EGA
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) สรอ. Electronic Government Agency(Plublic Orgenization)

ก้าวสำคัญและปัจจัยความสำเร็จเพื่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นผู้นำไอทีระดับภูมิภาคอาเซียน


    

     สรุปการเสวนาเรื่อง ก้าวสำคัญและปัจจัยความสำเร็จเพื่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นผู้นำไอทีระดับภูมิภาคอาเซียน  จากงานสัมมนา“นโยบายการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กรอบแนวทาง และทิศทางการปฏิบัติงานปี ๒๕๕๖” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมวงเสวนา คือ

1. นายวรวิทย์ จำปีรัตน์  ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

2. นางสาวขนิษฐา สุดกังวาน ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.)

3. ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์    กรรมการบริหารมูลนิธิซีแอนด์ซีเพื่อการศึกษา

4. นายไชยเจริญ อติแพทย์  นายกสมาคม CIO16

ดำเนินรายการโดยดร.กำพล  ศรธนรัตน์  ผู้อำนวยการฝ่ายไอซีที  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

     สรุปเนื้อหาจากการเสวนาฯ ดังนี้

1. Process

- แนวคิด นโยบายด้าน e-government ของประเทศต่างๆ นั้นไม่ต่างกันมาก หากจะแตกต่างกันคือ การนำไปปรับใช้ (Implement) งบประมาณ บุคลากร ในแต่ละประเทศ

- การดำเนินการในอดีตเน้นที่ Silo และ Transaction ในอนาคต ควรมุ่งเน้น InteractionalและIntegration มากขึ้น

- คุณค่าของประชาชนกับบริการของภาครัฐ : การออกแบบระบบบริการต่างๆ ควรคำนึงถึง Business Process ของภาคประชาชน ณ ปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐนำไอทีเข้ามาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับการทำงานของหน่วยงาน (Business Process ของหน่วยงาน) เช่น ลดขั้นตอนการทำงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานน้อยลงในฐานะของหน่วยงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ แต่ในฐานะของประชาชนมีความเสี่ยงที่จะทำผิดกฎหมาย เช่น การกรอกแบบฟอร์มต่างๆ หากประชาชนกรอกผิด ประชาชนอาจมีความผิดทางกฎหมายโดนข้อหาสำแดงเท็จ เป็นต้น ดังนั้นควรคำนึงถึงประชาชนให้มากยิ่งขึ้น หรือออกแบบระบบให้สามารถตอบคำถามประชาชนได้

- การออกแบบที่ดีคือ ประชาชนไม่มีความเสี่ยง ระบบงานจะต้องสามารถตอบคำถามของประชาชนได้ (การใช้เทคโนโลยี In-Memory Computing)

- สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือ 1) การบูรณาการ 2) ยังไม่ให้คุณค่าแก่ประชาชนอย่างแท้จริง

- สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือ การเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาองค์กรหรือหน่วยงานให้ดีขึ้นไปสู่การพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงภาคประชาชนเป็นหลัก

- เน้น Citizen centric: ประชาชนจะเริ่มเข้ามามีบทบาทกับการทำงานของภาครัฐมากยิ่งขึ้นซึ่งประกอบไปด้วย citizen collaboration, citizen development, citizen interacting และ citizen communication

- Standardization: การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ควรผลักดันในส่วน Standardization ให้เกิดขึ้นเนื่องจากในอนาคตจะเกิดการเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทั้งภายในประเทศและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ

- การพัฒนาที่จะต้องเปลี่ยนจาก "e - electronic" ไปสู่ "i - intelligence"

- การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ กระบวนการ, การใช้ เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ มากยิ่งขึ้น

- การพัฒนาที่จะต้องบูรณาการมากยิ่งขึ้น ซึ่งภาคเอกชนได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น บัตรโดยสาร BTS ที่สามารถนำไปซื้ออาหารหรือเครื่องดื่มที่ร่วมรายการได้ เป็นต้น

- Differentiate คือ การนำ IT มา Differentiate ตัวเองหรือองค์กรเพื่อทำให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์ไม่ใช่ การนำไอทีมาใช้เพื่อให้ระบบดีขึ้นเท่านั้น

2. People

ผู้ใช้ : ผู้ใช้ทุกวันนี้เริ่มหันมาใช้ IT มากขึ้น จึงไม่เป็นอุปสรรค หากแต่ต้องทำระบบให้ง่ายต่อการเข้าถึง เช่น Facebook เป็นต้น

ผู้พัฒนา : ต้องเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นผู้พัฒนา วางแผนในระยะยาว

ผู้ดูแลศูนย์ : ต่อไปจะไม่จำเป็น เนื่องจากในอนาคตเริ่มหันมาใช้ Cloud มากยิ่งขึ้น

หัวหน้าหน่วยงาน, ผู้นำ :  เป็นบุคคลสำคัญที่จะผลักดัน e-Government เนื่องจากต้องสามารถคิดบริการ     โครงการสำหรับประชาชน เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี หากสามารถพัฒนา IT Leader ได้ก็จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้รวมทั้ง การ Empower ก็เป็นสิ่งสำคัญในอนาคตนอกจากการวัดด้าน Efficiency แล้วควรวัดด้าน Empower ด้วย

 

        ก้าวสำคัญ ก้าวที่มั่นคง และความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ย่อมเกิดจากปัจจัยที่มีความหลากหลายทั้งในเรื่องของการบูรณาการและการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการที่มีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นถึงความคุ้มค่า ความต้องการและประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนจะได้รับเป็นหลัก หรือก็คือการยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen centric)

 


     จากประเด็นดังกล่าวในข้างต้น เพื่อนสมาชิกท่านใดมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถร่วมแบ่งปันกันได้นะคะ  

ขอบคุณทุกกำลังใจและขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมบันทึกค่ะ




เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน EGA
หมายเลขบันทึก: 517759เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2013 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2013 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

Performance ...  อยากเห็นผลลัพธ์ ที่เยี่ยม

Product  ... มีคุณภาพ ถูกใจของลูกค้า (People)

Power ...  กระจายอำนาจ.... และ อำนาจในการชื้อ / บริการของลูกค้า

Policy .... ต้องชัดเจน ... เป็นไปได้ &  เป็นรูปธรรม


ถือว่า.... แบ่งปันความคิดกันนะคะ (Share& Idea) ..... ขอบคุณค่ะ 

ขอบคุณคะ รบกวนขยายความ...การพัฒนาที่จะต้องเปลี่ยนจาก "e - electronic" ไปสู่ "i - intelligence" คืออะไรคะ

ผมว่าเนื้อหาน่าจะมีมากกว่านี้นะครับ ยังมองไม่เห็นว่าจะก้าวไปอย่างไร แล้ว 2T(Technology & Tools) มีอะไรบ้าง ฐานการพัฒฯาสำคัญที่การให้ความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์(Utilization) ของ application ต่าง ๆ นะครับ

ขอบคุณ Dr.ple สำหรับการแบ่งปันความคิดเห็น

ขอบคุณ สำหรับการเยี่ยมชมบันทึกและการสอบถามข้อมูลคะหมอ ป.

ทั้งนี้บทสรุปที่ได้จากการรับฟังเสวนา ในส่วนของการผลักดันให้เปลี่ยนจาก

"e-electronic"ไปสู่ "i-intelligence"นั้น เป็นข้อมูลที่ทาง ท่านชัยเจริญ อติแพทย์ นายกสมาคม CIO16 ยกตัวอย่าง แผนการดำเนินงานด้าน e-Government ของประเทศเพื่อนบ้าน

ซึ่งท่านไม่ได้ระบุว่าเป็นประเทศใด โดยแนวคิดดังกล่าวถือเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เนื่องจากปัจจุบันเราจะมุ่งเน้น แค่ e หรือ electronic แต่เราควรมองไกลไปถึง i หรือ intelligence มากยิ่งขึ้น ในเชิงนโยบายแล้วนั้นได้มีการกล่าวไว้ในแผน ICT 2020 ซึ่งจะประกอบไปด้วย  intelligence, integration และ inclusion หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาเผยแพร่และร่วมแบ่งปันกันค่ะ

เรียนคุณ เอกพงศ์ 

ในส่วนนี้จะเป็นบทสรุปในช่วงเสวนาฯ ข้อมูลจึงค่อนข้างน้อยอาจไม่ตอบโจทย์มากนัก ทั้งนี้สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.ega.or.th/Content.aspx?c_id=378 

สำหรับ เอกสารการนำเสนอสามารถ download ได้จาก http://www.ega.or.th/Content.aspx?c_id=381


สวัสดีครับทุกท่าน

ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นะครับ
คือเราพยายามจะผลักดันจาก e-government ไปสู่ open government และจาก open government ให้เป็น smart government
โดย open government หรือรัฐบาลโปร่งใสจะมุ่งเน้นไปที่ 3 keywords ได้แก่ transparency, collaboration and participation ซึ่งความร่วมมือของสรอ กับ gotoknow ก็นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนารัฐบาลโปร่งใสครับ
สำหรับ smart government ซึ่งน่าจะคล้ายกับ i government ในบางมุม เราเน้นไปที่สาม keywords ได้แก่ sustainability, innovation, crossing boundary. 
โดยทั้งหมด เราผลักดันพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประโยชน์ของประชาชนครับ

ซึ่งความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่างๆที่เราได้จาก เพื่อนสมาชิกใน gotoknow สรอพยายามผลักดันต่อไปยังผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ โดยเราจะรายงานให้ทราบเป็นระยะๆนะครับ 

ตามมาเชียร์การทำงาน รออ่านเรื่องดีๆแบบนี้อีกครับ

เป็นการทำงานที่น่าสนใจในการให้พลังของ 2P ขอบคุณมากครับ

ไม่ขอเพิ่มเติมแต่ขอมาเชียร์แทนก็แล้วกันนะคะ

เรามาเชียร์ อ่อนเพลียก็ไม่สำคัญ

เย้ๆๆ

แวะมาทักทายและให้กำลังใจเช่นกันครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท