โครงเอ๋ย...โครงงาน


การสอนโครงงาน



" โครงงาน"  กิจกรรมการสอนที่ให้นักเรียนได้รู้จักแสวงหาคำตอบจากข้อสงสัยด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์กิจกรรมหนึ่ง ซึ่งคุณครูทุกคนรู้จักกันดี




โครงงาน เป็นงานวิจัยเล็ก ๆ สำหรับนักเรียน ที่ฝึกให้นักเรียนได้รู้จักกระบวนการทำงานเป็นทีม  รู้จักการคิดวิเคราะห์  รู้จักการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ   รู้จักการสังเคราะห์ความรู้ ผ่านการ สำรวจ  ทดลอง ปฏิบัติจริง  แล้วจึงนำมาเผยแพร่ในรูปแบบของการรายงานเป็นเอกสาร และ วาจา




อาจจะมีเพื่อนครูบางคนสับสนกับการสอนโดยโครงงาน  ในส่วนที่เป็นการเขียนรายงานโครงงาน  ว่า จะต้องเขียนอย่างไร เพราะเห็นเป็นเล่ม และมี 5 บท เหมือนงานวิจัย




สำหรับประสบการสอนโครงงานของคุณมะเดื่อแล้ว  ถ้าเป็นการสอนในชั้นเรียน  นักเรียนทุกคนจัดทำโครงงาน  ( อาจจะเป็นกลุ่มหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคุณครูผู้สอน และศักยภาพของนักเรียน )  จะใช้วิธีให้นักเรียน  จัดทำโครงร่างโครงงาน  และจัดทำ ตารางสรุปผลการสำรวจ (สำหรับโครงงานสำรวจ) หรือ ตารางสรุปผลการทดลอง   ตารางสรุปผลการปฏิบัติจริง  สำหรับรูปภาพหรือ ข้อมูลการค้นคว้าต่าง ๆ ที่นักเรียนศึกษาค้นคว้ามานั้น ให้ใส่ไว้เป็น ภาคผนวก  



สำหรับการเขียนรายงานโครงงาน เต็มรูปแบบ  5  บทนั้น เหมาะสำหรับ ใช้ในการประกวดโครงงานเป็นส่วนใหญ่  หรือ หากนักเรียนของคุณครูมีความพร้อมในการเรียน ก็อาจจะฝึกให้นักเรียนเขียนรายงานโครงงาน  5 บทเต็มรูปแบบก็ได้




การสอนโดยโครงงาน จะจบด้วยการให้นักเรียนรายงานโครงงานทั้งเขียนรายงาน  และรายงานด้วยวาจา  ในการทำแผงโครงงานนั้น  หากเป็นในชั้นเรียนก็ใช้แผงโครงงานตามความเหมาะสมซึ่งอาจจะใช้วัสดุที่หาได้ง่าย หรือหากมีแผงโครงงานมาตรฐานอยู่แล้วก็ใช้ได้  และในการรายงาน อาจจัดแสดงผลงานประกอบ หากเป็นโครงงานที่มีการปฏิบัติหรือทดลอง




ในการรายงานด้วยวาจา  ต้องให้เวลานักเรียนเตรียมตัว และให้รายงานในเฉพาะส่วนที่สำคัญ ๆ  และเปิดโอกาสให้มีการซักถาม




สำรับการเตรียมนักเรียนในการส่งประกวดโครงงานนั้น  คุณครูต้องศึกษาเรื่องโครงงานให้เข้าใจเป็นเบื้องต้น....ว่า...โครงงานคืออะไร   เพราะจากประสบการณ์ที่คุณมะเดื่อเคยเป็นกรรมการตัดสินโครงงานมาบ้างแล้ว  พบว่า คุณครูที่ปรึกษาหลายท่านยังเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องของโครงงาน  ... หลายโครงงาน เป็นงานที่ทำซ้ำกับงานที่มีอยู่แล้ว  หรือเคยมีผู้ทำมาแล้ว จึงไม่ใช่โครงงาน...โครงงาน ต้องเป็นเรื่องใหม่  คิดใหม่  หรือ ต่อยอดจากที่มีผู้เคยทำแล้ว




การส่งโครงงานเข้าประกวด ต้องเป็นโครงงานที่นักเรียนทำจริง  รู้จริง ทั้งหมด  เพราะนักเรียนจะสามารถรายงาน และตอบข้อซักถามของคณะกรรมการได้อย่างเชื่อมั่น และถูกต้อง  ในการฝึกให้นักเรียนรายงาน   คุณครูต้องซ้อมการตอบคำถามให้นักเรียนด้วย โดยครูต้องซักถาม แล้วให้นักเรียนตอบ  การซ้อมแบบนี้จะช่วยให้นักเรียนเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น   เพราะถึงแม้ว่า โครงงานนั้น นักเรียนจะเป็นผู้ทำจริง  แต่หากในเวทีการประกวด นักเรียนอาจจะประหม่า ตื่นเต้น  จนทำให้พูดผิดพูดถูก  หรือตอบคำถามของกรรมการไม่ได้ทั้ง ๆ ที่รู้คำตอบดี




อย่างไรก็ตาม  การสอนโครงงานในห้องเรียน ก็ยังเป็นกิจกรรมการสอนที่ครูต้องเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้  ฝึกให้นักเรียนได้ทำโครงงานอย่าสม่ำเสมอ   มิใช่ ให้จัดทำ เฉพาะยามที่  สมศ.จะเข้าประเมิน   เพราะ การสอนแบบโครงงาน  คือการพัฒนานักเรียนให้ได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ




การสอนโครงงาน  ต้องเริ่มตั้งแต่ระดับปฐมวัย  และพัฒนาให้สูงขึ้น มิใช่เริ่มที่ ประถมปลาย  ซึ่งจะไม่ได้ผลเท่าที่นักเรียนควรจะได้




มาสอนโครงงานให้นักเรียน " คิดเป็น  ทำเป็น  แก้ปัญหาเป็น "  กันเถอะ




หมายเลขบันทึก: 515259เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2013 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

  • อย่าไปติดกับรูปแบบหรือรางวัลอะไรมากมายนักนะครับ ไม่งั้นโครงงานจะแข็งทื่อขาดความริเริ่มสร้างสรรค์ ประโยชน์หรือสาระแท้จริงที่ควรเกิดกับเด็กๆจะด้อยค่าลงไปด้วย..
  • ขอบคุณข้อคิดดีๆสำหรับเพื่อนครูสำหรับการเรียนรู้ด้วยโครงงาน

สวัสดีจ้ะอาจารย์ธนิตย์ Ico48 ถูกต้องจ้ะ  การสอนแบบโครงงาน ควรให้เด็กได้คิดเอง ทำเอง อย่างสร้างสรรค์ โดยมีครูเป็นที่ปรึกษา  ขอบคุณจ้ะ

ไม่ค่อยจะมีความรู้ เกี่ยวกับการเรียนการสอนของเด็กสมัยนี้เท่าไรเลยค่ะคุณมะเดื่อ

ขอบคุณจริงๆ ที่ทำให้ได้เรียนรู้ไปด้วย

สวัสดีจ้ะคุณระพี Ico48 คุณมะเดื่อเป็นครูยุคเก่า ( แก่ ) แต่มาสอนเด็กยุคใหม่ ก็ต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนให้ทันกับเหตุการณ์น่ะจัะ  จริง ๆ แล้ว  บางเรื่องบางอย่างก็หืดขึ้นคอเหมือนกัน เพราะวัน  วัย เวลา  มันทิ้งช่วงห่างกันมากมาย  ขอบคุณจ้ะ

๑. โดนใจ

๒. โครงงานช้า แต่ชัวร์

๓. ๕ บทก็ได้  ไม่แยกบทไม่เป็นไร

๔. โครงงานเริ่มต้นที่อนุบาลได้จริงๆ

๕. ครูไทยรู้แต่ไม่ทำ  ไม่รู้ ก็ไม่ศึกษา เจ็บปวดมาก


หวัดดียามเพลท่าน ผอ.Ico48 ครูไทยรู้ทุกเรื่องแหละจ้ะ แต่การนำไปใช้ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อาจจะมีปัญหา  เท่าที่คุณมะเดื่อพบมา (โดยเฉพาะการสอนโครงงาน ) คุณครูหลายท่านไม่ทราบว่าจะนำพาเด็กให้ไปถึงโครงงานได้อย่างไร  นั่นแหละจ้ะ ขอบคุณจ้ะ 

กด like ไปได้ไกลกว่า ครูอ้อยอีกค่ะ

.... ช้าๆ แต่Sure .... ไม่มั่วนิ่ม ..... ดีกว่า...นะคะ



                           


             ขอบคุณบทความดีดี


สวัสดีจ้ะคุณครูอ้อย Ico48 ขอบคุณที่มาให้กำลังใจจ้ะ  แต่...เด็ก ๆ ของคุณมะเดื่อยังไปได้ไม่ถึงไหนหรอกจ้ะ  คุณมะเดื่อเองก็ยังขาดประสบการณ์อีกมาก  ก็ได้แต่คลำ ๆ ทางไปเท่าที่คุณครูอ้อยเห็นนี่แหละจ้ะ  ขอบคุณอีกครั้งจ้ะ

หวัดดีพี่หมอเปิ้น Ico48 ก็ต้องไปช้า ๆ แหละจ้ะ  ตามประสาคนแก่  อิ อิ  ขอบคุณจ้าาาา

แวะมาให้กำลังใจนะคะ 

ขอให้สำเร็จๆๆๆ นะคะ

ขอบคุณมาก ๆๆๆๆๆๆๆ  จ้ะ คุณ Bright Lily  

  • สวัสดีครับ
  • ดูน้องๆ มีความสุขจังเลยครับ
  • นอนกลิ้ง อิสระทางการเรียนรู้ ชอบบรรยากาศแบบนี้จังครับ
  • ขอบคุณครับผม คุณมะเดื่อ ที่เคารพ

สวัสดีจ้ะอาจารย์  เด็ก ๆ ชอบที่จะมีอิสระทางการเรียนรู้จ้ะ  เป็นธรรมชาติของเด็ก ๆ  ขอบคุณที่มาทักทายจ้ะ   หายไปนานเลย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท