DHS คืออะไร


                                                                     DHS คืออะไร

                                                      นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

District Health SystemDHS คือ ระบบการทำงานเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพ บูรนาการภาคีเน้นเป้าหมายผ่านกระบวนการชื่นชม และจัดการความรู้ แบบอิงบริบท ของแต่ละสถานที่ ภาพที่ คนในพื้นที่ ไม่ทอดทิ้งกัน การดูแลคนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มากกว่าหน้าที่ อาจจะไม่เคยคาดหวังว่าในชีวิตนี้จะพบได้ แต่มันทำให้ อาจารย์ทุกท่าน คุณหมอทุกคน ที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยียน สัมผัส……มันยากที่จะอธิบาย แต่ไม่ยากที่จะบอกว่า สุขภาวะ เป้าหมายไปได้ถึง Goal

1, ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน

2. พึ่งตนเองได้ในความเจ็บป่วยที่พบบ่อย

3. โรคเรื้อรังสำคัญ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุม และดูแลได้ ในชุมชน

4. มีความเข้มแข็ง ของการควบคุมโรค ในท้องถิ่น เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคไม่ติดต่อ

5. ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องพึ่งพา สามารถได้รับการดูแล ได้ในชุมชน และที่บ้าน

6. เกิดการสร้างสุขภาวะของชุมชน โดยความเข้มแข็งของชุมชน มีภูมิคุ้มกัน

ผลที่จะเกิดขึ้นในระบบ Primary Care

1.  Essential Care

-   ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องพึ่งพา สามารถที่ได้รับการดูแลได้ในชุมชนและที่บ้าน

-  โรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ หืด ถุงลมโป่งพอง วัณโรคปอด เอดส์ โรคไต โรคตับ มะเร็ง)

-  มีความเข้มแข็งของการควบคุมโรค ในท้องถิ่นและไข้เลือดออก และโรคไม่ติดต่อ

-  งานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคุมโรค คัดกรองโรค อนามัยสิ่งแวดล้อม อนามัยแม่และเด็ก อาชีวะอนามัย  - ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน – สุขภาพฟัน - โรคจิตเวช (สุขภาพจิต) - ผู้พิการ (อัมพาต เบาหวานถูกตัดเท้า แผลเรื้อรัง) - เด็กเล็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนยากคนจน

2.  Unity District Health Team เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอการทำงานเป็นทีม

รพ.  +  สสอ.  +  รพ.สต .  +  อปท.  +  ประชาสังคม

3.  Health Status

4.  Self Careรพ./รพ.สต./อสม./อปท.Home Care (ประเมิน) ปรับระบบบริการ คืนข้อมูล PCT พื้นที่ Empowermen ผู้ป่วย  Empowormen ชุมชน  คืนข้อมูลผู้ป่วย/ชุมชน

การเข้าถึงบริการสุขภาพไร้รอยต่อ…….ช่องว่าง ที่ควรเข้าถึงได้เร็ว และดีขึ้นในอนาคต

ประชาชน การจัดปัจจัยเสี่ยงและสิ่งแวดล้อม  กลุ่มเสี่ยง การเข้าถึงการคัดกรอง สามารถตรวจตนเองบางกรณี  สงสัยเป็น การเข้าถึงการชันสูตร อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพ เป็นโรคระยะเริ่มต้น การผสมผสานภูมิปัญญาและศาสตร์ทางเลือก การดูแลต่อเนื่อง ในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

ระยะโรคลุกลาม การรับบริการอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง  ระยะรุนแรง ระยะสุดท้ายของชีวิต ที่โรงพยาบาลและที่บ้าน

การเตรียมความพร้อม

1.  ทีมงาน แต่ละเครือข่ายฯคัดเลือกเรื่องที่สนใจเพียงเรื่องเดียวในประเด็น essential care ไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้องรัง หรือสถานการณ์สำคัญที่จะดำเนินการต่อเนื่อง ไม่ว่าจะทำได้หรือไม่ได้ คนเป็นปัญหาสำคัญ หรือต้องการจะนำมาทบทวน เพื่อปรับปรุง กระบวนการจัดการที่มีอยู่

2.  ศึกษานโยบาย เป้าหมายกระบวนการดำเนินการที่มีอยู่ ความคาดหวัง ปัญหา อุปสรรค ความต้องการสาธารณสุขภาคประชาชน

3.  ค้นหาข้อมูล สถิติที่สำคัญ ตัวชี้วัด และผลลัพธ์ที่ผ่านมา

4.  ความร่วมมือในเครือข่าย และกับภาคประชาชน ที่มีอยู่ขณะนี้ ลักษณะ รูปแบบ ระดับการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน ที่มีอยู่จริง

5.  ความคาดหวัง ต่อการมีส่วนร่วม ทั้งในเครือข่ายและกับภาคประชาชนและรูปแบบจะดำเนินการ

ข้อตกลง การใช้คำแทนความหมายเพื่อให้เข้าใจตรง

ประเด็นสนใจ โรค/ประเด็น สถานการณ์ทางสาธารณสุข เป็นตัวเดินเรื่อง โดยให้เลือกมา CUP ละเรื่องเดียว

การบริการ การดำเนินการที่มีเฉพาะต่อ ประเด็นสนใจนั้นๆที่จะต้องปรับปรุง เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ โรค/ประเด็นที่เลือกมา

CUPการจัดการกระบวนการ ระบบการบริการสุขภาพที่มีในระดับอำเภอ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโรค/ประเด็นที่เลือกมา

PCU การจักการ กระบวนการระบบการบริการสุขภาพ ที่มีในระดับรพ.สต. ที่ร่วมงานบางที่/ทั้งหมด เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่สนใจ

ทีมสหสาขาวิชาชีพ ทีมโรงพยาบาล หรือทีมโรงพยาบาล กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทีมสาธารณสุข

ทีมสหสาขาอาชีพ ทีมโรงพยาบาล กับ ทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กับ ประชาชน ทีมชุมชน (ทีมสาธารณสุข กับประชาชน) ทีมประชาชน (ท้องถิ่น/ประชาชน กับ ทีมสาธารณสุข)

การทบทวนการบริการ ที่มีอยู่โดยใช้มุมมองการจัดการ เครือข่ายสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่มีประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง สถานการณ์การบริการ ขณะนี้เป็นอย่างไร ข้อมูลแบ่งกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ครบถ้วนไหม (รักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู) เป้าหมายที่วางไว้แต่ละกลุ่ม เป็นเชิงปริมาณ (คงลักษณ์ของกระบวนการ) หรือเชิงคุณภาพ (ผลลัพธ์ทางพฤติกรรม และคลินิก) กระบวนการจัดการและความเชื่อมโยงของการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ของการบริการเป็นอย่างไร ประเด็นที่ได้ผล ได้จริงหรือไม่ ประเด็นที่เป็นปัญหาเกิดจากอะไร กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่มีอยู่จริงในการบริการนั้นในภาพรวม ทั้งในโรงพยาบาลและภายนอกโรงพยาบาล

ความเชื่อมโยงบทบาทของทีมต่างๆ ทั้งในและนอกโรงพยาบาล ที่เอื้อให้การบริการเรียบเนียนถึง ครอบครัว ชุมชนหรือไม่ ประชาชนรู้สึกอย่างนั้นหรือไม่ อะไรคือการดูแลองค์รวม ที่ทีมงานเข้าใจ ปฏิบัติ ในขั้นตอนต่างๆ เรารู้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย ต่อการเข้าไม่ถึงการบริการและความไม่ต่อเนื่องของการดูแลองค์รวมได้ด้วยวิธีไหน ระบบของเราเองที่เป็นต้นเหตุ (ส่วนหนึ่ง) ที่ก่อปัญหาแก่กลุ่มเป้าหมาย มีหรือไม่ จะค้นพบได้อย่างไร ลักษณะของความร่วมมือเป็นการจัดการ สั่งการ หรือร่วมคิด ร่วมทำ เรารับรู้ความรู้สึก ความคิดของกันอย่างไร เป็นไปได้ไหมที่ทีมโรงพยาบาลและทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะเป็นทีมของเราทีมเดียวกระบวนการ

และช่องทางความรับรู้ปัญหากลุ่มเป้าหมายตลอดกระบวนการอยู่ตรงไหนบ้าง เรามีการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ชุมชนมีส่วนร่วมกัน การบริการอย่างไร จะหลีกหนีการจัดตั้ง จากเราได้หรือไม่ เราเข้าใจและเชื่อมั่นใน การทำงานแบบร่วมคิดร่วมทำ เพิ่มพลังอำนาจแก่ประชาชน มากน้อยแค่ไหน ที่ทำมาแล้วมีอะไรบ้าง ถ้าเราจะออกแบบการบริการจากความต้องการของผู้มีส่วนร่วม และกลุ่มเป้าหมาย จะต้องเริ่มต้นดำเนินการอย่างไร การ่วมงานและความสัมพันธ์ของคณะกรรมการ CUP เอื้อกับการสร้างเครือข่าย เพื่อบริการไหม จุดอ่อน จุดแข็ง คือ? เป็นไปได้ไหมที่ การ่วมงานกันจะมีประเด็นการปรับบริการ ให้กลมกลืนกับวิถีชีวิตและองค์รวมของกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะการร่วมงานและความสัมพันธ์ของบุคลากรโรงพยาบาลกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลกับนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ลักษณะการ่วมงาน และความสัมพันธ์ของบุคลากรสาธารณาสุขกับภาคีภาครัฐ เอกชนอื่นๆ และภาคีชุมชนต่างๆ

 ครอบครัว ชุมชน การเข้าถึงบริการระบบสุขภาพ ทักษะเพื่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างมีความหมายและมีคุณค่า เช่น การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพตนเอง มีชุดให้ความรู้ด้านสุขภาพ มีเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ ตามความสามารถเพื่อการจัดการตนเองและดูแลตนเอง เช่นการจัดการด้วยโรคเรื้อรัง อย่างมีส่วนร่วม จิตอาสา กลุ่ม/เครือข่ายต่างๆ กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน การจัดการให้มีการบริโภคยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอฯ

ความรู้เท่าทันสุขภาพ (Health literacy) เช่น การรณรงค์ การให้สุขศึกษา การสื่อสารด้วยกระบวนที่เข้าถึงได้ การวางแผนการบริการสุขภาพ และความร่วมมือระหว่างหน่วยราชการท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน กับภาคชุมชน

โครงสร้างทางสังคม ตามบริบท วัฒนธรรม เช่นกลไกกระบวนการ การมีส่วนร่วมและความร่วมมือการสนับสนุนทุนและทรัพยากร รวมถึงการฝึกอบรมแก่องค์การผู้บริโภคฯ เช่นการสนับสนุนจากองค์กรท้องถิ่น การฝึกอบรมอาสาสมัคร การสนับสนุนทุนและทรัพยากร เช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ประชาคม คณะกรรมการโรงพยาบาล คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริการสุขภาพ โครงการเกี่ยวกับสุขภาพชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน การช่วยเหลือและสนับสนุน (Advocate& Support) พัฒนา/เพิ่มศักยภาพ อำนาจผู้นำ ภาคชุมชน/แกนนำต่างๆ เช่นการระบุบุคคลโดยชุมชน การพัฒนาผู้นำ กลไกกระบวนการ การมีส่วนร่วม

 ด้านสาธารณสุข จัดการบริการด้านสุขภาพด้วยความรับผิดชอบตอบสนองต่อความต้องการ สนองความพึงพอใจและความคาดหวังของประชาชน เสริมความเข้มแข็งและคุณค่าการเห็นประชาชนเป็นศูนย์การการให้การยอมรับและการสนับสนุนการเป็นแบบอย่างที่ดี

ความตระหนักรับผิดชอบต่อการบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ตามจรรยาบรรณ

-  เป็นบุคคลแบบอย่าง เพื่อคงไว้ซึ่งความมีคุณค่า

-  นำพาการร่วมงาน การเรียน การสอนในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ

-  รักการเรียนรู้ต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาและเติบโตทางปัญญา

-  พัฒนาด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

ความสามารถในการดูแลองค์รวมด้วย การบริการเพื่อนมนุษย์/มิตรภาพบำบัด

-  เชื่อมั่นในการใช้ประโยชน์จากการใช้เหตุผลเชิงประจักษ์

-  ประสานสมดุลการบริการเวชศาสตร์ครอบครัวชุมชนและแบบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

องค์ความรู้การให้สุขศึกษา และกระบวนการฝึกอบรมในทุกเรื่องที่จำเป็นสำหรับบุคลากรสาธารณสุข

-  ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ที่จำเป็นต้องมี

-  เข้าใจภูมิปัญญาการศาสตร์พื้นบ้าน/ทางเลือกสถานบริการชุมชน

-  ได้รับการเรียนรู้ ฝึกฝน ในด้านการรับรู้ และตอบสนอง

-  ความสามารถผสมผสานกับบริบทวัฒนธรรมอย่างเหมาะสม

ความรู้ความสามารถหลักของบุคลากรที่เน้นการบริการที่มีประชาชน/ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

-  เข้าใจถึงมิติด้านจิตสังคม

-  การเน้นย้ำ ความสำคัญของปัจจัยด้านชีวิตร่างกาย จิตสังคม และจิตปัญญา

-  ห่วงใยและเอาใจใส่สุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คน

-  การผสมผสานบนพื้นฐาน ความตระหนัก ด้านมนุษยธรรม

-  ความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารต่อผู้คน และการสร้างความเชื่อถือไว้วางใจได้

-  มีวิธีการเรียนรู้ และการสอนที่หลากหลาย

 องค์กรด้านสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัยบนพื้นฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ

-  ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความร่วมมือการบริการสุขภาพ

-  การไหลเวียนของผู้ป่วย

-  การเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยเฉพาะที่จำเป็น

-  การแจ้งสิทธิ และการยืนยันการรับรู้

-  บันทึกทางสุขภาพและการบริการ

-  ระบบการจำหน่าย และส่งต่อผู้ป่วย

มาตรฐานและการสร้างแรงจูงใจ

-  มาตรฐานด้านบุคลากร

-  ระบบค่าตอบแทน ที่สนับสนุนความมั่นคงเพื่อการดำรงชีพ

-  ระบบเสริมแรงจูงใจ ตรมลำดับประสิทธิภาพการทำงาน

-  การยกย่อง ยอมรับบุคลากร ที่เป็นแบบอย่างต่อสาธารณะ

-  การพัฒนาความเชี่ยวชาญ เฉพาะอย่างต่อเนื่อง

-  การฝึกอบรมความรู้ ทักษะความสามารถที่จำเป็นต่อภาระงาน

-  การติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อม ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย เอื้อต่อการปฏิบัติงานบรรยากาศทางสังคม อารมณ์ การสนับสนุนด้านสติปัญญา นโยบายด้านการจัดการ ความเสี่ยง การจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ทางสุขภาพ

รูปแบบการบริการอื่นๆ อาทิเช่น การบริการนอกเวลา การฝึกหัตพยาบาล การส่งเสริมด้านจิตสังคม การบริการในชุมชน

ทีมสุขภาพสหสาขาวิชาชีพ รายละเอียดภาระงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ ในฐานะทีมสุขภาพการสนับสนุนการพัฒนาทีมสุขภาพ และการเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินการข้อกำหนดการสื่อสาร ประสานงานระหว่างวิชาชีพ

การบูรนาการ การให้สุขศึกษา และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย เข้ากับการมีส่วนร่วมของครอบครัวและความสามารถ ในการจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัว

ภาวะผู้นำและทักษะการจัดการ ทักษะตามความสามารถในการจัดการ ทรัพยากรและการพัฒนาทางองค์กร การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ การจัดการ การฝึกอบรมภาวะผู้นำแก่ทีมงาน

ปัจจัยกำหนดทิศทางการพัฒนา

-  ผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการฯ) ส่วนใหญ่ มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายและเศรษฐกิจ

-  การฟื้นฟูที่บ้านนับเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลผู้ป่วย

-  ดูแล ตามแนวคิดองค์รวม รักษาคนก่อนรักษาโรค

-  ผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการฯ) ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

-  ไม่ดูแลผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการฯ) แต่ต้องดูแลครอบครัวและญาติด้วย

ข้อด้อยของการบริการ ผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ) เดิม ไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริง ความช่วยเหลือไม่ตรงความต้องการ ทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว

รู้จำนวน แต่ไม่เข้าใจ การฟื้นฟู ขึ้นทะเบียนได้ แต่ไม่ได้ฟื้นฟูสภาพอย่างเหมาะสม

รู้ปัญหา  แต่ไม่เห็นศักยภาพ สงเคราะห์ได้แต่ขาดคุณค่า สักแต่ว่าให้

เน้นตั้งรับมากกว่าตามรุก ขาดโอกาสเข้าถึง ขาดการติดตาม ตามบุญตามกรรม

ปัญหาอุปสรรค

1.  ผู้ป่วยมีจำนวนมาก รายใหม่เพิ่มขึ้น

2.  ลักษณะของโรค เรื้องรัง

3.  ผู้ป่วยอยากหาย แสวงหาการรักษา

4.  การรักษาต้องทำ ควบคู่กับการปรับพฤติกรรม

5.  การบริหารจัดการกำลังคน

6.  การจัดการข้อมูล

7.  ลักษณะงาน ทำคนเดียวไม่ได้

ความต้องการของภาคประชาชน

1.  อยากมีคลินิกโรคเรื้อรังใกล้บ้าน (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้พิการ)

2.  อยากมีแพทย์ไปตรวจที่ รพสต.

3.  อยู่บ้านเดียวกัน อยากมาตรวจในวันเดียวกัน

4.  อยากหายจากโรค

DHS โครงการนำร่องของ 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอมวกเหล็ก เสาไห้ บ้านหมอ ดอนพุด ในจังหวัดสระบุรี ทำการศึกษาในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้องรัง (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้พิการฯ) แนวทางพอสังเขปที่ผู้เขียนสามารถรวบรวมบันทึกได้ และเพื่อเป็นประโยชน์ สำหรับพี่ๆน้องๆชาวสาธารณสุข  ที่จะนำไปใช้ ในการดำเนินงาน ในโอกาสต่อไป


หมายเลขบันทึก: 519040เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ได้ความรู้มากค่ะ  ขอบคุณนะคะ

พี่แดง  สุดยอดเลยค่ะ  เดี๊ยวหนูจะเอาอันนี้ไปสรุปนะคะ

ได้แนวคิดและข้อสรุปที่ง่ายต่อการนำไปใช้ขออนุญาตนะคะ

 

เรียน หมอแดง มาทำความเข้าใจเรื่อง DHS (District Health SystemDHS คือ ระบบการทำงานเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุข)

ขอบคุณที่นำมาเรียนรู้

  • ชื่นชมครับ คปสอ.ที่ทำกันมานาน แล้วยังพยายามกันอีกครั้ง ด้วยการคิดวิเคราะห์ที่ดี ถ้าจะทำจริงจังเสนอให้ทำworkshop เจ้าหน้าที่ สอ. หรือรพ.สต. ที่ไม่ใช่หัวหน้าครับ ไม่ต้องถาม สาธารณสุขอำเภอ ผอก.รพช.หรือ รพสต. แล้ว เขาเหนื่อยที่รบกันมามาก
  • ถ้าเริ่มที่ Self care --->ชมรมตามกลุ่มวัย,ตามประเด็น ไดจัดการโครงการ กิจกรรม แผนงานเอง มีงบทำ ---> จนท.สธ.เป็นที่ปรึกษา วิทยากร แลัวไปเชื่อมกับ DHS หรือคปสอ. คอยพิจารณา สนับสนุนแผนงาน โดรงการ ละก็เยี่ยมเลย  แลัวคปสอ.ก็สามัคคีเองภายหลัง  คือ ขมรมตามกลุ่มวัย/ประเด็น (อาจมีอสม. เป็นเลขา)เป็นจุดเริ่มต้น

( จัดตั้งชมรม ตาม 4 กลุ่มวัย ในชุมชนตำบล-อำเภอ เพื่อให้มี กิจกรรมตามกลุ่มวัยที่เข้มแข็งโดยให้ อสม. 2 คน เป็นเลขานุการ แกนนำสำคัญในชุมชนเป็นกรรมการแต่ละชมรม คือ1.ชมรมแม่และเด็ก  2.ชมรมวัยเรียนวัยรุ่น  3.ชมรมวัยทำงาน  4.ชมรมผู้สูงอายุ  โดยให้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพต่างๆในชุมชน ถูกจัดเข้าเป็นกิจกรรม ของแต่ละชมรมตามความเหมาะสม และเลือกจัดลำดับความสำคัญได้ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. เป็นผู้แนะนำทางวิชาการ จดทะเบียนชมรมกับ อปท. และรพ.สต. เพื่อ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณทำกิจกรรมต่างๆได้ง่าย ถ้ามีการจัดการชมรมที่ดี อาจลดงานเจ้าหน้าที่ได้----ส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัย ...รูปแบบการสร้างสุขภาพชุมชน)

เยี่ยมครับ

ขอบคุณครับ ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น สำหรับการทำงานด้านสุขภาพ ต้องมีหลายๆหน่วยงานร่วมรับผิดชอบในอำเภอด้วย และต้องรู้เข้าถึงข้อมูลจากศูนย์กลางข้อมูลที่เปิดเผยได้เฉพาะสิทธิ์ รวมถึงมีเครื่องมือด้านสารสนเทศให้มีการเชื่อมโยงภายในกลุ่มตำบล โดยมี รพช. เป็นศูยน์กลางและทดลองกลุ่มงาน NCD ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท