จิ๊บ พัชรี
นักศึกษากิจกรรมบำบัด พัชรี รุ่งฉัตร

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (The End of Life Care)


การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (The End of Life Care)

  เมื่อวันพุธที่ 10 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสเข้าฟังการบรรยายเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จากอาจารย์รัชณีย์ ป้อมทอง ซึงทำให้ได้อีกแนวคิดหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย นอกเหนือจากแนวทางทางกิจกรรมบำบัด ดิฉันขอนำความรู้ที่ได้รับจากการฟังบรรยายมาแบ่งปันให้ทุกคนนะคะ

การดูแลช่วงเวลาใกล้เสียชีวิต (Caring near the end of Life)

          การดูแลช่วงเวลาใกล้เสียชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งการดูแลที่ดี คือการปรับเปลี่ยนทีท่าของการบำบัดจากการมุ่งเน้นการพยุงชีวิตให้ยืดยาวออกไป หรือการบำบัดกับตัวโรค ไปสู่การดูแลที่มุ่งหมายให้ถึงความมีศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ให้ความช่วยเหลือค้ำจุนผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงลดอาการข้างเคียงต่างๆที่เกิดจากการป่วยไข้

          บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลายมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วย และจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยได้รับรู้สิทธิในการเลือกวิธีหรือชนิดของการบำบัด หากมีการให้การตัดสินใจไว้ล่วงหน้า ให้ถามถึงการที่ยังยืนยันในความเห็นเดิมหรือต้องกรเปลี่ยนแปลง ท้ายสุดคือการนำเอาข้อความการตัดสินใจล่วงหน้าแจ้งให้ทีมแพทย์และสหวิชาชีพทราบ และนำมาปฏิบัติหาดไม่มีการเปลี่ยนแปลง

แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

1. ด้านร่างกาย ให้ดูแลตามอาการ

2. ด้านจิตใจ ให้การช่วยเหลือ

  • การพูดคุย เป็นผู้รับฟังที่ดี ให้ได้ระบายอารมณ์ ความรู้สึก
  • เอาใจใส่ดูแล การสัมผัส จับมือ
  • ให้ข้อมูลจริงเป็นระยะ

3. ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม

  • เปิดโอกาสให้ผู้ที่ผู้ป่วยผูกผันมีส่วนร่วมในการดูแลให้มากที่สุด
  • ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีอิสระในการดูแลตนเอง
  • จัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นระเบียบ สะอาด เงียบสงบ

4. ด้านจิตวิญญาณ

  • ส่งเสริมการเรียนรู้ความหมายของความตาย ช่วยให้ยอมรับความตายที่ใกล้เข้ามา
  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยระลึกถึงความดีที่ได้กระทำมาแล้ว และจดจ่อต่อสิ่งที่ดีงาม
  • ช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาในใจ และปล่อยวางสิ่งต่างๆ
  • อำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมตามความเชื่อ
  • ช่วยให้ได้กล่าวคำอำลา

หลักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

  1. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีอิสระในการจัดการดูแลตนเอง
  2. แสดงการเห็นคุณค่าของผู้ป่วย
  3. การประคับประคองด้านจิตใจ
  4. ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมาน
  5. จัดสิ่งแวดล้อมให้ตายอย่างสงบ
  6. รักษาสมดุลของการสื่อสารระหว่างญาติและผู้ป่วย
  7. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมตามศักยภาพที่มี
  8. คำนึงถึงความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม ศาสนา ของผู้ป่วย

      การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทีมสุขภาพต้องมีความรู้ความเข้าใจ สามารถประเมินปัญหาและความต้องการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์และจิตวิญญาณของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างครอบคลุม จัดการสนองตอบความต้องการอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม ศาสนา สังคมของผู้ป่วย ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงควรเป็นการทำงานร่วมกันของทีมสุขภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด.


หมายเลขบันทึก: 516295เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2013 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2014 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เคยอบรม การให้ความช่วยเหลือและกำลังใจสำหรับผู้ป่วยเหมือนกัน อันนี้ได้ทั้งผู้ให้และผู้รับค่ะ

เป็นกำลังใจให้สำหรับงานที่เสียสละนะคะ

อินทรลิลาตฉันท์ ๑๑

....เฝ้าไข้ ผละซึ่งสุข..............ระทมทุกข์ กระนั้นฤๅ
จริงแท้ กุศลคือ.....................ตระหนักซึ้ง สงบใจ

....เห็นธรรม ประจักษ์แจ้ง......อนิจแฝง แสดงไว้
ตัวตน สิของใคร.....................ฤ สั่งได้ สหายเมิล

เมิล ก. ดู. (ข.).
เมิน ก. เบือนหน้าหนี, ไม่ยอมดู, ไม่ยอมแล.


พินัยกรรม ชีวิต (Living Will) (ร่ายสุภาพ)

....พินัยกรรม ชีวิต...............คือสิทธิ์ อันชอบธรรม
ชี้นำ ความประสงค์.............เจาะจง ยามเจ็บหนัก
ผู้อื่นจัก รักษา...................ดูแลข้าฯ อย่างไร !
ใช่ปล่อย รอวันดับ..............หลับไร้ จิตวิญญาณ
พันธนาการ รุงรัง................ยังชีพ ด้วยเครื่องมือ
เพียงเพื่อยื้อ เวลา..............เช่นฆ่า ความเป็น"คน"
จึ่งเตรียมตน พรักพร้อม.......กายจิตสงบ นอบน้อม
ตระหนักแจ้ง "ธรรมดา"


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท