้ส่งอาจารย์ของผม..อาจารย์เค้าให้เขียนโครงร่างมาก่อนน่ะครับเพราะเป็นรานงานแบบวิชาการยังงัยช่วยทำตัวอย่างให้ผมดูด้ายมั้ยครับ...ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับผู้ที่กรุณานะครับ..........

ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท