สกัด 1 : วิธีการเสนอตัว (ข้อผิดพลาด)


คำตอบที่ต้องค้นหาในการทำงานครั้งนี้ก็คือ "ปัจจัยและวิธีการเสริมสร้างการจัดการความรู้เพื่อสร้างความสุขมวลรวม (GDH) ของเบญจภาคีในการพัฒนาชุมชนครั้งนี้คืออะไร)

การได้รับข่าวดีจากการถูกรับเลือกในครั้งนี้ ก็สามารถทำให้ทราบถึงข้อผิดพลาดและเทคนิคจากวิธีการเสนอตัวได้อยู่ไม่น้อยครับ

เรียนรู้ข้อผิดพลาด

ผมเคยไปพูดคุยถึงแนวความคิดในการทำงานครั้งนี้และเสนอตัวที่จะช่วยงานในลักษณะนี้อย่างไม่เป็นทางการมาสองครั้งครับ

ครั้งแรกถูกปฏิเสธแบบแทบต่อไม่ติดเลยครับ

ครั้งนั้นผมไปทดลองนำเสนอแนวคิดกับ "ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง" หรือผู้ปฏิบัติงานหน้างานครับ ในการจัดการความรู้และทำ R2R เหตุผลสำคัญที่ถูกปฏิเสธครั้งนั้นก็คือ

  1. กลัวการวิจัย  เพราะคำว่าวิจัยในความคิดของคนส่วนใหญ่นั้น "น่ากลัว" มากครับ คำตอบที่ได้ตามมาก็คือ จัดเวทีแบบเดิม (การอบรม) ดีอยู่แล้วครับ งานเดิมก็เยอะอยู่แล้ว ซึ่งผมได้สกัดและเขียนออกมาในบันทึก R2S : Research to Study
  2. เรื่องงานไม่ควรคุยอย่างไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะการคุยกับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ครั้งนั้นเราไปคุยกันที่ร้านอาหารครับ เป็นการคุยกันในระหว่างทานข้าว ทานไปคุยไป ก็คือ พยายามจัดเวทีแบบสบาย ๆ ครับ แต่ครั้งนั้นก็เลยทราบอย่างถ่องแท้เลยว่า ถ้าคุยเรื่องงานกับข้าราชการ "ต้องเป็นงานเป็นการ" ถ้าเป็นเรื่องอื่นคุยได้ครับ แต่เรื่องงานต้องคุยที่ทำงาน "ต้องมีหนังสือ"  มีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ อย่างครบครัน พร้อมเพรียง เพราะแวบแรกจาการสังเกตในขณะนั้น เขาจะคิดโดยทันทีเลยว่า "จะต้องมีงานเพิ่มขึ้น" ดังนั้นจะต้องคุยอย่างเป็นงานเป็นการ บอกรายละเอียดให้หมด ห้ามปล่อยให้คิดนานครับ เพราะยิ่งคิดนาน จะทำให้เขาคิดว่า "มีภาระงานเพิ่มมากขึ้น" จริง ๆ

บันทึกมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ ถ้าท่านใดมีเทคนิค วิธีการ หรือข้อเสนออื่น ๆ ขออนุญาตบอกกล่าวได้เลยครับ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อที่ผมจะได้นำไปปรับปรุงและแก้ไขวิธีการดำเนินงานต่าง ๆ ให้ดีมากยิ่งขึ้นครับ

หมายเลขบันทึก: 51517เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2006 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท