การบริหารงานวิชาในโรงเรียนประถมกลุ่มที่เปิดสอน อนุบาล-ม. 3


ผู้บริหารสถานศึกษาทั้งหลายจะต้องไม่ลืมว่า แท้จริงแล้ว (ภายใต้ความเป็นนิติบุคคลของโรงเรียน) การบริหารภายในโรงเรียน ถือเป็นอำนาจโดยเต็มของเรา ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรจะต้องพยายามแสวงหาวิธีการทุกอย่าง (ที่ถูกทำนองครองธรรม) มาบริหารโรงเรียนของเรา ภายใต้ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่จำกัดนี้ให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพสูงสุด

ก่อนอื่นต้องขอประกาศก่อนว่า ตัวเองไม่เคยมีความเห็นด้วยกับการให้โรงเรียนประถมของรัฐเปิดสอนถึง 3 ระดับ คือ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ยัน ม.3 ตั้งแต่ภายใต้การใช้ชื่อโครงการว่า โรงเรียนขยายโอกาส แล้ว เพราะเป็นเรื่องที่ผิดหลักในด้านการเรียนการสอนในหลายๆเรื่อง เป็นการหลงทาง และส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อคุณภาพการศึกษาของไทยมาจนถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม ก็เข้าใจดีว่า ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา ผอ.โรงเรียนประถมก็จะต้องรับนโยบายจาก "ส่วนกลาง" ไปปฏิบัติ และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือนโยบายจากหน่วยเหนือ ตามระบบราชการถือเป็นความบกพร่องในหน้าที่

แต่...ผู้บริหารสถานศึกษาทั้งหลายจะต้องไม่ลืมว่า แท้จริงแล้ว (ภายใต้ความเป็นนิติบุคคลของโรงเรียน) การบริหารภายในโรงเรียน ถือเป็นอำนาจโดยเต็มของเรา ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรจะต้องพยายามแสวงหาวิธีการทุกอย่าง (ที่ถูกทำนองครองธรรม) มาบริหารโรงเรียนของเรา ภายใต้ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่จำกัดนี้ให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพสูงสุด

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ไปเป็นวิทยากรการสัมมนาเสริมนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา ที่ศูนย์สัมมนาโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลาได้เรียนรู้หลายอย่างจากนักศึกษา และรู้สึกประทับใจในผลงานของท่านผอ. โรงเรียนประถม 3 ระดับท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นศิษย์เก่าบริหารการศึกษา มสธ. ตั้งแต่ปริญญาตรี ซึ่งแม้ว่า ท่านจะอยู่ในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ท่านก็ได้ใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์การบริหารการศึกษาเพื่อดำเนินการบริหารการเปิดสอนในทั้ง 3 ระดับของโรงเรียน โดยจัดแบ่งการบริหารภายในออกเป็น 3 แผนก มิให้มาปะปนกัน ทำให้คุณภาพของการจัดการศึกษาดีขึ้นการหลายๆโรงเรียนที่ยังคงทำการเปิดสอนใน 3 ระดับแบบคละกัน ใช้ทรัพยากรทางการศึกษาก้อนเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ครูชุดเดียวกัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย

ในประเทศมาเลเซีย พบว่า เขามีการเปิดสอนหลายระดับ (ประถมและมัธยม) ในโรงเรียนเดียวกัน แต่ต่างช่วงเวลากัน คือ ช่วงเช้า เป็นการสอนระดับประถม ด้วยคณะครูสำหรับนักเรียนประถม ส่วนช่วงบ่าย เปิดสอนระดับมัธยม โดยใช้อาคารสถานที่เดียวกัน แต่คณะครูคนละชุดกัน เพราะ specialization ของครูประถม และครูมัธยมย่อมต่างกัน

หมายเลขบันทึก: 51694เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2006 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท