เป็นE-hospitalด้วยHospital os


ไม่มีตามที่ต้องการและก็เป็นโปรแกรมที่ต้องเสียเงินและต้องเสียค่าดูแลระบบระยะยาวด้วย จนมาพบกับโปรแกรมปฏิบัติการHospital os

ภาพที่เราเห็นกันทั่วไปในโรงพยาบาลรัฐบาลทั่วไปอย่างคุ้นตาก็คือการรอคอยอยู่หน้าห้องบัตรอย่างแออัดของผู้ที่มาใช้บริการ ยิ่งในบางวันที่เป็นคลินิกโรคเรื้อรังด้วยแล้วจะแออัดตั้งแต่เช้ามืด เพื่อมารอรับบัตรประวัติผู้ป่วยหรือที่เรียกว่าOPD Card ถ้ามองเข้าไปในห้องบัตรก็จะพบเจ้าหน้าที่กำลังสาระวนกับการเขียนและค้นบัตรจนบางครั้งแทบจะไม่ได้มองหน้าทักทายคนไข้เลยเพราะแค่ค้นบัตรก็หัวยุ่งหน้ามัน ยิ้มไม่ไหวแล้ว ในห้องเองก็แทบจะไม่มีที่ว่างเพราะมีแต่ตู้ใส่บัตรเต็มไปหมด พอตอนบ่ายๆพนักงานห้องบัตรก็ต้องมาคอยตรวจสอบว่าบัตรผู้ป่วยได้กลับคืนมาห้องบัตรครบไหม หายไปไหนบ้างหรือเปล่า ต้องมาคอยทวงถามจากจุดต่างๆ บางทีก็โทษกันไปโทษกันมา ส่วนผู้ป่วยที่มาก็ไม่ต้องการบัตรแต่ต้องการตรวจรักษาก็ต้องมาคอยเก็บบัตรถือไปทุกจุดจนกว่าจะได้ยา บางทีก็เลยทำหายบ้าง ทิ้งถังขยะไปบ้าง พอมาตรวจครั้งต่อไปหากหาประวัติเก่าไม่เจอก็ลำบากแพทย์ที่จะให้การรักษาต่อเนื่องก็ต้องมาเริ่มกันใหม่ ในส่วนของห้องยาเองก็ต้องมานั่งพิมพ์ใบสั่งยาแทนที่จะได้ใช้เวลาตรวจสอบจัดยาและอธิบายผู้ป่วยอย่างเต็มที่ หรือในส่วนบริการอื่นๆเช่นห้องฟัน ห้องนวด ห้องส่งเสริมก็ต้องรอบัตรจากห้องบัตรกว่าจะเริ่มบริการได้ก็ช้าไปหมด ส่วนเภสัชกรกับหมอก็มีปัญหาเรื่องลายมือหมอในใบสั่งยาที่อ่านยาก ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้ง่าย และเวลาสรุปผลงานประจำปีก็ต้องรอทำรายงานกันนานกว่าจะสรุปได้ก็4-5 เดือนไปแล้วหลังสิ้นปีงบประมาณ ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้ทางโรงพยาบาลบ้านตากก็ได้พยายามที่จะปรับระบบต่างๆภายในก็ดีขึ้นบ้าง เช่นการแก้ไขOPD cardหายทำกลุ่มไป 4-5 ครั้งดีขึ้นครั้งละ 0.01-0.02 % สิ่งที่เราจะนำมาช่วยปรับแก้ปัญหาเหล่านี้ก็คือการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ แต่ก็มองหาโปรแกรมกันอยู่หลายปี หลายโปรแกรมก็ยังไม่มีตามที่ต้องการและก็เป็นโปรแกรมที่ต้องเสียเงินและต้องเสียค่าดูแลระบบระยะยาวด้วย จนมาพบกับโปรแกรมปฏิบัติการHospital os ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทีมงานของคุณหมอก้องเกียรติ เกษเพชร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพฯภูเก็ต พัฒนาขึ้นโดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สกว.ได้พัฒนาโปรแรกมโดยใช้บนโปรแกรมลีนุกซ์และใช้ภาษาSQL ในลักษณะของOpen source code program ใช้ได้ในโรงพยาบาลขนาดเล็กไม่เกิน 100 เตียง พอได้ศึกษารายละเอียดในโปรแกรมร่วมกับคุณอภิชาติ หัวหน้าหน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาลบ้านตากแล้วก็พบว่าโปรแกรมสามารถตอบสนองงานบริการของโรงพยาบาลในลักษณะของระบบประมวลรายการหรือTransprocessing systemได้ ประกอบกับเป็นโปรแกรมฟรีที่ไม่เสียเงินและโรงพยาบาลบ้านตากเองก็มีระบบอินทราเน็ตมีฮาร์ดแวร์ใช้ในเกือบทุกจุดบริการอยู่แล้ว ในที่สุดก็ได้ตัดสินใจนำมาใช้ โดยกำหนดมีการเตรียมความพร้อมก่อนใช้ถึง 6 เดือน ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ฐานข้อมูล server ระบบปฏิบัติการ โดยคณะกรรมการสารสนเทศและเวชระเบียน มีคนสำคัญที่ทำให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างดีคือคุณอภิชาติ รอดแสวง มีการเตรียมข้อมูลในโปรแกรมเช่นรายการยา รายการรักษา ค่ารักษา หัตถการ กำหนดสิทธิต่างๆซึ่งเป็นการเซ็ตระบบอยู่ 3 เดือน ต่อมาก็เตรียมปัจจัยชี้ขาดอีกประการหนึ่งคือคนใช้งาน เราได้จัดห้องประชุมพร้อมคอมพิวเตอร์ที่จำลองสถานการณ์การปฏิบัติงานจริงไว้ 3 เดือนให้พนักงานของเราในจุดบริการต่างๆเข้าไปฝึกใช้ พอครบ 6 เดือน ผมก็ได้ทำการทดสอบโปรแกรมว่าสามารถตอบสนองได้มากน้อยแค่ไหนโดยการตั้งคำถามไปยังจุดบริการต่างๆรวมทั้งระบบการเก็บข้อมูล การประมวลผลให้ทางทีมงานได้ตอบ หากอันไหนตอบไม่ได้ต้องไปปรับแก้ก่อน เพราะคิดว่าถ้านำลงไปใช้จริงต้องเกิดปัญหาน้อยที่สุด จนเมื่อปี 2547 เราก็เริ่มใช้จริงในเดือนกุมภาพันธ์ โดยทีมงานมีการเตรียมการให้มีทีมที่ปรึกษาเรื่องการใช้โปรแกรม มีผู้ดูแลระบบ และผมเองที่ในเดือนแรกของการใช้งานจะไมไปไหนเลยเพราะเวลามีปัญหาที่อาจต้องปรับระบบบริการที่คาบเกี่ยวกับงานต่างๆต้องมีคนช่วยตัดสินใจเพราะพอนำคอมมาใช้อาจมีบางงานสบายขึ้นเช่นห้องยาไม่ต้องคีย์ใบสั่งยาเอง แต่บางงานอาจงานเยอะขึ้นเช่นแพทย์เพราะต้องคีย์ข้อมูลและใบสั่งยา หรือการควบเกี่ยวระหว่างห้องยา ห้องแลป ห้องตรวจแพทย์ ห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วย ก็ต้องมีการพูดคุยกันในทุกบ่ายก่อนเลิกงานว่ามีอะไรที่ต้องปรับแก้บ้าง เป็นลักษณะของการทบทวนหลังปฏิบัติ(After action review) เกือบทุกวัน ที่มีปัญหาน้อยคือจุดที่เป็นone stop service เช่นห้องฟัน ห้องนวด และERจะเป็นเฉพาะนอกเวลาราชการ ในช่วงที่จะตัดสินใจนำระบบคอมมาใช้ทีมงานบอกว่าจะใช้คู่ไปกับOPD card และใบสั่งยา ผมไม่เห็นด้วยเพราะแพทย์จะต้องทั้งเขียนและคีย์เป็นการทำงานซ้ำซ้อน แพทย์คงไม่ยอมแน่ แค่คิดก็มีปัญหาแล้ว สุดท้ายตกลงให้ใช้ใบสั่งยาก่อนส่วนOPD cardค้นมาดูประวัติอย่างเดียว จนผ่านไป 1 เดือน ระบบนิ่งแล้วก็ตัดสินใจยกเลิกการเขียนใบสั่งยาทั้งหมดใช้ในโปรแกรมเลย เหลือที่ออกใบเสร็จรับเงินเพราะการเงินยังกลัวจะเป็นปัญหา พอใช้ไปได้เกือบปีก็นำวิธีการออกใบเสร็จรับเงินโดยคอมพิวเตอร์มาใช้ จึงกลายเป็นระบบ E-hospital ได้ในส่วนของผู้ป่วยนอก ส่วนในส่วนของผู้ป่วยในยังคงใช้แฟ้มประวัติผู้ป่วยอยู่ในช่วงราวด์ผู้ป่วย เพราะโปรแกรมยังไม่รองรับแต่ก็มีการบันทึกการรักษาลงคอมฯทั้งหมด ก็หวังว่าในอนาคตเราจะใช้ได้ทั้งผู้ป่วยในและนอก รวมทั้งระบบแฟ้มครอบครัวด้วย

               จากการใช้มาเกือบ 2 ปีพบข้อดีหลายประการเช่นการสรุปปผลงานประจำปีได้เร็วสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการจัดทำแผนงานปีต่อไปได้ อัตราการคลาดเคลื่อนทางยาลดลง 10 เท่า ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยจาก 2 ชั่วโมงเหลือ 45 นาที ห้องบัตรโล่งขึ้น ไม่ต้องแออัดไปด้วยตู้เก็บบัตร ไม่ต้องคอยตามหาOPD cardที่หาย เพราะไม่ใช้ก็ไม่มีหาย แพทย์เองในช่วงแรกจะรู้สึกงานเยอะขึ้นแต่พอไปสัก4-5 เดือนก็รู้สึกสบายขึ้นเพราะไม่ต้องนั่งเขียนใบสั่งยาซ้ำซ้อนกับการเขียนในOPD card ยิ่งเป็นคนไข้เรื้อรังสามารถใช้การสั่งยาเดิมก็มาให้หมดชุดเลย จากที่เคยนั่งลอก 5-10 รายการก็คลิ๊กแค่ 2 ครั้ง แต่สิ่งที่ต้องเป็นห่วงคือต้องคงการพูดคุย มองหน้าสบตาผู้ป่วยไว้ด้วย ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นหมอมัวแต่เล่นคอมพิวเตอร์ไม่สนใจคนไข้ ที่เห็นได้ชัดอีกประการก็คือลดความแออัดที่หน้าห้องบัตร หน้าห้องตรวจเพราะผู้ป่วยจะตรวจที่ตึกไหนก็ไปตึกนั้นvisitกันที่จุดบริการได้เลย ไม่ต้องมารอค้นบัตร ทำให้ลดความแออัด หมอก็ไม่เครียด สำหรับข้อดีอื่นๆก็มีอีกหลายประการอาจต้องถามผู้ใช้คนอื่นๆด้วยครับ

            สิ่งที่ต้องระวังคือต้องกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล มีรหัสประจำตัว มีระบบตรวจสอบการแก้ไขข้อมูล มีระบบการรักษาความปลอดภัยสูญหายของข้อมูลที่ต้องมีการBack up ข้อมูลถึง 3 จุด ทุกวัน มีServer 2ชุด มีAdminที่พร้อมในการดูแลแก้ไขระบบตลอดเวลา ถ้าหากต้องการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเวชระเบียนก็สุ่มแล้วพิมพ์ออกมาได้ หรือสตง.จะตรวจใบสั่งยาก็พิมพ์ออกมาให้ตรวจได้  ตอนนี้มีการออกโปรแกรมเวอร์ชั่น 2และ 3 ซึ่งทางคุณอภิชาติเองก็กำลังเตรียมการเพื่อเปลี่ยนเวอร์ชั่นที่ครอบคลุมงานชุมชนและเวชปฏิบัติครอบครัวได้

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 5166เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2005 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ที่ร.พ.พบพระจนท.เบื่อหน่ายกับพฤติกรรมของหัวหน้าหมวดยานยนต์สามีเจ้าหน้าที่การเงินที่สร้างแต่ปัญหาเช่นอ้างชื่อร.พ.ขอบริจาคหลอกให้แพททย์เซ็นต์ชื่อในใบขอบริจาคตั้งกรรมการตรวจก็พวกเดียวกันเรื่องก็เงียบนี้ก็เล่นการพนันในที่ทำงานก็ได้แต่คาดโทษไว้เซนต์ชื่อทำงานแต่กลับไปนอนที่บ้าน11.00นลงพัก14.30ขึ้นทำงานอยากให้ช่วยส่งเสริมให้ไปทำงานที่สสจจะได้ไปวางแผนการพัฒนาให้กับพนักงานขับรถ
นายจีรศักดิ์-วิจิตร

เรียนคุณหมอ พิเชฐ บัญญัติ ผอ. รพ.บ้านตาก

ผมทำทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

อยากทราบข้อมูลเรื่อง โปรแกรม Hospital OS ว่าเริ่มการใช้โปรแกรมของโรงพยาบาลบ้านตาก มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกี่ยวกับโปรแกรมนี้ มีมูลค่าเท่ไรครับ ขอบคุณมากครับ ท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลพรหมพิรามให้ผมเรียนถามมาครับ โปรแกรมมีความสมบูรณ์ในด้าน out put ข้อข้อมูลรองรับกับความต้องการของโรงพยาบาลในระดับรพช.หรือไม่

สวัสดีครับ

คนที่รู้เรื่องนี้ดีที่สุดคือคุณอภิชาติ รอดแสวง อยู่ที่โรงพยาบาลบ้านตาก โทรศัทพท์ไปคุยกับคุณอภิชาติได้โดยตรงเลยครับ เบอร์โรงพยาบาลบ้านตาก 055-591435 ครับ

โปรแกรมนี้ฟรีครับ แต่เวลาลงโปรแกรมอาจต้องเชิญทีมงานของหมอก้องเกียรติมาช่วยก็อาจต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางบ้าง ส่วนเรื่องอื่นๆขึ้นกับโรงพยาบาลครับ ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยุ่แล้ว เดินระบบแลนอยู่แล้วก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากครับ

ยังไงโทรคุยกับคุณอภิชาติจะได้รายละเอียดครบทุกอย่างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท