เปรียบเทียบการรับมรดกตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของเบลเยี่ยมกับพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ของไทย


การรับมรดกของเจ้ามรดกที่เจ้ามรดกมีความเกี่ยวพันกับกฎหมายตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป ไม่ว่าจะด้วยสัญชาติของเจ้ามรดกก็ดีหรือทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ หรือภูมิลำเนาของเจ้ามรดกในขณะถึงแก่ความตายก็ดี

เปรียบเทียบการรับมรดกตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของเบลเยี่ยมกับพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ของไทย

         การรับมรดกของเจ้ามรดกที่เจ้ามรดกมีความเกี่ยวพันกับกฎหมายตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป ไม่ว่าจะด้วยสัญชาติของเจ้ามรดกก็ดีหรือทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ หรือภูมิลำเนาของเจ้ามรดกในขณะถึงแก่ความตายก็ดี หากปรากฏว่าเจ้ามรดกมีสัญชาติไทย แต่ซื้อบ้านไว้ในประเทศเบลเยี่ยม  จึงเกิดปัญหาของการขัดกันของกฎหมายภายในทั้งสองประเทศว่าทายาทจะใช้กฎหมายของประเทศใดในการเข้ารับมรดก ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลจะเป็นเครื่องมือที่จะชี้บอกได้ว่าเราควรจะใช้กฎหมายภายในของประเทศใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดปรับใช้แก่กรณี  ซึ่งในที่นี้จะเปรียบเทียบกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของเบลเยี่ยม กับพ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ว่าจะมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

           ใน Law of 16 July 2004  CODE OF PRIVATE INTERNTIONAL LAW (Belgian Official Journal/Moniteur belge/Belgisch Staatsblad 27 July 2004) Effective from 1 October 2004

         Art.77 International Jurisdiction with respect to succession 

          In addition to  the provided for in the general provisions of the present statute, excluding article 5, the Belgian courts have jurisdiction to hear actions regarding succession if :

          1.      the deceased had his habitual residence in Belgium at the time of his death, or

          2.      the claim relates to assets that are located in Belgium when the action is introduced.

           มาตรา 77 ให้ศาลเบลเยี่ยมมีเขตอำนาจนอกจากที่บัญญัติในบททั่วไปแล้ว ศาลเบลเยี่ยมมีอำนาจจะรับพิจารณาคดีรับมรดกได้ถ้า  เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเบลเยี่ยมในขณะถึงแก่ความตาย หรือ ถ้ามีการกล่าวอ้างที่เกี่ยวพันกับทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในเบลเยี่ยมจะเห็นว่ามาตรา 77 ของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของเบลเยี่ยมได้พูดถึงหลักของการรับมรดกของทายาท โดยทั่วไปว่าเหมือนกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทยที่ว่า คำฟ้องที่เกี่ยวกับมรดกให้ฟ้องต่อศาลที่เจ้ามรดกมีถิ่นที่อยู่ในขณะตาย หรือฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในเขตศาล ซึ่งมาตรานี้คล้ายกับกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย

             Art.78. Law applicable to succession

            1.      Succession in governed by the law of the territory of which the deceased had his habitual residence at the time of his death.

            2.      Succession to immovable property is governed by the law of the State on the territory of which the immovable is located.However if foreign law refers to the law of the State on the territory of which the deceased had his habitual residence at the time of his death, the latter will be applied.           

              มาตรา 78 ได้พูดถึง เงื่อนไขของกฎหมายที่ปรับใช้กับการรับมรดก ซึ่งได้แก่ 1. กรณีการรับมรดกให้ใช้กฎหมายแห่งดินแดนที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย  และ2. การรับมรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นตามกฎหมายของประเทศบนดินแดนที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่           

             อย่างไรก็ตาม ถ้ากฎหมายต่างประเทศได้กล่าวถึงกฎหมายของรัฐบนดินแดนที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย ก็ปรับใช้ต่อไป            ในมาตรา 78 นี้ก็มิได้แยกทรัพย์มรดกว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์อย่างชัดเจนเหมือนพ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายของไทย เพียงแต่บัญญัติหลักว่าการรับมรดกให้ใช้กฎหมายของประเทศที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย ไม่ได้ระบุว่าเป็นทรัพย์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ แต่ก็พอจะอนุมานได้ เพราะในข้อ 2 ของมาตรานี้ ได้ระบุว่า การรับมรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นตามกฎหมายของประเทศบนดินแดนที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ในข้อ 2 นี้ มีหลักเหมือน พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481ขัดกันของไทย มาตรา 37 บัญญัติว่า

              มรดกเท่าที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ 

              แต่ข้อ 1 ของมาตรา 78 พออนุมานได้ว่าน่าจะเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์มากกว่าเพราะข้อ 2 ได้ระบุว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์แล้ว ดังนั้นข้อ  1 ก็น่าจะหมายถึงสังหาริมทรัพย์ได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วมาตรา 78 ข้อ 1 น่าจะคล้ายกับมาตรา 38 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายของไทย ที่บัญญัติว่า

            ในส่วนที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ มรดกโดยสิทธิ โดยธรรมหรือโดยพินัยกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายภูมิลำเนาของเจ้ามรดก ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย           

             จึงอาจสรุปได้ว่า กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของเบลเยี่ยมในส่วนที่เกี่ยวกับมรดกกรณีมาตรา 77 จะเป็นเรื่องเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาคดีการรับมรดก ซึ่งก็เหมือนหลักทั่วไปที่ให้ศาลซึ่งเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือมีทรัพย์สินตั้งอยู่ในเขตศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้ จะคล้ายๆ ป.วิ.พ.มาตรา 4 ทวิ ของไทย ส่วนมาตรา 78 คล้ายกับพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย   พ.ศ.2481 มาตรา 37 และมาตรา 38 เพียงแต่กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของเบลเยี่ยมได้กล่าวถึงการรับมรดกรวมอยู่ในมาตราเดียว คือมาตรา 78 แต่กฎหมายขัดกันของไทยแยกเป็น 2 มาตรา แต่โดยเนื้อหาและวิธีปฏิบัติระหว่างกฎหมายขัดกันของไทยกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของเบลเยี่ยมในเรื่องการรับมรดกที่มีจุดเกาะเกี่ยวตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป มีเนื้อหาและวิธีปฏิบัติที่คล้ายกัน

หมายเลขบันทึก: 51923เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2006 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท