ไม่ใช่ครูจะต่ออายุใบครู, อำเภอ/จังหวัด ส่งครูไปไว้ที่อื่น, เรื่องน่าสนใจ (บ้านหนังสือ-ภาษาจีน-อนุ กก.ภาคี), การขึ้นข่าวในเว็บ กศน., การแย้งผู้ประเมิน, หาคำอธิบายรายวิชา


สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้   6   เรื่อง ดังนี้


         1. วันที่ 18 ม.ค.56 คุณ “ก้อนหินหาดทรายและสายน้ำ อรอร” กศน.เพชรบุรี ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  มีคำอธิบายรายวิชา ทรัพย์สินทางปัญญา สค 32008 และความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย สค 02010 บ้างหรือไม่

             ผมตอบว่า   ดูคำอธิบายรายวิชา ทุกรายวิชา ได้ที่ http://203.172.142.230/nfe_reserve/backend/index.php 
             - คลิกที่ Login  (ถ้าจะดูข้อมูลเฉย ๆ ไม่ต้องใส่ user id และ password ก็ได้ )
             - เข้าไปแล้ว ชี้ที่ "ระบบค้นหาข้อมูล"  คลิกที่ "ระบบค้นหาข้อมูลหลักสูตรวิชาเลือก"
             - จากนั้น คลิกเลือก "สาระการเรียนรู้" "ประเภทรายวิชา" "ระดับการศึกษา" ตามต้องการ  เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม "ค้นหา"
             - ถ้าจะดูข้อมูลย่อของรายวิชาใด คลิกที่ปุ่ม View  ถ้าจะดูคำอธิบายรายวิชาและรายละเอียดคำอธิบายรายวิชา คลิกที่ปุ่มเปิดไฟล์


         2. วันอาทิตย์ที่ 20 ม.ค.56 คุณ “Noa Noang Kootsee” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  หนูตำแหน่งบรรณารักษ์จ้างเหมา ใบประกอบวิชาชีพจะหมดอายุในปี 2557 ไม่ทราบว่าตำแหน่งของหนูจะสามารถต่อใบประกอบวิชาชีพใด้หรือเปล่า เพราะว่าเงื่อนไขในการต่อต้องเป็นครู และมีการอบรมเกี่ยวกับวิชาชีพ แล้วตำแหน่งของหนูสามารถเรียกว่าบุคลากรทางการศึกษาได้หรือเปล่า

             ผมตอบว่า   ไม่ได้เป็นครู ก็ต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้   การต่ออายุจะดู 3 ด้าน คือ
             1) คุณสมบัติด้านวุฒิ 
             2) การพัฒนาตนเองที่ผ่านมา
             3) การประพฤติตามจรรยาบรรณ 

             1) คุณสมบัติด้านวุฒิ ดูได้ในข้อ 3 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/492797 ซึ่งจะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเป็นครู

             2) การพัฒนาตนเองที่ผ่านมา สำหรับผู้ที่เป็นครูกับผู้ที่ไม่ได้เป็นครูจะกำหนดรายการการพัฒนาตนเองไว้ ต่างกัน คือถ้าไม่ได้เป็นครู แต่จบปริญญาทางการศึกษา ตอนนี้ถ้าบัตรหมดอายุก็ต่ออายุได้เลย ไม่ต้องพัฒนาตนเอง ( อนาคตอาจเปลี่ยนให้ต้องเข้าอบรม )  ถ้าไม่มีปริญญาทางการศึกษาจึงจะต้องผ่าน 1 ข้อ จาก 3 ข้อต่อไปนี้ 
             - ผ่านการอบรมความรู้มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ หรือ
             - ผ่านการทดสอบความรู้มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพท หรือ
             - อยู่ในระหว่างทดสอบหรือรอเข้ารับการอบรมความรู้มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งจะสามารถแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

             ( ตำแหน่งบรรณารักษ์จ้างเหมาฯ ไม่ถือว่าเป็นบุคลากรทางการศึกษาตามความหมายของ พรบ.ครูฯ )


         3. คืนวันเดียวกัน ( 20 ม.ค. ) คุณ “Ariya Oho” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  เอาข่าวขึ้นเวป nfe ได้อย่างไร พอดีนายกและ ครม.สัญจร มาที่อุตรดิตถ์ อยากลงข่าวเวปกรมฯ

             ผมตอบว่า
             1)  ผู้ที่จะขึ้นข่าวประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ สนง.กศน. จะต้องมี Username และ Password  โดยผู้ที่จะขึ้นข่าวประชาสัมพันธ์ไมใช่เป็นบุคคล แต่ให้ขึ้นข่าวประชาสัมพันธ์ในนามหน่วยงาน คือ กศน.จังหวัด อำเภอ หรือตำบล  ฉะนั้นในแต่ละหน่วยงาน จึงให้มี Username/Password ชุดเดียว
             2)  ลองถามกันดูว่า หน่วยงานนี้ Username/Password คืออะไร อยู่กับใคร ถ้าหาไม่ได้จริง ๆ ให้โทร.02-2802924 ติดต่อขอกับ คุณอุดมศักดิ์ บุญก่อ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ กลุ่มแผนงาน กศน. ผู้ดูแลเว็บไซต์สำนักงาน กศน.
             3)  เมื่อมี Username/Password แล้ว ให้คีย์ลงในหน้าโฮมเพจเว็บไซต์ สนง.กศน. แล้วคลิกที่ Login



             4)  จากนั้นคลิกที่ "เพิ่มบทความ"




             5)  เข้าไปกรอกข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์ ต่าง ๆ  เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม "บันทึก"




             ( - ถ้าผมจำไม่ผิด เมื่อบันทึกข่าวประชาสัมพันธ์ไปแล้ว ข่าวจะยังไม่ขึ้นประชาสัมพันธ์ออกหน้าเว็บในทันที ต้องคอยให้กลุ่มแผนงานตรวจสอบก่อน แล้วจึงจะปล่อยข่าวขึ้นประชาสัมพันธ์ในหน้าเว็บ สนง.กศน.ภายหลัง
                - Username/Password ชุดนี้ ใช้เข้า Webbord ในเว็บไซต์ สนง.กศน.นี้ได้ด้วย )


         4. คืนวันเดียวกัน ( 20 ม.ค. ) ท่าน ผอ.ดร.ดิศกุล สนง.กศน.จ.สมุทรสาคร ได้บันทึกเรื่องที่น่าสนใจเผยแพร่ในเว็บบล็อก ดังนี้

             1)  บ้านหนังสืออัฉริยะ
                  1.1  เปิดงานบ้านหนังสืออัจฉริยะ 18 ก.พ.56 ฮอลล์ 9 อิมแพ็คเมืองทอง
                        1.1.1  ผู้ไปร่วมงาน
                                - ผอ.กศน.จ.
                                - ผอ.กศน.อ.
                                - เจ้าของบ้านหนังสืออัจฉริยะ อำเภอละ 11 คน
                        1.1.2  ทุกจังหวัดเดินทางถึงเมืองทองฯอย่างช้า 07:30 น.
                        1.1.3  โครงการจัดเลี้ยงอาหารกล่อง
                        1.1.4  มีเสื้อยืดให้เจ้าของบ้านใส่ไปงาน โดยให้แจ้ง Size เจ้าของบ้านที่เลือกไปร่วมงาน ไป กศน.ภายใน 31 ม.ค.56
                        1.1.5  ค่าใช้จ่ายในการเดินทางใช้งบพัฒนาผู้เรียนและเงินอุดหนุนรายหัว
                        1.1.6  ผอ.จังหวัดรับป้ายจากรัฐมนตรี และนำไปจัดการมอบที่จังหวัดตนเอง
                  1.2  กศน.อำเภอใช้เงินอุดหนุนซื้อ
                        - โต๊ะพับ แบบราคาไม่แพง
                        - เก้าอี้พลาสติกแดง 4 ตัว
                  1.3  กศน.อำเภอสำรวจเพื่อจัดซื้อตามความต้องการของประชาชน
                        1)  จัดซื้อ 1 มี.ค.56
                        2)  น.ส.พ.
                        3)  วารสาร
                             - รายปักษ์ เล่มละไม่เกิน 60 บาท
                             - รายสัปดาห์ เล่มละไม่เกิน 20 บาท
                  1.4  ตั้งแต่ 1 เม.ย.56 เป็นต้นไป สำนักงบประมาณจะสุ่มตรวจบ้านหนังสืออัจฉริยะ

             2)  นโยบายสอนภาษาจีน
                  - จังหวัดละ 1 ห้อง ผู้เรียน 30 คน ส่งรายชื่อให้ กป.กศน.ภายใน 25 ม.ค.56
                  - หลักสูตร 300 ชม.
                  - จ้างครูจีนเดือนละ 12,000 บาท
                  - ใช้งบประมาณศูนย์ฝึกอาชีพที่โอนให้จังหวัด

             3)  การคัดเลือกอนุกรรมการภาคีเครือข่าย
                  - อนุกรรมการภาคีเครือข่าย 11 ประเภท ( บุคคล ชุมชน ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน สถานศึกษาอื่น สถานประกอบการ สถาบันศาสนา องค์กรวิชาชีพ องค์กรอื่น )
                  - กศน.จ.ประกาศ 1-20 ก.พ.
                  - รับสมัคร 21 ก.พ.- 6 มี.ค.
                  - คัดเลือก/ประกาศผู้มีคุณสมบัติ 7-20 มี.ค.
                  - ส่งประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกไปยัง สนง.กศน. 21-31 มี.ค.



         5. วันที่ 22 ม.ค.56 คุณ Phon Pata ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  หนูครูอาสาฯ กศน.จังหวัดสมุทรสงคราม มีเรื่อง ผู้บริหารอำเภอ ส่งตัวข้าราชการ ครูอาสา และครู กศน.ตำบล ไปทำงานที่จังหวัด  สามารถทำได้หรือไม่   กรณีนี้จังหวัดส่งตัวบุคลากรกลับมาอำเภอแล้ว แต่ ผอ.ก็ยังยืนยันจะส่งอีก ส่งไปอำเภออื่นหรือส่งไปถึงสำนักงาน กศน.ที่กรุงเทพเลย  ตอนนี้ย้ายโต๊ะทำงานครูออกไปเก็บห้องเก็บของและออกคำสั่งมอบงานใหม่โดยไม่มอบงานตามหน้าที่ใด ๆ ให้ทั้งสิ้น

             ผมตอบว่า   ผอ.กศน.อ.ไม่มีอำนาจส่งครูไปทำงานที่อื่น ถ้าครูทำความผิดก็ต้องดำเนินการทางวินัยไปตามหลักเกณฑ์ ( ซึ่งก็ไม่มีหลักเกณฑ์ให้ส่งครูไปไว้ที่อื่น )    เดิมมีคำสั่ง สป.ศธ.ที่ 270/51 ข้อ 13 มอบอำนาจให้ ผอ.สนง.กศน.จังหวัด/กทม. “ให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัด ไปช่วยราชการภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เป็นการชั่วคราวครั้งละไม่เกิน 30 วัน”   แต่ต่อมา ก็มีคำสั่ง สป.ศธ.ที่ 582/52 ยกเลิกการมอบอำนาจข้อ 13 นี้แล้ว  โดยให้เหตุผลในการยกเลิกว่า “การมอบอำนาจกรณีดังกล่าวมีเจตนาจะให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างรวดเร็วและสั่งการโดยให้ยึดผลประโยชน์ของทางราชการเป็นที่ตั้ง แต่ ผู้รับมอบอำนาจได้นำไปใช้โดยไม่ถูกต้อง จึงยกเลิก"   ตอนนี้ทั้งอำเภอและจังหวัดไม่มีอำนาจส่งไปช่วยราชการแล้ว

             ที่ ผอ.บอกว่า จะส่งไปสำนักงาน กศน.ที่กรุงเทพนั้น คงพูดเฉย ๆ เพราะถ้าส่งไปจริง สำนักงาน กศน.คงว่า ผอ.เป็นบ้า    ผมขอแนะนำให้ปรึกษาผู้ใหญ่ในจังหวัดว่า ผอ.ไม่ให้หนูมีที่นั่งทำงาน ไม่ให้มีบทบาทหน้าที่ทำงานใด ๆ แล้วหนูควรทำยังไงดี หนูควรทำหนังสือแจ้งจังหวัดเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการหรือไม่   ( ผอ.อาจจะกำลังโกรธ เพราะหน้าแตกที่จังหวัดส่งตัวครูกลับมา  รออีกสักระยะให้คลายโกรธลง อาจคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น  ถ้าเราทำอะไรลงไปตอนนี้อาจจะไปกันใหญ่  ควรปรับเข้าหากัน )


         6. วันเดียวกัน ( 22 ม.ค. ) ศน.สุพจน์  โทร.มาบอกผมว่า  มีการคิดไม่ตรงกัน โดยบางท่านบอกว่า “ครู” ตามตัวบ่งชี้ที่ 6 ของ สมศ.นั้น หมายถึงทั้งครู กศ.ขั้นพื้นฐานและครู กศ.ต่อเนื่องด้วย   ศน.สุพจน์ถามผมว่าจริงหรือไม่

             ผมตอบว่า “ครู” ตามตัวบ่งชี้ที่ 6 หมายถึงครู กศ.ขั้นพื้นฐานอย่างเดียว ไม่รวมครู กศ.ต่อเนื่อง  ( วันเดียวกัน หลังจากผมตอบ ศน.สุพจน์แล้ว เพื่อเพิ่มความมั่นใจ ผมได้ถามท่าน ศน.ขิง-อัญชลี  ท่าน ศน.อัญชลี ก็คิดเหมือนผม )

            วันต่อมา ผมเรียนถามท่าน ผอ.กลุ่มพัฒนา กศน. ท่านก็ตอบว่า "เฉพาะครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน"

             อนึ่ง ท่าน ผอ.กลุ่มพัฒนา กศน. บอกผมเมื่อวันที่ 14 ม.ค.56 ว่า  ในการประเมินฯจริง ถ้า กศน.อ.กับผู้ประเมินฯ คิดไม่ตรงกันในเรื่องสำคัญที่ไม่ยอมกัน  ให้ กศน.อ. โทร.ไปแจ้งกลุ่มพัฒนา กศน. แล้วกลุ่มพัฒนา กศน.จะประสานให้ สมศ.เคลียร์กับผู้ประเมินให้


หมายเลขบันทึก: 517220เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2013 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 04:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณครับในการทำหน้าที่การจัดการวามรู้คู่ กศน.  ขอให่กำลังใจครับ


ขอบคุณครับอาจารย์
ข้อ 5. ต้องคุยกันครับ ถ้าสองคนคุยไม่ได้ ให้มีคนกลางครับอาจารย์

         ขอบคุณครับ จะมาใช้บริการบ่อยๆ บอกได้ว่าการประเมินครั้งนี้มีรายละเอียดมากกว่าเอกสาร ผมทำความเข้าใจว่าสถานศึกษาต้องกล้าที่จะให้ค่าร้อยละในแต่ละตัวบ่งชี้แก่กรรมการ และแสดงข้อเท็จเพื่อยืนยันทำให้กรรมการประเมินมีความเชื่อมั่นที่จะให้ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดี ขึ้นไป (รายละเอียดมากกว่าเอกสาร ก็คือ ผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกันจากตัวบ่งชี้ที่ 1 ถึง 12 โดยเฉพาะสื่อบุคคล ตัวเป็นๆ ที่พูดได้ อธิบายได้ ร่องรอยที่เป็นผลงาน ชิ้นงาน รางวัล ฯลฯ ) สำหรับ ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนของครูสำคัญทุกชิ้น ที่จะสะท้อนได้ว่าเกิดเป็นตัวบ่งชี้ที่10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา และเป้าหมายสูงสุด ผู้เรียนเกิดอัตลักษณ์ ตาม ตัวบ่งที่ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัญชา ปณิธาน พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา  ขอยืมคำของนักวิชาการสายคุณภาพที่เรียกว่าการพัฒนาแบบองค์รวม  (Holistic) - ของเราอาจจะเรียกว่า ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอน กศน. แบบองค์รวม  

         องค์รวม หรือ Holistic  มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก "Holos"  ซึ่งหมายถึง "ความเป็นจริงหรือความสมบูรณ์ทั้งหมดของสรรพสิ่ง มีเอกลักษณ์และเอกภาพที่มิอาจแบ่งแยกเป็นส่วนย่อยได้"  หรือ มีความหมายตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซ์ฟอร์ดว่า "แนวโน้มตามธรรมชาติในการสร้างองคาพยพ (wholes) ที่มีคุณสมบัติมากกว่าผลรวมขององค์ประกอบ"  คำว่า"องค์รวม"  นี้ยังคงเป็นเรื่องแปลกใหม่และเข้าใจยากและถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในแวดวงนักวิชาการ การเมือง และศาสตร์สาขาต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม "องค์รวม" มักจะถูกนำไปใช้โดย มุ่งหวังให้เกิดการมองเป้าหมายที่กว้างขวางรอบด้าน และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับคำว่า "บูรณาการ" "เติมเต็ม"  และ "ยั่งยืน"  แนวคิดองค์รวมนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมไทย และถือได้ว่าเป็นคำสำคัญคำหนึ่งในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-9  จึงอาจกล่าวได้ว่าแนวคิดนี้มีนัยสำคัญต่ออนาคตของประชาชนไทยอย่างแท้จริง (ที่่มา: http://www.ryt9.com/s/ryt9/75149)

ขอบคุณ ศน.สุพจน์ และครูอาสาพัทยา ครับ

เรียนถามท่านหน่อยครับ ผมมีใบประกอบวิชาชีพครูอยู่นะครับ จบสายวิศวฯ แต่เรียนป.บัณฑิตวิชาชีพครูแล้ว จบมาได้รับใบประกอบวิชาชีพครูเมื่อปี52 ซึ่งจะหมดอายุ 1 มิ.ย.57 แต่ตอนนี้ไม่ได้เป็นครูแล้วครับ เพิ่งลาออกจากครูเอกชนมานะครับ อยากถามว่าผมจะต่ออายุใบประกอบวิชาชีพครูได้หรือไม่ครับ ถ้าได้จะต้องไปอบรมเพิ่มหรือเปล่า ขอบคุณครับ

คุณสยามครับ ผมไม่มีความสามารถที่จะตอบได้ชัดเจนกว่าที่ตอบในข้อ 2. ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท