มหกรรมการจัดการความรู้สู่เมืองไทยแข็งแรง คนไทยแข็งแรง จ.ตาก


ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการความรู้ของหน่วยงานในสังกัด สสจ.ตากอย่างเป็นทางการ

                ในช่วง 20-22 กันยายน 2549 จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการความรู้ของหน่วยงานในสังกัด สสจ.ตาก อย่างเป็นทางการ ตามที่เราได้เตรียมงานกันไว้

                 เช้าตรู่วันที่ 20 กันยายน ผมได้รับโทรศัพท์หลายสายจากผู้ที่จะเข้าร่วมมหกรรมการจัดการความรู้ฯว่า ตกลงกิจกรรมยังจะจัดอยู่อีกไหม เพราะมีการทำรัฐประหารและประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ ผมเองก็ได้ตัดสินใจเดินหน้าต่อไปโดยขอให้ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมตามปกติเพราะเราเตรียมการไว้หมดแล้วและไม่ได้มีการชุมนุมทางการเมืองแต่อย่างใด ผมเองได้โทรเรียนปรึกษานพ.ปัจจุบัน เหมหงษา นายแพทย์ สสจ.ตาก ท่านเองก็ได้ยืนยันว่าให้จัดไปตามปกติ

                 ประมาณ 9 โมงเช้า เราก็มีผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจนครบทุกคนที่ได้เชิญไว้ ทั้งนี้กลุ่มวันที่ 20-21 กันยายนนั้นจะเป็นกลุ่มที่ทำเรื่องวัณโรคซึ่งถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับBorder Health และได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนโลกและศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ(TUC)

                 มีประเด็นที่จัดกลุ่มไว้ 11 กลุ่มหรือ 11KV โดยมีทีมวิทยากรทั้งหมดถึง 25 คน ในแต่ละกลุ่มมีวิทยากรกลุ่ม 2-3 คน โดยมีผมเป็นหวัหน้าทีมวิทยากร ทั้งนี้เราใช้เจ้าหน้าที่ในจังหวัดเป็นวิทยากรทั้งหมด มีวิทยากรหลักที่ได้เป็นวิทยากรให้หน่วยงานภายนอกมาแล้วในเรื่องการจัดการความรู้จากโรงพยาบาลบ้านตาก 10 คนและจากโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 5 คน ส่วนอีก 15 คน เป็นวิทยารกผู้ช่วยที่มีประสบการร์การเป็นFacilitatorในเรื่องการพัฒนาคุณภาพหรือเป็นวิทยากรกระบวนการกลุ่มเพื่อจะได้เรียนรู้และฝึกเป็นวิทยากรKMไปในคราวเดียวกันเลย มาจากทุกโรงพยาบาลทั้ง 8 แห่งและผู้ช่วยสสอ.จากทุก สสอ.ในเขตตาก

                 ก่อนที่จะเข้าทำกิจกรรมกลุ่ม ผมได้เชิญวิทยากรทุกคนมาทำBAR (Before Action Review)เพื่อสรhางความเข้าใจในความคาดหวังของการทำกิจกรรมกลุ่ม ข้อตกลงต่างๆร่วมกันตั้งแต่ 8.00-9.00 น. ทำให้มั่นใจได้ว่าทุกกลุ่มจะสามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปได้และสมาชิกในแต่ละกลุ่มจะทำเรื่องเดียวกันแต่อยู่คนละอำเภอ อีกทั้งสมาชิกในกลุ่มมีประมาณ 6-12คนต่อกลุ่ม

                  วิทยากรผู้ช่วยหลายคนมีความวิตกกังวล กลัวว่าจะทำไม่ได้ แต่ในส่วนวิทยากรหลักเคยทำกลุ่มแล้วก็จะไม่กังวลนัก ผมเองก็ได้บอกแก่วิทยากรทุกกลุ่มว่า อย่าไปกังวลถือว่าทำไปรู้ไป เรียนรู้ร่วมกันไป อย่าไปยึดติดกรอบหรือขั้นตอนของKM โดยผมเองก็ไม่ได้กำหนดขั้นตอนให้แต่ละกลุ่มโดยให้แต่ลบะกลุ่มไหลเลื่อนไปอย่างเป็นธรรมชาติ แต่ผมเองก็ได้ทำเอกสารเป็นคู่มือวิทยากรกลุ่มให้วิทยากรทุกคน 1 ชุด

                 ปรากฎว่าการแลกเปลี่ยนในแต่ละกลุ่มดำเนิไปได้อย่างดีมาก สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่เปิดใจที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดี

                 ตอนพักกลางวัน ผมได้เดินไปพูดคุยกับวิทยากรในแต่ละกลุ่ม พบว่าสมาชิกกลุ่มให้ความสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดีมาก หลายคนบอกว่า การจัดแบบนี้ดีจังเลย มีเวลาได้พูดคุยกันเต็มที่ ได้เรียนรุ๋เรื่องราวต่างๆของเพื่อนๆที่ทำงานด้วยกันในต่างอำเภอ ส่วนตัววิทยากรเองก็บอกว่า ได้สิ่งดีๆจากสสมาชิกกลุ่มอย่างมากมาย ซึ่งช่วงพักกลางวันนร่น่าจะถือเป็นDAR (During Action Review)ของทีมวิทยากรได้

                การแลกเปลี่ยนของแต่ละกลุ่มดำเนิไปจนประมาณ 16.30 น. จึงแยกย้ายกันกลับที่พักและนัดพบกันอีกในวันรุ่งขึ้น

                กิจกรรมมหกรรมการจัดการความรู้ฯครั้งนี้ จึงเป็นการจัดการความรู้แบบทุ้งจริงทั้งฝึกไปด้วยกัน ฝึกคุณกิจ ฝึกคุณอำนวย ฝึกคุณประสาน(งานพัฒน์ของ สสจ.ตาก)และฝึกคุณลิขิตด้วย 

หมายเลขบันทึก: 51615เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2006 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน
  • อยากดูภาพบรรยากาศของงานจังครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท