ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

รายงานการวิเคราะห์องค์กรการบริหารกิจการพระพุทธศาสนา


การศึกษาวิเคราะห์สภาพของวัดกลาง (เก่า)  สุราษฎร์ธานี

โดยวิธี SWOT ANLYSIS

โดย พระครูอดุลสีลานุวัตร เลขที่ ๒๑ สาขาบริหารกิจการพระพุทธศาสนา

๑. ประวัติวัดกลาง (เก่า) โดยสังเขป

  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่  ๓  ไร่  ๑  งาน  ๕๖  ตารางวา  โฉนดที่ดิน  เลขที่ ๑๗๕๔  มี่ที่ธรณีสงฆ์  จำนวน  ๑  แปลง  เนื้อที่  ๑  ไร่  ๑  งาน  ๗  ตารางวา  โฉนดที่ดิน  เลขที่  ๖๔๒๙๐  อาณาเขตของวัดดังนี้คือ

  ทิศเหนือจดที่ดินเอกชน 

  ทิศใต้จดถนนสาธารณะ

  ทิศตะวันออกจดที่ดินเอกชน   

  ทิศตะวันตกจดถนนสาธารณะ 

  วัดกลาง  ตั้งเมื่อวันที่  ๑๐  เมษายน  พ.ศ. ๒๓๒๐  ไม่ปรากฏนามผู้สร้างและผู้บริจาคที่ดิน   ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘  วัดกลางแห่งนี้สันนิฐานว่าน่าจะสร้างก่อน  พ.ศ.๒๓๒๐  เนื่องจากการสร้างวัดต้องพัฒนาการมาจากสำนักสงฆ์มาก่อน  แล้วยกขึ้นเป็นวัดให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่ถูกต้อง  วัดกลางเป็นวัดสร้างขึ้นโดยชุมชนและพระสงฆ์ช่วยกันสร้างใกล้ริมแม่น้ำตาปี  ซึ่งท่าน้ำแห่งนี้เป็นสถานที่ค้าขายสิ้นค้าของประชาชนด้วยกัน  จึงสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่สถานที่ทำบุญ  เป็นที่พึ่งทางใจ  เป็นศูนย์กลางของชุมชน   วัดกลางมีบทบาทอันสำคัญในการเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพระพุทธศาสนา  ซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาในแต่ช่วงระยะของเจ้าอาวาส  จากหลักฐานอันสำคัญพิเศษของวัดกลาง   คือ  จากหนังสือ  “เรื่องเที่ยวที่ต่างๆ”   ภาค ๑ – ๕  ได้บันทึกไว้ว่า  เมื่อวันที่  ๘  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๓๒  (ร.ศ.๑๐๘)   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๕   ได้เสด็จประพาสหัวเมืองภาคใต้  ได้เสด็จมาประทับแรมที่พลับพลาบ้านดอน   หัวเมืองไชยา   จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน  พระองค์ได้เสด็จมาวัดกลาง  โดยมีพระครูสุวรรณรังษี  คอยรับเสด็จ  พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราช ทานเงินแก่พระครูสุวรรณรังสี  เป็นเงิน  ๔๐  บาท   เพื่อปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดกลาง  ดังปรากฏตามสำเนาเรื่องเที่ยวที่ต่างๆ   และจากหลักฐาน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๐ น่า ๗๑๙  วันที่  ๑๗ มกราคม  ร.ศ. ๑๒๒  แจ้งความกระทรวงธรรมการ  พแนกสังฆการีว่า  ด้วยพระวินัยธรรมช่วย  เจ้าอธิการวัดกลางแขวงเมืองไชยา   ได้จักการปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดกลาง  แขวงเมืองไชยา  ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรด   พระราชทานเงินให้แก่พระครูสุวรรณรังสี   เจ้าคณะเมืองกาญจนดิฐ  (ซึ่งยก ขึ้นเปนแขวงขึ้นเมืองไชยาเดียวนี้)  เมื่อปีฉลูเอกศกจุลศักราช ๑๒๕๑  เปนเงิน ๔๐ บาท  เพื่อ  ปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดกลางนั้น  พระครูสุวรรณรังสี   ก็หาสำเร็จไม่   พระวินัยธรรมช่วยได้รับการจัดการต่อไป  และพระวินัยธรรมช่วยได้คิดเรียรายสับปุรุษ  ทายก  จ้างช่างทำเปลี่ยนเครื่องบนเสา  กระเบื้องใส่  ช่อฟ้า ใบระกา  ถือปูนใหม่ และได้ขยายด้านยาวออกอีก ๒ วา  กว้าง คงเดิม เปน ยาว ๗ วา  ๒ ศอก  กว้าง ๔ วา  ๒  ศอก   พระสงฆ์ได้อาไศรย ทำสังฆกรรมได้แล้ว  และพระวินัยธรรมช่วย ได้สร้างกุฏิขึ้นอีก  ๒  หลังในวัดนั้นดัวย  และจากหลักฐานราชกิจจานุเบกษา  เล่ม ๑๙  น่า ๓๘๒  วันที่ ๔  สิงหาคม  รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เจ้าพนักงานส่งหีบศิลาน่าเพลิง ไปพระราชทานเพลิงศพ  คือศพพระครูสุวรรณรังษี  วัดกลาง   เมืองกาญจนดิฐ   พระราชทานเงิน ๑๐๐  เฟื้อง  ผ้าขาว ๒ พับ  จากหลักฐานดังกล่าวทำให้วัดกลางมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ต่อการเรียนรู้ของประชาชนทั่วไปและนิสิตนักศึกษาด้วย  กาลต่อมาได้มีผู้สร้างวัดขึ้นมาอีกวัดหนึ่งในเขตอำเภอเดียวกัน   ชื่อว่าวัดกลางใหม่  ชาวบ้านจึงมักเรียกวัดกลางนี้ว่าวัดกลางเก่า  การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

  ๑. พระสุธี  (ไม่ทราบ พ.ศ.)

  ๒. พระครูสุวรรณรังษี   (ไม่ทราบ พ.ศ.)

  ๓.  พระวินัยธรรมช่วย  (ไม่ทราบ พ.ศ.)

  ๔.  พระปลัดครัน  (ไม่ทราบ พ.ศ.)

  ๕.  พระมหายุติ  ธมฺมวิริโย (  - พ.ศ. ๒๕๐๖)

  ๖.  พระอธิการซ้อน  วลฺลโภ  (พ.ศ.  ๒๕๑๑ – ๒๕๑๗)

  ๗.  พระครูสังวราธิคุณ  (พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๕๕)

  ๘.  พระครูอดุลสีลานุวัตร  (พ.ศ. ๒๕๕๕ - )

  ในปีพ.ศ.  ๒๕๕๕  มีพระภิกษุ  ๒๕ รูป  สามเณร  ๓ รูป 

เสนาสนะภายในวัด  ปัจจุบันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  ๑. อุโบสถ ๑  หลัง  กว้าง  ๑๕.๒  เมตร  ยาว  ๒๗  เมตร   เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  ศิลปะรัตนโกสินทร์

  ๒. ศาลาการเปรียญ  กว้าง  ๑๘  เมตร  ยาว  ๒๙  เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๐๕  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย  ๒  ชั้น  ลักษณะทรงไทยประยุกต์ 

  ๓.  ศาลาอเนกประสงค์  กว้าง  ๑๐  เมตร  ยาว  ๓๐  เมตร  สร้างเมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๔๔  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทยประยุกต์

  ๔.  ศาลาหอฉัน  ๑  หลัง  กว้าง  ๑๐  เมตร  ยาว  ๒๕  เมตร  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  ๒  ชั้น  ลักษณะทรงไทยประยุกต์ 

  ๕.  กุฏิสงฆ์จำนวน  ๔  หลัง  เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้  ๑ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  ๓  หลัง  ลักษณะทรงไทยประยุกต์

  นอกจากนี้  มีมณฑปอดีตเจ้าอาวาส  ๑  หลัง  เรือนเก็บพัสดุ  ๑  หลัง  หอระฆัง  ๑  หลัง  ห้องน้ำ - ห้องส้วม  ๕  หลัง  รวมจำนวน ๒๒ ห้อง

  ปูชนียะวัตถุประจำวัด  มีพระประธานปางสมาธิประจำอุโบสถ  ขนาดหน้าตักกว้าง  ๖๑  นิ้ว  สูง  ๘๒  นิ้ว  และรูปหล่อของอดีตเจ้าอาวาส 

๒. วัตถุประสงค์

  ทั้งนี้เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน  และสภาวะคุกคามของวัดกลาง  มาปรับใช้ในการพัฒนาวัดกลาง  พร้อมทั้งเสนอแนวทางและวิธีการแก้ไขรวมไว้ด้วย  โดยได้แบ่งส่วนการวิเคราะห์และประเด็นวิเคราะห์ไว้  ดังนี้

๓. การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (Internal Factors)

  การวิเคราะห์องค์ประกอบภายในที่มีอิทธิพลต่อวัดกลาง มีผลต่อการพัฒนาวัดกลาง  ประกอบด้วย  การวิเคราะห์จุดแข็ง  และการวิเคราะห์จุดอ่อนของการพัฒนา  ซึ่งมีประเด็นหลักในการวิเคราะห์เป็นลำดับดังนี้

 ๔.  ด้านโครงสร้างและนโยบายของวัด

   ๑.  การจัดโครงสร้างของวัดกลาง โดยจัดโครงสร้างในการบริหารวัด  ซึ่งมีแผนพัฒนาของวัดที่ชัดเจน  มีขั้นตอนในการพัฒนาถาวรวัตถุมีการเรียงลำดับความสำคัญสิ่งใดควรพัฒนาก่อนสิ่งใดควรพัฒนาหลัง  การพัฒนาวัดดังกล่าว ซึ่งให้ประชาชนมีส่วนร่วม  โดยมีเจ้าอาวาสเป็นศูนย์กลางประสานงาน 

     ๒. การบริหารบุคคลภายในวัดกลางใช้หลักธรรมวินัยและเมตตาธรรมเป็นหลักในการบริหารบุคคลและจัดลำดับพระภิกษุให้ดูแลกิจกรรมภายในวัดตามความรู้  และความสามารถที่ตนถนัดโดยแบ่งหน้าที่ที่เจ้าอาวาสได้มอบหมายให้ทำ

   ๓.  พระภิกษุสามเณรภายในวัดกลางต้องเคารพตามลำดับพรรษาก่อนและหลัง มีจริยาที่เรียบร้อยอยู่ด้วยความรักสามัคคี มีส่วนร่วมในการการพัฒนาวัดด้วยกันกับเจ้าอาวาส

   ๔.  นโยบาย  วิสัยทัศน์  และวัตถุประสงค์วัดกลาง  เพื่อพัฒนาวัดกลางให้เป็นแหล่งแห่งการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีพระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไปได้มาศึกษา  จึงจัดให้มีการสอนนักธรรมทุกระดับชั้นในช่วงเข้าพรรษา มีการจัดอบรมนักธรรมก่อนสอบทุกระดับชั้นให้แก่พระภิกษุสามเณรในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี  นอกจากนี้ยังได้จัดฝึกอบรมสอนวิปัสสนากรรมฐานทุกเย็นในวันอาทิตย์อีกด้วย

   ๕.  ทางวัดกลางได้มีกฎระเบียบ  วิธี  กฎเกณฑ์  ที่กำหนดขึ้น  ในการรับกุลบุตรเข้ามาบรรพชาอุปสมบท  มีการคัดกรอง  ดังนี้

     ๑.  มีการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดทุกชนิด

    ๒.  ต้องมีผู้รับรองที่ชัดเจนเชื่อถือได้  พร้อมที่จะรับผิดชอบได้เมื่อมีปัญหา     .    ๓.  ต้องผ่านการตรวจสอบ  และได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองว่าไม่ต้องคดีอาญา 

     ๔. ต้องท่องจำคำขอบรรพชาอุปสมาบท

     ๕.  ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบของมหาเถรสมาคม

 ๕.  ผลผลิตและการบริการ

   ๑.  คุณภาพด้านความรู้ของพระภิกษุสามเณรที่สอบนักธรรม  ผลปรากฏว่า ระยะ๑๕ปี

มีการสอบผ่านได้ทุกชั้นปี  เพราะในช่วงเข้าพรรษาหลังจากทำวัตรเช้า – เย็น  จะให้ท่อง นวโกวาท  เป็นประจำทุกวัน จนออกพรรษา

   ๒.  ความเข้าใจในการปฏิบัติธรรม  ทำให้ประชาชนเข้าใจหลักการปฏิบัติธรรมธรรมทางพระพุทธศาสนามากขึ้นเป็นลำดับ

   ๓. ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติธรรม  จากการสอบถาม  การสัมภาษณ์  เป็นกลุ่มและรายบุคคล

   ๔.  การให้การบริการในการปฏิบัติธรรม  วัดมีความพร้อมด้านสถานที่พัก  อาหาร  และวิทยากร

    ๕.  ทางวัดได้เปิดให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  มาศึกษาเรื่องศิลปะ  ทางวัดได้อำนวยความสะดวกตามที่ต้องการ  พร้อมทั้งได้อบรมศีลธรรมพร้อมไปด้วย

 ๖.  บุคลากร 

   ๑.  ปริมาณและคุณภาพ ทางวัดมีทีมงานที่เป็น บัณฑิตสงฆ์  จาก ๒  มหาวิทยาลัยสงฆ์รวมถึงพระมหาเปรียญ พระวิปัสสนาจารย์และคณาจารย์ที่เป็นจิตอาสาจากสถาบันอุดมศึกษา  เป็นวิทยากรประจำ

   ๒.  ด้านคุณธรรม  จริยธรรม  บุคลาการของทางวัดจะต้องมีคุณธรรม  และจริยธรรม  บุคลากรของวัดกลาง  ต้องผดุงไว้ซึ่งจริยาที่งดงามตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด

   ๓.  การสรรหาบุคคล  ทางวัดมีแนวคิด  ดังนี้

   ๑.  บุคลากรที่เป็นฆราวาส  ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขโดยเด็ดขาด

   ๒.  บรรพชิต  จะต้องมีความสำรวม  และเคร่งครัดในพระธรรมวินัย

 ๗.  ด้านวัสดุอุปกรณ์  และสถานที่

   ๑.  ปริมาณและคุณภาพของสถานที่พัก  เครื่องอำนวยความสะดวก  วัดกลาง  มีอาคาร

สถานที่  สำหรับทำกิจกรรม  รวมถึงที่พัก  และมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

  ๒.  ด้านประสิทธิภาพของการในการใช้งานของสถานที่  ทางวัดเปิดโอกาสให้ผู้มาปฏิบัติธรรม  ตลอดจนนักเรียน นักศึกษา  ใช้อาคารสถานที่ของทางวัดอย่างเต็มรูปแบบ 

  ๓.  อาคารที่ใช้สำหรับงานบำเพ็ญกุศล  ทางวัดมีอุปกรณ์ใช้ใช้อย่างครบครัน  และทางวัดไม่ได้คิดค่าใช้บริการ  แล้วแต่ความศรัทธาผู้ที่มาใช้บริการจะถวาย

 ๘.  ด้านการเงิน

    ๑.  ความเพียงพอของปัจจัยการเงิน  ทางวัดสามารถจัดรายได้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมได้ด้วยตัวเอง  โดยทางวัดพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

    ๒.  ประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงิน  โดยทางวัดได้มีการแบ่งแยกอำนาจ หน้าที่ในการบริหารจัดการ  การใช้จ่ายเงินอย่างชัดเจน แต่ละหน่วยงานของวัดสามารถบริหารจัดการโดยไม่รออนุมัติ ทำให้การดำเนินงานของวัดมีความสะดวกรวดเร็ว

   ๓.  ความโปร่งใสในการดำเนินงาน  แต่ละหน่วยงานในวัดสามารถตรวจสอบการบริหารจัดการซึ่งกันและกันได้  โดยมีไวยาวัจกรเป็นประธาน

 ๙.  การบริหารการจัดการ

   ๑.  ประสิทธิภาพการบริหารการจัดการ 

   ๒.  ทางวัดบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล

   ๓.  ระบบการบริหาร  ใช้หลักพระธรรมวินัย  และพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์

   ๔.  ระบบติดตามและประเมินผล  จากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์  และการนิเทศ

   ๕.  การแบ่งงานและมอบหมายงาน  ถือหลักใช้คนให้ถูกกับงาน

๑๐.การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก (External Factors)

  คือองค์ประกอบภายนอกที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาวัดกลาง  ประกอบด้วย  การวิเคราะห์โอกาส  และการวิเคราะห์ภาวะคุกคามของการพัฒนา  มีประเด็นหลักคือ

  ๑๐.๑ สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม

    ๑  การศึกษาและรู้หนังสือของผู้ปฏิบัติ  ส่วนมากจบการศึกษาภาคบังคับ  และกำลังศึกษาอยู่

  ๒.  จำนวนและการเพิ่มของผู้ปฏิบัติธรรม  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

    ๓.  สภาพความเป็นอยู่  ตามลักษณะสภาพแวดล้อมของวัดกลาง  มีร้านค้าติดกำแพงวัด  ๒ ด้าน  ติดถนน  ๒  ด้าน  ด้านตะวันตกของวัดติดแม่น้ำตาปี   แต่มีร้านค้าบดบังทัศนียภาพของแม่น้ำ  มีคิวรถรับจ้างประจำทางออยู่ติดกำแพงวัด  ซึ่งสร้างมลภาวะเป็นอย่างมาก

   ๔.  โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค  และการคมนาคม  มีความสะดวกสามารถเดินทางได้ทั้งทางบก และทางน้ำ 

   ๕.  ขนบธรรมเนียม ความเชื่อ  และค่านิยมในการปฏิบัติธรรม  ชุมชนโดยรอบนับถือพระพุทธศาสนาร้อยละ  ๙๕  จึงเชื่อฟังการแนะนำและสั่งสอนของพระวิทยากร  ด้วยความเคารพเลื่อมใส 

  ๖.  การอนุรักษ์ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมของวัดกลาง  ด้วยเป็นวัดที่อยู่กลางชุมชน  ทางวัดมีการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ภายในวัด  ตลอดจนบำรุงรักษาเสนาสนะ  รวมถึงความสะอาดอยู่เสมอ

  ๑๐.๒  เทคโนโลยี 

    ๑. ด้านการสื่อสาร  และการขนส่ง  มีความสะดวกสบายเป็นอย่างยิ่ง  ไม่ว่าขนส่งทางบก  หรือทางน้ำ

    ๒.  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  ทางวัดใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้พระภิกษุ – สามเณร  ได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา

    ๓.  การถ่ายทอดการปฏิบัติ  ทางวัดกลางได้สนับสนุนบุคลากร  ให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ  และมีทุนการศึกษาให้แก่พระภิกษุ – สามเณร  ที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษา 

  ๑๐.๓  สภาพเศรษฐกิจ 

    ๑.  เศรษฐกิจของท้องถิ่น  ทำการประมง  และค้าขาย 

   ๒.  สภาพคล่องทางการเงิน  มีสภาพคล่องสูง 

๑๑.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  ๑.ทำให้วัดมีเนื้อที่เพิ่มขึ้น  สามารถจัดภูมิทัศน์ ทำให้วัดมีความสวยงาม สงบ เหมาะแก่การปฏิบัติและศึกษาธรรมยิ่งขึ้น

  ๒.ทำไม่มีเสียงรบกวนผู้ที่เข้ามาปฏิบัติธรรม  ลดมลภาวะ

   ๓. ทำให้สนองนโยบายของคณะสงฆ์  และฝ่ายบ้านเมือง  ลดปัญหาการทะเลาะวิวาทและอุบัติเหตุ

   ๔. ทำให้เยาวชนสนใจศึกษาธรรมมากขึ้น

  ๕. ทำให้วัดกลับมาเป็นศูนย์กลางของชุมชน ดึงคนเข้าสู่วัด

๑๒.  ข้อเสนอแนะ

  ๑.  ทางด้านสภาพแวดล้อม มีนโยบายย้ายร้านค้าที่ติดกำแพงอุโบสถด้านทิศตะวันตก  และบริเวณริมแม่น้ำตาปีเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์  และขยายพื้นที่วัด

     ๒.  รถยนต์มาจอดในวัด  การจอดมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีแล้ว  แต่ยังต้องปรับปรุงเรื่องติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้เพื่อไม่ให้รบกวนผู้ปฏิบัติธรรม

   ๓.  การนำศพเข้ามาบำเพ็ญกุศลที่วัด  ห้ามไม่ให้มีการดื่มสุรา  และเล่นการพนัน   

  ประมวลความว่าการวิเคราะห์วัดกลาง(เก่า) ด้วย จุดแข็ง  จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม  ทำให้เราได้มองเห็นจุดเด่น จุดด้อยขององค์กรและเห็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขปัญหาเพื่อผดุงไว้ซึ่งความมั่งคงและยื่นได้ ดังวัดกลาง(เก่า) ซึ่งเป็นวัดที่มีบทบาทสำคัญในอบรมสั่งสอนคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจด้วยหลักพระพุทธศาสนา

๑๓.  สรุปวิเคราะห์

  ๑๓.๑  จุดแข็ง (Strength) ของวัดกลาง (เก่า)

  ๑. ด้านบุคลากรของวัดกลาง  มีวิสัยทัศน์กว้างไกลโดยยึดการมีส่วนร่วมของประชาชน

  ๒. คัดสรรค์ผู้ที่เข้ามาบวชต้องไม่ติดยาเสพติดทุกชนิดผิดกฎหมายบ้านเมืองและถูกต้องตามพระธรรมวินัยทุกประการจึงบวชให้

  ๓. ด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์มีความพร้อมทุกด้านพร้อมที่ทำการสนับสนุนกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาได้ทุกเมื่อ

  ๔. ด้านสภาพที่ของวัดกลาง มีถนนสายหลักที่มีความสะดวกไปมาง่ายขนาบทั้งสองด้าน อีกทั้งยังติดกับแม่น้ำตาปีซึ่งสามารถใช้ติดต่อกันได้ทั่วถึงทั้งตำบลใกล้เคียง และอำเภอเกาะสมุย  อำเภอ เกาะพงัน

  ๕. ภายในวัดมีระบบไฟฟ้าอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมภายในวัด

  ๖. วัดอยู่ในละแวกการทำประมง  มีสะพานปลาเทียบเรือ ทำให้เจ้าของเรือให้การสนับสนุนอาหารในการทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

  ๗ .ประชาชนมีสภาพคล่องสูง ในการสนับสนุนกิจกรรมของวัด

  วิธีการพัฒนาจุดแข่งของวัดกลางจะต้องพัฒนากิจกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาดระยะและดึงศักยภาพของชุมชนใกล้วัดกลางให้เข้ามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น

  ๑๓.๒  จุดอ่อน (Weakness)  ของวัดกลาง(เก่า)

   ๑. ขาดแคลนพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาภายในวัด

   ๒. ประเพณีวันพระของวัดกลางทำในตอนเช้า ไม่มีการเทศนาในพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เพียงแต่พุทธศาสนิกชนสวดมนต์แปลฉบับสวนโมกข์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  ทำให้กิจกรรมในการฟังธรรมยังไม่มีในวันพระ

   ๓. จากการที่มีถนนขนาบทั้งสองด้านทำให้มีคิวรถโดยสารในพื้นที่ของวัด ทำให้มีเสียงดัง วัดไม่สามารถแก้ไขให้ถาวรได้ง่ายในอนาคต

  ๔. วัดอยู่ในละแวกพื้นที่ธุรกิจของจังหวัด ทำให้เกิดปัญหาการเช่าพื้นที่ของวัดในการประกอบการค้า เมื่อหมดสัญญาเช่าแล้วคู่สัญญาไม่ยอมรื้อถอนหรือออกจากพื้นที่ แต่ทางวัดก็พยายามจะพลิกวิกฤติที่กำลังประสบอยู่ให้เป็นโอกาส  โดยร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาสุราษฎร์ธานี ปรับพื้นที่เป็นแหล่งพักผ่อนของประชาชน

  ๕. ชุมชนรอบวัดส่วนมากประกอบอาชีพประมง เมื่อมีงานในวัดทำให้มีการดื่มสุราและเล่นการพนัน จึงทำให้ค่อนข้างจะขาดภาวการณ์แก้ไขถาวรนั้นน้อยมาก ด้วยว่าเป็นประเพณีนิยม

   ๖. วัดกลาง มีนโยบายด้านการศึกษาที่จะพัฒนาทั้งด้านพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและในระดับอื่นๆ โดยเน้นที่ตัวบุคคลที่จะมาเป็นวิทยากรเป็นหลัก เพราะวิทยากรนั้นมีการศึกษาความรู้ในภาวะค่อนข้างด้อยประสบการณ์ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์และทักษะในการบริหารการศึกษาจำเป็น  ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ค่อนข้างสูง จำเป็นต้องส่งเสริมบุคคลากรด้านการศึกษาให้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอยู่เป็นเนื่องนิตย์

๑๔.  วิธีการเสริมสร้างจุดอ่อน 

  จะต้องส่งเสริมพระภิกษุสามเณรภายในภายวัดให้เข้าอบรมนักเทศน์นักเผยแผ่  และทางวัดจะต้องปรับการทำกิจกรรมวันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำในตอนเช้าให้เป็นเที่ยงให้มีการเทศนาทุกๆ  วันพระ  ส่วนปัญหาการเช่าพื้นที่ของวัดกลาง ทางวัดจะต้องมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของสำนักพุทธศาสนาช่วยเข้ามาคลี่คลายปัญหาความขัดแย้ง  และปัญหาการดื่มสุราเล่นการพนันในวัด  วัดต้องประชาสัมพันธ์  ให้ทราบว่าการดื่มสุราเล่นการพนันในวัดจะผิดกฎหมายและชาวพุทธจะต้องสร้างจิตสำนึกในตัวเองด้วย  แต่อย่าใช้ความรุนแรงอย่างเด็ดขาด

   สำหรับพระที่มาเป็นวิทยากรในการสอนนักธรรม  และอบรมสอนวิชาวิปัสสนากรรม ฐานวัดต้องคัดสรรพระที่มีความรู้และทักษะในการถ่ายทอดเป็นอย่างดี  เพื่อให้พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้เรียนนักธรรมและวิปัสสนากรรมฐานเข้าใจสิ่งที่ถูกต้อง

๑๕.  โอกาสของวัดกลาง (เก่า)  (Opportunity)

  ๑.  มีพ่อค้าแม่ค้าประชาชนทั่วไปให้การสนับสนุนกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลัก

  ๒.  เทศบาลนครสุราษฏร์ธานีให้การสนับสนุนเป็นบางคราว

  ๓. คณะสงฆ์ของอำเมืองให้การสนับสนุนเป็นบางคราว

  ๔. วัดกลาง มีเส้นทางติดต่อกับหน่วยงานต่างๆและมีความสะดวกในการติดต่อ จึงทำให้หน่วยงานอื่นที่มีความพร้อมเข้ามาทำการขอใช้สถานที่เพื่อจัดกิจกรรม

  ๕. การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการปลูกฝังพื้นฐานของความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ สร้างจิตสำนึกให้เห็นถึงความสามัคคีว่ามีความสำคัญในการอยู่ร่วมกัน เป็นพื้นฐานไปสู่ความสงบสุขของประเทศชาติ

  ๖. วัดกลาง อยู่ใกล้ในเขตพื้นที่  สถาบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี  และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของสงฆ์  จึงมีการขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้  พร้อมทั้งทางวัดกลางได้ให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการศึกษาของพระสงฆ์สามเณร โดยให้ทุนการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา

  ๗. มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด  และวัดกลาง  เป็นวัดเดียวที่อยู่ในพื้นที่ของการจัดงาน ประเพณีชัดพระ  ทอดผ้าป่า  ในวันออกพรรษา

๑๖.  ภาวะคุกคาม (Threats)

๑.  คนบริโภควัตถุนิยมมากขึ้น ทำให้ไม่สนใจด้านจิตวิญญาณ

  ๒.  สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกระแสโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีที่ดึงดูดความสนใจออกจากการศึกษาสัมมาปฏิบัติให้เบี่ยงเบนไปจากพระพุทธศาสนา กลายเป็นทุนนิยมแบบสามาน

๓.  อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่เป็นปฏิปักษ์กับหลักพุทธศาสนามีมากขึ้น ทำให้คนไทยลงลืมวัฒนธรรมอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาอันเป็นรากเง้าของตนเอง

 เมื่อได้จุดอ่อนจุดแข็ง เป็นต้น เรียบร้อยแล้ว  ก็ให้นำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารวัด เพื่อต้องการกำจัดจุดอ่อน และป้องกันภาวะคุกคาม เสริมจุดแข็ง และ ใช้โอกาสให้เป็นการทำงานเชิงรุก

๑๗.   ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาวัดกลาง (เก่า)

   ๑๗.๑   ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร (พระ, สามเณร,อุบาสก,อุบาสิกา)

   นโยบาย

  ๑. ฝึกอบรม สอดส่องดูแลพระภิกษุสามเณรให้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎระเบียบของวัด กฎหมายราชอาณาจักร กฎมหาเถรสมาคมและระเบียบแบบแผนของคณะสงฆ์อย่างเคร่งครัด

   ๒. กำหนดให้พระภิกษุสามเณรภายในวัดปฏิบัติพระกัมมัฏฐานเป็นประจำตลอดปี

   ๓. ออกระเบียบปฏิบัติสำหรับพระภิกษุสามเณร เพื่อเป็นเครื่องมือของเจ้าอาวาสในการควบคุมและ ส่งเสริมการปฏิบัติสมณะกิจของพระภิกษุสามเณรภายในวัด

   ๔. กวดขัน ควบคุม สอดส่องและส่งเสริมศาสนบุคคลของวัด ให้ตระหนักในหน้าที่และมีโอกาสพัฒนาตนเอง

   ๕. ใช้หลักปัคคหวิธีและนิคคหวิธี ในการปกครองและลงโทษแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ผู้ประพฤติละเมิดพระธรรมวินัย กฎหมาย และระเบียบแบบแผนอันดีงามของวัด

  มาตรการ

   ๑. เร่งรัดให้มีการปรับปรุง โครงสร้างงานปกครองให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาวัด จำนวนพระภิกษุสามเณร ศาสนบุคคลและปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นโดยกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและภารกิจของแต่ละงานของวัดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

   ๒. ปรับปรุงแก้ไขและจัดทำระเบียบ ประกาศและคำสั่งต่างๆ ของวัด ให้สอดคล้องครบถ้วนทำให้การปกครองเพิ่มประสิทธิภาพ

   ๓. จัดทำแผนงานประจำ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาวัด เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับงานบริหารงานบุคคล งบประมาณ ตลอดจนรายรับ-รายจ่าย การรับบริจาคเงินบำรุงวัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค

   ๔. เร่งพัฒนาพระภิกษุสามเณรและศาสนบุคคลของวัด ให้มีความรู้หลักธรรมคำสอนและประพฤติปฏิบัติตนตามหลักพระธรรมวินัย เพื่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนทั่วไป

   ๕. เร่งรัดให้มีการวางแผนสอบสวนคุณสมบัติของกุลบุตร ผู้ใคร่จะเข้ามาบรรพชาอุปสมบทในวัดให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม เพื่อป้องกันการเสียหายอันอาจเกิดขึ้นเพราะกรณีดังกล่าว

  ๑๗.๒  ยุทธศาสตร์การพัฒนาศาสนสถาน (วัดวาอาราม , ภูมิทัศน์, สถานที่, บรรยากาศ)

    นโยบาย

  ๑. พัฒนาถาวรวัตถุเสนาสนะ  และอาคารประกอบให้มีเอกลักษณ์ทางศิลปะ  สถาปัตย กกรรมของชาติ ศิลปะสถาปัตยกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น  เน้นโครงสร้าง แข็งแรง  ทนทาน และประหยัด

  ๒. พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางชีวิตและชุมชนปัญญาธรรม   โดยการพัฒนาภูมิทัศน์ของวัดให้เหมาะสมสอดคล้องต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

  ๓.  พัฒนาเสนาสนะที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร  ให้เป็นสัปปายะและเพียงพอแก่ผู้อยู่อาศัยพร้อมทั้งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้มีมาตรฐาน และเหมาะสมแก่สมณสารูป

  ๔.  พัฒนาวัดให้มีความร่มรื่น สะอาด ปลอดอบายมุข เป็นธรรมสถาน คารวะสถานและปุญญสถานของชุมชน

  ๕.  พัฒนาวัดให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ส่งเสริม   อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมของชุมชนและ เป็นศูนย์การเผยแผ่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและของชาติ  ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนตอลดจนสถาบันศึกษาทั่วไป

   มาตรการ

   ๑.  เร่งรัดให้มีการทำแบบแปลน แผนผังวัด รูปลักษณะอาคาร กุฎีสังฆาวาส กำหนดเขตภายในวัดให้เป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตการศึกษาและเขตสาธารณะสงเคราะห์

   ๒.  เร่งรัดให้มีการวางแผนแม่บท เพื่อจัดทำระบบนิเวศน์และจัดภูมิทัศน์ภายในบริเวณวัดโดยคำนึงความเหมาะสม ประหยัดและเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน

   ๓.  เร่งรัดให้มีการบูรณะและก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ  อาทิศาลาบำเพ็ญกุศล   ศาลาการเปรียญ กุฎีสงฆ์ กุฎีรับรอง หอประชุม และอาคารอเนกประสงค์เท่าที่มีความจำเป็น   และเอื้อประโยชน์แก่สาธารณชน

   ๔. เร่งรัดให้มีการจัดที่ธรณีสงฆ์   และศาสนาสมบัติของวัด   ให้เป็นไปตามกฎหมายกฎมหาเถรสมาคม กฎกระทรวง ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งก็ได้

   ๕. จัดให้มีการดูแลรักษาส่งเสริมอันเป็นระเบียบเรียบร้อยอันดีงามภายในวัดและจัดบริการความสะดวกแก่พระภิกษุสามเณร  ส่วนราชการ  หน่วยงานเอกชน  ชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา

 

 

  ๑๗.๓ ยุทธศาสตร์การเผยแผ่

    นโยบาย

   ๑. วางแผนพัฒนาผลิตพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำสำนักให้มีความรู้ ความสามารถ ในการเทศนา ปาฐกกถาและบรรยายธรรม ให้เหมาะสมแก่วุฒิภาวะของผู้ฟัง

    ๒.ปลูกฝังทัศนคติพระภิกษุสามเณร   ให้เห็นความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาว่าเป็นมูลเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคงและแผ่ขยายไปยังประชาชนในที่ต่างๆ

    ๓. นำระบบของเทคโนโลยีมาช่วยผลิตสื่อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีความทันสมัยเหมาะสม เพียงพอ เน้นที่การมีประสิทธิภาพและการเข้าถึงโดยง่าย

    ๔. ยกระดับภาวะทางจิตของพุทธศาสนิกชน โดยการมีการฝึกอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานทั้งในวันธัมมัสสวนะและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

   มาตรการ

   ๑. จัดโครงการฝึกอบรมพระภิกษุสามเณรในวัดอยู่เป็นเนื่องนิตย์ ให้มีความเข้าใจหลักการเผยแผ่ การสื่อสาร การแนะนำและชี้แจงความสำคัญและความเป็นมาของวัดได้อย่างถูกต้องชัดเจน

  ๒. เน้นการทำสื่อเอกสาร  สิ่งพิมพ์  ข้อมูลการเผยแผ่ให้เพียงพอเหมาะสมเป็นปัจจุบันและขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน ประชาชน  ตลอดจนสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐและสถานีวิทยุของชุมชนต่างๆ

   ๓. เร่งรัดปรับปรุงบริบทภายในวัด  ให้เป็นเสมือนห้องสมุดกลางแจ้งเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักธรรมคำสอน   ให้สามารถนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

   ๔. ปรับบทบาทของวัดเพื่อตอบสนองต่อความมุ่งหวังของชุมชน  ในฐานะเป็นองค์กรนำด้านความสะอาด สงบ สว่าง

  ๕. เร่งรัดปรับปรุงแก้ไข ขจัดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของศาสนบุคคล  ปลูกฝังส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรเจริญด้วยศีล สมาธิ ปัญญา งอกงามด้วยการปฏิบัติ

   ๖. กำจัดและช่วยแก้ไขพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของพุทธศาสนิกชน   และส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนเจริญด้วย ทาน ศีล ภาวนา

สรุป

  ผลที่ได้จากการวิวเคราะห์ จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส และภาวะคุกคามของสภาพการณ์และบริบทของวัดกลาง (เก่า) ตำบลตลาด อำเภอเมือง ฯ  จังหวัดสุราษฏร์ธานี  ทำให้เรามองเห็นจุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส และภาวะคุกคามของวัดกลาง ทำให้ได้มองเห็นแนวทางในการพัฒนาเสริมจุดแข็ง ปรับปรุงจุดอ่อน แก้ไขปัญหาภาวะคุกคามและใช้โอกาสสนับสนุนพัฒนาวัดกลางทั้งบุคคลากร ภูมิทัศน์และบริบทอื่นๆ  ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทางท

หมายเลขบันทึก: 516284เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2013 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2013 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท