" ฟักข้าว " การวิจัยในประเทศไทย วว.มข.มช.ทำให้เราทราบว่าฟักข้าวนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง


กาวิจัยฟักข้าวในประเทศไทย

การวิจัยฟักข้าว


 ลูกฟักข้าวแก่จัดผิวเปลือกนิ่มบนต้น


มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปรับปรุงพันธุ์ฟักข้าว มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง


ฟักข้าว เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงสำหรับการเป็นพืชเพื่อสุขภาพ

เนื่องจากมีคุณค่าทางสารอาหารและมีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง 

โดยมีรายงานของ ต่างประเทศว่า ในเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวนั้น

มีปริมาณเบต้าแคโรทีน มากกว่าแครอท 10 เท่า

และมีสารไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 70 เท่า 


นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า สารไลโคพีน 

จากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับฟักข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆในประเทศไทยพบว่า

มีปริมาณ สารไลโคพีน มากกว่ามะเขือเทศเพียง 12 เท่า


 ดร.พัชริน ส่งศรี

อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ฟักข้าวให้มีปริมาณสารไลโคพีน และเบต้าแคโรทีนในเยื่อหุ้มเมล็ดสูง และมีผลผลิตของเยื่อหุ้มเมล็ดสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้วัตถุดิบที่จะนำมาแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพมี คุณภาพสูง เนื่องจากฟักข้าวมีคุณค่าทางสารอาหารและมีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง โดยโครงการนี้อยู่ภายใต้การสนับสนุนจากศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการ เกษตรที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยศาสตราจารย์ดีเด่น ศ.ดร.อารันต์ พัฒโนทัย ภายใต้การสนับสนุนจาก สกว. สกอ. และมหาวิทยาลัยขอนแก่น


 ดร.พัชริน เปิดเผยว่า ได้มีการดำเนินงานวิจัยนี้มาแล้วกว่า 3 ปี เบื้องต้นได้คัดเลือกต้นพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีความแตกต่างกันของแหล่งที่มาของ สายพันธุ์ฟักข้าวทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 100 สายพันธุ์ เพื่อสร้างลูกผสม เพื่อดูความแตกต่างทั้งทางสายพันธุ์และพื้นที่ปลูกว่าสายพันธุ์ที่ได้รับการ ปรับปรุงพันธุ์แล้วจะมีปริมาณสานไลโคพีนและเบต้าแคโรทีน รวมทั้งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้คาดว่าภายในอีก 2 ปี จะได้สายพันธุ์ฟักข้าวใหม่ตามที่ตั้งเป้าไว้


เมื่อเสร็จงาน วิจัยนี้แล้วจะได้พันธุ์ฟักข้าวที่มีผลผลิต และสารไลโคพีน และเบต้าแคโรทีนสูง รวมทั้งจะทำให้ทราบข้อมูลด้านการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่ต่างกันต่อปริมาณ สารไลโคพีน และเบต้าแคโรทีน รวมทั้งข้อมูลด้านพันธุกรรมการถ่ายทอดอันจะเป็นุข้อมูลพื้นฐานที่เป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาฟักข้าวพันธุ์ดีสำหรับแนะนำเกษตรกรต่อไป  ดร.พัชริน กล่าว


 ดร.พัชริน กล่าวว่า การพัฒนาพันธุ์ฟักข้าว จะเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรมีการผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูงให้กับอุตสาหกรรมแปร รูปฟักข้าว เนื่องจากความคงที่ของปริมาณสาระสำคัญที่ควบคุมด้วยพันธุกรรมพืชนั้น จะทำให้การผลิตในปริมาณมากระดับอุตสาหกรรมมีความสม่ำเสมอในการผลิต และแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้ด้วย


 ทางทีมผู้วิจัยยังได้ดำเนินการ วิจัยแบบบูรณา การร่วมกับนักวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ เทคโนโลยีอาหารและวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์ในฟักข้าวอีกด้วย เบื้องต้นนำไปแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอย่างง่าย อาทิ วุ้น น้ำผลไม้รวม ฯลฯ


ฟักข้าวที่แก่จัดเมล็ดเยื้อหุ้มสีแดงจะร่อนออกจากเปลือกได้เลย


คณะเภสัช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พัฒนา“ ฟักข้าวนาโนลบริ้วรอย”


 ผลงานคนไทยคนแรก ได้รับรางวัล “ IFSCC Host Society Award 2011 ”

จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ 2011 (IFSCC 2011)

โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงผลงานวิจัย และศักยภาพของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

 ซึ่งมุ่งเน้นประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

สำหรับผลงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอย จากน้ำมันของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน (Development of Anti-wrinkle Cosmetic from Aril Oil of Momordica cochinchinesis (Lour.) Spreng in Nanostructured Lipid Carriers) ” เป็นการต่อยอดงานวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า 5 ปี ของทีมนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย รศ.ดร.ภก.สุรพล นธการกิจกุล นางสาวณัฏฐิณี นันตาลิต รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด รศ.ดร.ภญ.สุพร จารุมณี และ ผศ.ดร.เกียรติศักด์ พลสงคราม จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

รศ.ดร.ภก.สุรพล กล่าวถึงที่มาของการวิจัยว่า

 ชื่อ วิทยาศาสตร์ของฟักข้าว คือ Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng วงศ์ Cucurbitaceae เดิมมีถิ่นกำเนิดแถบประเทศเอเชียเขตร้อน สำหรับเมืองไทยมีมากในเขตภาคเหนือ และภาคกลาง ซึ่งหมอพื้นบ้านใช้ภูมิปัญญาในการนำฟักข้าวเป็นยารักษาโรค และอาหาร ทั้งนี้ ในการศึกษา ทีมวิจัยได้นำเยื่อหุ้มเมล็ดมาสกัดน้ำมัน ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และพัฒนาตำรับเครื่องสำอางชะลอความแก่ โดยการทดสอบประสิทธิภาพลดรอยเหี่ยวย่นในอาสาสมัคร และเผยแพร่ในการประชุมมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2550 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น

การวิจัยจากผลครั้งนั้น สร้างกระแสให้มีการปลูกฟักข้าว และนำมาแปรรูปเป็นอาหาร เครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ ไอศกรีม ในระดับชุมชน ทั้งยังมีการผลิตเป็นสบู่ และครีมบำรุงผิว สู่สินค้าระดับ OTOP และ SME อย่างไรก็ดี การผลิตเพื่อแปรรูปในระดับอุตสาหกรรมต้องวางแผนการปลูกที่ดี ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ รวมทั้งขั้นตอนการแปรรูปต้องตรวจสอบความคงตัว และมาตรฐานสารสำคัญในฟักข้าว ตลอดจนต้องมีการประเมินประสิทธิผลตามมาตรฐานสากล จึงจะสามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานส่งออกได้ รศ.ดร.ภก.สุรพล กล่าว

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติ หากได้มีการตรวจสอบคุณภาพ และประเมินประสิทธิภาพอย่างจริงจัง มักพบปัญหาเรื่องความคงตัว และการออกฤทธิ์ลดลงเมื่อเก็บผลิตภัณฑ์ไว้นาน ทีมวิจัยจึงได้สกัดน้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี โดยวิธี HPLC พบว่า ลายพิมพ์นิ้วมือตรงกับของสารมาตรฐานไลโคปีน และกลุ่มเบต้าแคโรทีน ซึ่งสารประกอบกลุ่มนี้สลายตัวได้ง่ายโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแสง และอุณหภูมิสูง

ทีมวิจัยจึงหาวิธีเพิ่มความคงตัว จากการเตรียมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวให้อยู่ในรูปอนุภาคไขมันระดับนาโน และนำไปใส่ในตำรับครีมพื้น จากนั้น ทดสอบความคงสภาพของตำรับที่สภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิต่าง ๆ นาน 90 วัน พบว่า มีลักษณะทางกายภาพดี ไม่เกิดการแยกชั้น ผลของอุณหภูมิ และแสงต่อความคงตัวของเบต้าแคโรทีนในน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว พบว่า ในทุกสภาวะของตำรับครีมพื้นผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมัน ระดับนาโน มีเปอร์เซ็นต์ที่เหลืออยู่ของเบต้าแคโรทีนสูง

เมื่อศึกษาประสิทธิภาพลดริ้วรอย โดยใช้เครื่องมือ Skin Visiometer พบว่า หลังใช้ผลิตภัณฑ์วันละ 2 ครั้ง ต่อเนื่องนาน 8 สัปดาห์  บริเวณที่ใช้ครีมพื้นผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน สามารถลดริ้วรอยของผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนใช้ และลดริ้วรอยได้ดีกว่าบริเวณที่ใช้ครีมพื้นผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


         เทใส่ภาชนะ เนื้อที่ติดเปลือกนิ่มสุก

( ช้อนตักนำไปทำแยมได้ หรือกวนทำเป็นฟักข้าวกวนตากเป็นแผ่น )


สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย( วว.)


นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์  ผู้ว่าการ วว. เปิดเผยว่า ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ร่วมกับฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว. ประสบผลสำเร็จใน  การดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต้านอนุมูลอิสระจาก พืชพื้นบ้าน โดยเลือกวิจัยผลฟักข้าวเป็นวัตถุดิบและพัฒนากระบวนการสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของฟักข้าวผ่านการทดสอบความเป็นพิษ


ปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ได้ถึง 15 ผลิตภัณฑ์ ใน 3 รูปแบบ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 


ด้านดร.ประไพภัทร  คลังทรัพย์  นักวิจัยอาวุโสฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว. กล่าวว่า ใช้ระยะเวลาดำเนินงานโครงการวิจัยจากฟักข้าว ประมาณ 4 ปี  (พ.ศ. 2552-2555) โดยเริ่มตั้งแต่พัฒนากระบวนการเตรียมสารสกัดวิธีต่าง ๆ และจากส่วนต่าง ๆ ของผลฟักข้าว คือ เปลือก เนื้อ และเยื่อหุ้มเมล็ด 


มีการนำสารสกัดที่ได้ทั้งหมดมาตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีพบว่า ประกอบด้วยสารสำคัญ โดยเฉพาะสารเบต้าแคโรทีน และสารแอลฟา-โทโคฟีรอล ในปริมาณสูง  และเมื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธีทดสอบต่าง ๆ ทั้งในระดับเซลล์ เอนไซม์ และดีเอ็นเอ ในเซลล์มนุษย์ พบว่าสารสกัดฟักข้าวอย่างน้อย 2-3 ตัวอย่างมีฤทธิ์โดดเด่นในการต้านอนุมูลอิสระทั้งในเชิงเอนไซม์ และไม่ใช่เอนไซม์

และเมื่อทดสอบต่อโดยใช้เทคนิคทดสอบมาตรฐานทางพันธุพิษวิทยา สำหรับตรวจประเมินความเป็นพิษระดับดีเอ็นเอซึ่งวิเคราะห์ผลด้วยระบบ คอมพิวเตอร์และโปร แกรมจำเพาะ พบว่าสารสกัดฟักข้าวที่ได้ มีฤทธิ์ป้องกันสารพันธุกรรมหรือ ดีเอ็นเอในเซลล์ จากการทำอันตรายของอนุมูลอิสระชนิดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้สูงถึง 65% และจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือแสงยูวี ได้  20% ผลวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ  ทางเภสัชศาสตร์ คือ Journal Of Applied Pharmaceutical Science ฉบับเดือนเมษายน ที่ผ่านมา

ทีมวิจัยได้คัดเลือกตัวอย่าง สารสกัดฟักข้าวที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่ สุดและมีความปลอดภัยทั้งต่อเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์ทดลอง มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อสุขภาพต้านอนุมูลอิสระและชะลอความชรา  อาทิ เครื่องดื่มสารสกัดฟักข้าว ซอสปรุงรส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เซรั่มชะลอแก่ ครีมป้องกันรังสียูวี และโลชั่นให้ความชุ่มชื่นผิวต่าง ๆ

ปัจจุบัน วว. พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี
การผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากสารสกัดฟักข้าวสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าสมุน ไพรสู่การพัฒนาผลิต ภัณฑ์ใหม่ที่หลากหลาย

สอบถามผลิตภัณฑ์ฟักข้าวได้ที่ วว. โทร. 02-5779300



ขอบคุณการวิจัย ฟักข้าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์




เมล็ดฟักข้าวงอกต้นอ่อน


 เมล็ดฟักข้าวงอก ผู้ที่ปลูกนำมาให้ทดลองว่าจะทำอะไรได้บ้าง เมื่อชิมดู เมล็ดขาวๆนั้นมีรสขม ส่วนต้นอ่อนนั้นหวาน ได้ทำแกงเลียงใส่เห็ด 3 อย่าง ถ้ามีมากๆเฉพาะต้นอ่อนนั้น ต้มจืดหรือผัดอร่อยมากแน่ๆ โดยนำส่วนเมล็ดออก  ต้นอ่อนก็ีมีประโยชน์มากเช่นเดียวกับเมล็ดพืชอื่นๆงอก เช่น ถั่วงอก ข้าวงอก  ฯ เมื่อมีเมล็ดงอกก็น่าจะมีประโยชน์มากแถมมีรสขม ก็ไม่ทราบว่ามีการทดลองส่วนเมล็ดที่งอกบางหรือยัง




เนื้อในลูกฟักข้าวที่ยังไม่แก่มาก


เนื้อในลูกฟักข้าว ก่อนที่จะแก่ นั้นมีเนื้อแข็งเมื่อปอกเปลือกออกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆนำมาผัดไข่หรือใส่แกงอร่อย ทำอาหารได้อร่อย หากปลูกฟักข้าวแล้วมีลูกดกก็เด็ดมาทำอาหารได้ตั้งลูกอ่อนๆจนถึงแก่จัดได้ทุกระยะช่วงที่เป็นลูก ส่วนอื่นๆของฟักข้าว เขียนบันทึกไว้บ้างแล้วอ่านชมเพิ่มได้เพื่อเป็นแนวทางนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้างกับสุขภาพ คลิกอ่านที่บันทึกเกี่ยวข้องได้เลยค่ะ


ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 519226เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2013 08:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2013 07:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ พี่ดา

รายงานตัวค่ะ  พี่ดาสบายดีนะคะ 
รักคิดถึงเสมอ  แต่ติดภารกิจ...ฟักข้าวได้ทานทั้งยอด ทั้งผล และทำสบู่ด้วย พันธ์ไม้ต่างๆที่พี่ดาส่งให้เกิดมรรคเกิดผลแล้วนะคะ  ขอบคุณมากๆ เชิญพี่ดาไปเยี่ยมบ้านสวนนะคะ

สวัสดีค่ะน้องmena

ดีใจนะคะที่น้องมาที่ฟักข้าว พี่ดาคิดถึงเสมอหายไปนานเลยทั้งคนสวนด้วย สบายกันดีนะคะ ปลูกบ้านใหม่เสร็จหรือยัง ดีจังค่ะปลูกแล้วได้ผลเกิดประโยชน์ เผยแพร่เมล็ดพันธุืต่อไปอีกหรือยังค่ะ  พี่ดาสบายดี ชวนพี่ดาไปบ้านสวน ขอบคุณมากค่ะ  ส่งใจไปก่อนนะคะ

น่าสนใจคะ ตอนนี้มีขายทั่วไปหรือยังคะ

เมล็ดพันธุ์ฟักข้าวที่น้องดาให้มีแต่ใบ ขึ้นหรอมแหรม..สงสัยดินไม่ดีค่ะ..เสียดายจัง..

ดาวเคยดื่มแต่น้ำฟักข้าวค่ะพี่ดา สีสวยดี อยากลองชิมผลที่ยังไม่สุกดูบ้าง ดูจากรูปท่าทางน่าอร่อยนะคะ แถมประโยชน์เยอะอีกตะหาก กลับอุบลคราวหน้า ต้องหามาปลูกซะแล้วค่ะ ^_^

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับสารสนเทศเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของการวัจัยและพัฒนา "ฟักข้าว" ยายไอดินจะนำไปใส่ในคลังความรู้เกี่ยวกับฟักข้าวเพิ่มจาก 9 เรื่อง ที่น้องกานดาเคยบันทึกมาแล้วค่ะ พี่ยังไม่เคยเพาะเมล็ดฟักข้าวค่ะ แต่พบว่า เขางอกเองจากเมล็ดที่ร่วงหล่นและมีความชื้นเพียงพอ ทั้งที่บ้านในเมืองและที่ฟาร์มไอดินค่ะ

  • ขอขอบพระคุณ ในสาระความรู้ ที่นำมาแบ่งปันครับ

ได้ฟักข้าวมาแก่จัด มา 1 ผล  กำลังเอาเมล็ดมาเพาะ   รอดูต้นอ่อนอยู่ค่ะ  แต่จะแวะมาอ่านสาระที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอค่ะ   / ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ 

เมื่อเจอน้ำฟักข้าวจะซ์้อเก็บในตู้เย็นค่ะ 

ชอบนะคะ หากเค้าไม่ทำหวานมากค่ะ 

ขอบคุณบันทึกอันทรงคุณค่าค่ะ

สูตรเครื่องดื่มน้ำฟักข้าว ค่าสูตร 120,000 บาทและต้องซื้อสารสกัดจาก วว. กิโลละสามแสน มันจะค้ากำไรเกินควรไปหรือเปล่า คุณดอกเตอร์

อยากทราบว่า มีสารเคมีตัวที่ช่วยพยุงให้สีของฟักข้าว ไม่เปลี่ยน ให้ยังคงตัวสีแดงเมื่อนำมาเข้าเครื่อง ดาล์มดายค่ะ เนื่องจากจะนำเนื่องที่เป็นสีแดงนำมาทำเป็นผง หรือสีผสมอาหารค่ะ พอโดนความร้อนแล้วสีมันเปลี่ยน ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท