ย้อนรอยวิจัย : ติดใจ


ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ

ผู้เขียนยอมรับค่ะว่าทุกครั้งที่เขียนบันทึกเกี่ยวกับงานวิจัยจะรู้สึกมีความสุขเล็ก ๆ  แต่ผู้เขียนไม่ได้เก่งเรื่องงานวิจัยหรอกน๊ะค่ะ....

จากบันทึก ก่อนหน้านี้ ได้กล่าวถึง "แรงจูงใจ" ซึ่งเป็นที่มาของของงานวิจัยชิ้นแรก และได้มีีโอกาสเปิดโลก และมุมมองต่าง ๆ ของงานวิจัย จากการอ่านมาก ๆ เมื่อได้ผ่านงานชิ้นแรกก็พบว่ามันไม่ยากกว่าที่คิด (แต่เป็นเพราะเราคิดเอาเองต่างหากว่ามันยากส์)  และเกิด "ติดใจ" จึงอยากทำงานวิจัยอีกสักชิ้น......

ประกอบกับตัวเองซึ่งกลับจากอบรมโปรแกรมทางสถิต SPSS ทางศูนย์คอมพิวเตอร์จัดขึ้น จึงอยากจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จึงเป็นที่มาของ...

งานวิจัยชิ้นที่สอง ซึ่งเกิดจากการที่เรานั่งทำงานในจุดการรายงานผลทุก ๆ ครั้ง ถ้าหากผลการตรวจวิเคราะห์ผิดปรกติสอดคล้องกับการวินิจฉัยของแพทย์ เราก็รายงานผลการตรวจได้อย่างสบายใจ แต่สำหรับผู้ที่มารับบริการตรวจสุขภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีอายุค่อนข้างมาก และไม่่มีประวัติการตรวจสุขภาพ อีกทั้งยังพบความผิดปรกติได้บ่อย ๆ แม้จะอายุน้อยก็ตาม เป็นเหตุให้ทางห้อง Lab. ทำการตรวจวิเคราะห์ซ้ำอยู่เรื่อยเช่นกัน  บางครั้งแพทย์ก็ยังโทรมาให้ทำซ้ำก็มี เพราะผู้รับบริการทั้งไม่มีอาการและประวัติ จึงได้นำข้อมูลทั้งหมดภายใน 1 ปี มาลองวิเคราะห์และเขียนเป็นงานวิจัย และก็ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสงขลานครินทร์

โดยทั่วๆ  ไปการตรวจสุขภาพจะมีทั้งการตรวจร่างกายโดยแพทย์ การตรวจความสมบูรณ์ของเลือดโดยห้อง  Lab. Hemato การตรวจหาสารเคมีต่าง ๆ ของห้อง Lab. เคมี และการตรวจปัสสาวะ  แต่ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเฉพาะ่ผลการตรวจสุขภาพทางห้อง Lab เคมี เท่านั้นซึ่งมีการตรวจ Glucose คัดกรองเบาหวาน การตรวจไต มี BUN  และ Creatinine การตรวจไขมัน Cholesterol และ Triglyceride  การตรวจหาโรคเกาต์ โดยใช้ Uric acid  และการตรวจความผิดปรกติของตับ  โดยใช้ AST, ALT และ ALP

ผู้เขียนอยากให้มีการมองเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพ  เพราะอย่างน้อยอาจจะเป็นแนวทางป้องกันและรักษาโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ  โดยเฉพาะบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง จากประวัติทางพันธุกรรมเ็ป็นต้น อย่างน้อยอาจรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น 

แม้งานวิจัยของผู้เขียนเกิดขึ้นจากมุมมอง และความคิดเล็ก  ๆ น้อย ๆ  เท่านั้น โดยไม่ได้คิดที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ทำเพราะอยากทำ และ่งานวิจัยชิ้นนี้ก็ใช้เวลาและความพยายามพอสมควร อุปสรรคก็มีบ้าง เนื่องจากข้อมูลค่อนข้างมาก อีกทั้งตัวเองก็มีความรู้ทางสถิติเพียงเล็กน้อย แต่ก็สำเร็จไดทั้งจากการไต่ถาม และเรียนรู้.... อยากจะบอกว่า

"ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น"

อีกทั้งอาจเป็น "เคล็ดลับความสุข" ของผู้เขียนด้วยก็ได้ค่ะ นั่นคือ

"การที่เราได้ทำในสิ่งที่เราอยากทำ ดีกว่าเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ"  

เขียนเองชักงง เอาเป็นว่าจากงานชิ้นแรกก็ "ติดใจ" นั่นเองค่ะ 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 51576เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2006 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้าไปอ่านผลงานตีพิมพ์ชิ้นนี้แล้ว  ในตอนท้ายคุณศิริ เสนอแนะไว้ว่า น่าจะมีการศึกษาหาค่าอ้างอิงให้เป็นปัจจุบัน  ไม่ทราบว่าจะเป็นโครงการวิจัยชิ้นต่อไปของคุณศิริหรือเปล่า  ถ้าเป็นจริงหละก็ จะดีมากๆ เลยและยินดีช่วยเต็มที่

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ น่าทำมาก  ๆ ค่ะ เพราะค่าอ้างอิงที่ใช้ก็นานมาก ๆ ตอนนี้อะไร ๆ  ก็เปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งวิธีการ เครื่องมือ น้ำยา เป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท