HomeC-IPD program ต่อยอดคุณปัญหา


มีหลายคนมาทวงความก้าวหน้าด้านนี้ บอกตามตรงครับว่ามันก้าวจนใกล้ถึงทางตันแล้ว เพราะปัญหาเดิมมันแก้ไม่ได้ต้องรอจนกว่าหลายอย่างจะสมบูรณ์

วันนี้มีเวลามาต่อด้วย HomeC-IPD program ครับ 

            มีหลายคนมาทวงความก้าวหน้าด้านนี้
บอกตามตรงครับว่ามันก้าวจนใกล้ถึงทางตันแล้ว เพราะปัญหาเดิมมันแก้ไม่ได้ต้องรอจนกว่าหลายอย่างจะสมบูรณ์ กล่าวคือ แก้ปัญหาเดิมได้ก่อนเพราะปัญหาเดิมไม่สำเร็จก็จะต่อยอดพัฒนาเป็นคุณปัญหารุ่นใหม่ต่อมาเรื่อยๆ 
 

ซึ่งที่ผมกำลังนำเสนอนี่เป็นปัญหาคอมโบต่อเนื่องจริงๆ ครับ

โดยมีปัญหาเก่าที่เป็นคุณพ่อคุณแม่กำเนิดคุณปัญหารุ่นลูก(ใหม่) 

ปัญหา ยอดเงินค่ายาไม่ตรง

สาเหตุ เกิดจากใช้คนบันทึกค่ายาด้วยมือ ซึ่งจะบวกลบค่ายาเอง บางครั้งคิดในใจ บางครั้งจิ้มเครื่องคิดเลข ร่วมกับการไม่จ่ายเงินทีเดียว บางครั้งรวมกันเป็นเดือนจึงจ่าย ห้องยาก็ไม่รู้แล้วครับว่าไม่ตรงยอดไหนต้องนั่งไล่ทีละครั้งการเบิก (การเบิกแต่ละวันอาจเบิกได้หลายครั้ง)

ผลกระทบ
1.    เสียเวลาหายอดค่ายาที่ไม่ตรงครับ ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งนานตาม ปัญหานี้จะไม่พบในคนไข้นอกนักเพราะไม่ตรงปั๊บการเงินเจอปุ๊บก็หาเจอแล้วแก้ได้เลย
2.    จากข้อข้างต้นทำให้เสียคนคีย์ยา+เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ห้องยาในมีน้อยอยู่แล้วไปอีก 1 ชุด กล่าวคือ จากเดิม 2 เครื่อง 2 คนคีย์ จะเหลือคนคีย์ 1 คนรับทั้งคนไข้ใน+นอก
3.   
การเงินก็ทำอะไรไม่ได้ต้องพักคนไข้ที่มีปัญหาไว้ก่อน คนไข้ที่มาชำระเงินก็เกิดความไม่พอใจเพราะอุตส่าห์มาจ่ายเงินต้องมานั่งรอคิดเงินอีก ซึ่งต่อให้ห้องยาคิดตรงแล้ว การเงินก็ต้องนั่งคิดอีกรอบเพื่อความชัวร์ครับ

ผลชี้วัด
1.    ความพึงพอใจของผู้รับบริการ+ระยะเวลารอ(คิดเงิน) ที่ดิ่งลงเหว
2.    ความพึงพอใจของผู้ให้บริการ ถ้ามีผมว่าก็ดิ่งลงเช่นกัน
การแก้ไข
ตอนแรกคาดว่าระบบใหม่จะแก้ไขตรงนี้ได้ครับ เพราะระบบใหม่จะเป็นการพิมพ์ใบคำขอจากคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีการผิดแน่นอนแต่ก็พบว่าผมมองง่ายไปหน่อย กล่าวคือ  

คุณปัญหาต่อยอดรุ่นใหม่
ลูกปัญหาใบคำขอหาย

สาเหตุใบคำขอที่พิมพ์ออกมามีจำนวนมาก ทำให้การเก็บเอกสารลำบาก เทียบจำนวนเอกสารก่อน-หลังเก็บได้ดังนี้ครับ 

  ระบบเก่า-เขียนมือ ระบบใหม่-พิมพ์คอม
โอกาสเขียนผิดพลาด  มีโอกาสผิดพลาด ไม่มีการเขียนผิดให้เห็น
ปริมาณเอกสาร 7 คำขอ/1 แผ่น 1 คำขอ/ 1-5 แผ่น(เยอะกว่า 7-35 เท่า)
โอกาสเอกสารหาย น้อยเพราะมีจำนวนน้อยซึ่งจะเย็บแม็กติดกัน เคยเจอหายทั้งหมดที่เย็บแต่น้อยมากๆ มากขึ้นตามจำนวนเอกสารที่เพิ่มหลายเท่าตัว
เวลาที่ใช้แก้ไขปัญหา  10-30 นาที 10-30 นาที

 สังเกตนะครับว่า เอกสารที่มากทำให้เกิดข้อผิดพลาดใหม่ คือ การเก็บเอกสารมีโอกาสสูญหายได้ง่ายกว่า ทางห้องยาต้องมานั่งไล่อยู่ดีครับว่าหายไปแผ่นไหนเมื่อไหร่ โดยมีชั้นตอนดังนี้

v    เรียงลำดับวันที่พิมพ์/วันที่ขอ
v    แยกใบยาที่ปกติ/ต่อเนื่อง/กลับบ้านออกจากกัน
v    ยาต่อเนื่องต้องทำตารางยาแต่ละตัวที่วันไม่ตรงกันออกมา
v    ดูราคาค่ายาแต่ละวัน, แต่ละใบเทียบกับข้อมูลในเครื่องทีละรายการ
v    พบใบที่หายสั่งพิมพ์ใหม่ทีละใบซึ่งรวมๆ แล้วจะเสียเวลาพอๆ กันแถมคนที่ทำได้...ไม่อยากบอกว่าตอนนี้มีผมคนเดียวครับที่นั่งเช็ควิธีนี้ได้ เพราะยาต่อเนื่องนั้นแต่ละครั้งจะออกไม่เหมือนกันครับ เช่น วันแรกมี 3 ตัวแต่เป็นยาฉีดออกทุก 2 วัน ยาเม็ดออกทุก 3 วัน/ 7 วัน เราต้องนั่งมาเขียนตารางแล้วครับว่าใบยานี้จะออกวันที่เท่าไหร่บ้างจนกระทั้งหยุดยานี้ ซึ่งมันค่อนข้างทำให้คนไม่คุ้นกับโปรแกรมงงได้ง่ายๆ ครับ แล้วถ้ามีเรื่องอื่นแทรกซ้อน เช่น เคยจ่ายเงินมาก่อนแล้วบางส่วน, สิทธิ์เปลี่ยนแปลงยิ่งทำให้สับสนและเสียเวลามากขึ้นครับ

การแก้ไข
1.    ตึกต้องทำการเก็บเอกสารให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการหยิบ/หาไปใช้ชำระเงิน ซึ่งจากที่พบพี่อ้นต้องมัดปึกเอกสารเย็บเหมือนมัดข้อสอบเลยครับ กรณีที่คนไข้นอนนานๆ ซึ่งต้องทำให้ครบทุกท่าน/ทุกตึกครับ
2.    ทางห้องยากำลังหาทางทำรายงานเช็คใบหายให้ได้อยู่ครับ โดยเป็นใบสรุปว่ามีการสั่งใบคำขอกี่ใบกี่ครั้งในแต่ละวัน  แต่พบว่าใบยาต่อเนื่องที่เป็นปัญหาหลักก็ยังทำไม่ได้อยู่เพราะเป็นใบคำขอเดิมแต่ออกหลายครั้ง มิหนำซ้ำแต่ละครั้งจะออกมาไม่เหมือนกันด้วย เฮ้อ..
3.    รอครับ ใช้คำนี้เลยเพราะห้องยาในมีโครงการทำการจ่ายเงินให้สมบูรณ์โดยไม่ต้องใช้ใบคำขอนี้อยู่ พูดชัดๆ คือ ไม่ต้องใช้กระดาษ(Paperless) ทำให้การเงิน/ตึก/ห้องยาตรงกัน เป็นโครงการเล็กๆ ที่จะแก้ไขคุณปัญหาหลายครัวเรือนสำเร็จทีเดียวครับ ผมตั้งชื่อเล่นๆ ว่า โครงการเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงสถาบัน ว่าเข้าไปนั่น
4.    แต่โปรเจ็คดังกล่าวต้องรอการแก้ปัญหาอีกหลายเรื่องนะครับ คือ เรื่องสิทธิ์กับยอดเงินต้องชำระ, เรื่องสิทธิ์ที่ต้องชัดเจนของคนไข้และมีการบันทึกลงคอมพิวเตอร์ครบถ้วนถ้ามี+ใช้หลายสิทธิ์ต้องทำให้ชัดว่าช่วงใดใช้สิทธิ์ใด  

ปัญหา ยอดเงินที่ต้องชำระแต่ละสิทธิ์มีอะไรบ้าง 

สาเหตุ
เกิดจากใช้ฐานข้อมูลต่างกันครับ สั้นๆ แต่ตรงที่สุดแล้ว ถ้าถามต่อว่าทำไม ก็ต้องตอบว่ามันไม่มีความชัดเจนครับ เพราะทุกวันนี้ข้อมูลส่งต่อถึงกันไม่เรียบร้อย แต่ละคนมีความเห็นต่างกัน ไม่ยอมรับกัน มีข้อยกเว้นต่างๆ...ขอพูดแค่นี้ละกันครับ

ผลกระทบ
แน่นอนครับ ปั่นป่วนหมดทุกหน่วยงาน
1.    การเงิน/ตึก ไม่มั่นใจกับคำตอบที่ได้ บอกคนไข้ไม่ถูกว่าต้องชำระเงินเท่าไหร่กันแน่
2.    ห้องยา พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ขาดความเชื่อมั่นทั้งนอก/ในหน่วยงาน
3.    ห้องยาเสียเวลามานั่งถามกัน+นั่งเขียนยอดยาทีละอันว่าตัวไหนต้องชำระบ้าง 

การแก้ไข
1.    ผมทำการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันว่ายาใดสิทธิ์ใดใช้ได้ ส่วนที่มีปัญหาไม่ชัวร์ต้อง...ทำการรวบรวมแยกออกมาส่งต่อ
2.    ความชัดเจน ต้องให้คณะกรรมการยาชุดใหม่ชี้ชัดฟันธงครับ ว่าตกลงยานี้สิทธิ์นี้ใช้ได้หรือไม่ ซึ่งถ้าตรงนี้ไม่สำเร็จขั้นต่อไปก็ไม่ต้องพูดถึงครับ
3.    โปรเจ็คใหม่ปัญหานี้โดยเฉพาะ นั่นคือ โปรเจ็คโค้ดยาฉบับครบทุกสิทธิ์ โดยทางคลังยาน้องเอ้จะทำการบันทึกโค้ดใหม่แทนที่โค้ดเก่า โค้ดใหม่ที่เพิ่มมีดังนี้ครับ

v    30 บาทชำระเงินเอง
v    ประกันสังคมชำระเงินเอง
v    30/ประกันสังคมชำระเงินเอง
v    ส่วนต้นสังกัดเรียบร้อยแล้วครับเพราะค่อนข้างชัดเจน และส่วนที่ต้องจ่ายนี่ 30/ปกส.ต้องจ่ายเช่นกัน ถ้าเขียนแผนภาพก็จะได้เป็นวงกลมซ้อนทับกันดังภาพที่ผมจะพยายามเอามาลงให้ดูครับ 

ที่สำหรับภาพวงกลมที่จะลง    

คุณปัญหาต่อยอดรุ่นใหม่
คุณปัญหา ยอดเงินที่ต้องชำระแต่ละสิทธิ์มีอะไรบ้าง ภาค 2

สาเหตุ
คุณปัญหานี้ไม่ได้ถือกำเนิดใหม่ครับแต่ยังแก้ไม่สำเร็จเลยส่งต่อมาทั้งยังงั้นเลยเพียงแต่เปลี่ยนรูปร่างใหม่ แต่งตัวมาดใหม่

ผลกระทบ
เหมือนเดิมครับ คือ ห้องยาต้องมานั่งเขียนยอดยาในใบคำขอแบบใหม่ทุกใบแทน เพียงแต่ยอดเงินไม่ตรงในใบไม่มีครับ มีแต่ใบหายไม่ครบแทน

การแก้ไข
เช่นดียวกันครับ รอโปรเจ็คเด็ดดอกไม้สะเทือนสถาบัน สำเร็จครับตอนนี้ก็กัดฟันแก้วิธีเดิมไปพลางๆ 

ปัญหา

สาเหตุ

ผลกระทบ

การแก้ไข

ลูกคุณปัญหา  


 

ครับผมขอจบเรื่องคุณปัญหาแค่นี้ก่อนละกันครับเดี๋ยวจะต้องทำเรื่อง

1.    ผลการทดลองใช้ autoconfirm ดี/เสีย ยังไง มีปัญหาอย่างไรบ้างขั้นตอนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของโปรแกรมนี้แจกให้ทุกคนในหน่วยงานทราบ รวมทั้งรื่องการแก้ไขระยะยาวที่ผมเสนอไปบางส่วนแล้ว

2.    รวมทั้งข้อตกลงแต่ละตึกที่กำลังก้าวมาใช้ที่ต่างกันในแต่ละตึก คือ ตึก ห้องคลอดและหลังคลอด ปล. ถ้าเราไม่แก้ที่คุณพ่อคุณแม่ก่อน คุณลูกก็จะก่อนิสัยเสียๆ มาให้เราแก้เรื่อยๆ ครับ เข้าทำนองลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น (ผมว่าเรื่องคุณปัญหานะครับ)ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องมาแก้ปลายเหตุทำให้มีงานสุมหัวมาเรื่อยๆ ตัวอย่าง เช่น เด็กมันเกเรชอบเขวี้ยงจานเล่นแตกเสียหาย ชอบใจที่จานแตกเราก็พัฒนาจนได้
v    นวัตกรรมใหม่เป็นจานร่อนแสตนเลสที่เขวี้ยงแล้วกลับมาที่เดิม(เอาเข้าไป)
v    แต่เด็กมันก็หาทางอื่นได้ครับ เช่น เอาจานไปขว้างรังแกหมาที่เลี้ยง เพราะมันแข็งดีแถมกลับมาหาเราด้วยไม่ต้องแบกจานเยอะๆ เราจะแก้ยังไงต่อครับ คิดได้ละ
v    นวัตกรรมใหม่ชุดเกราะตัดสัญญาณจานร่อนให้เลี้ยวอัตโนมัติ ว่าแล้วก็ติดเกราะให้คุณหมาดีกว่า
v    ทีนี้เด็กมันไม่สะใจก็เลยหันเป้าไปปาคนอื่นเล่น เราเลยสร้าง
v    นวัตกรรม(เก่า) ติดกุญแจที่ตู้คว่ำจาน
v    เกิดคำถามในใจว่า เราไปตามแก้เช่นนี้เมื่อไหร่จะจบ...เหมือนกับปัญหาสังคมเรื่องเด็กอื่นๆ อาชญากรรม ทำร้ายร่างกาย ขโมย ข่มขืน จะบอกว่ามันเป็นที่สิ่งแวดล้อมไม่ดี ยั่วยุให้เด็กทำง่าย โบยไปยังสื่อต่างรอบตัวเด็กว่าเป็นต้นเหตุต้องควบคุม การคุมแบบนี้ผมว่ามันเหมือนกับที่ไปติดกุญแจที่ตู้คว่ำจานนั่นแหละครับ ถ้าเด็กมันพังตู้คว่ำจานต่อคุณจะทำอย่างไร จะสร้างนวัตกรรมใหม่ไปเรื่อยๆ หรือครับ เอ..มันเข้าปัญหาสังคมได้ยังไงเนี่ย จบดีกว่าครับ 

ปล.2 ผมว่าการสร้างนวัตกรรมนี่สนุกดีนะครับ คิดต่อเล่นๆ สมมติว่าเราไปแก้ปลายเหตุเรื่อยๆ
v    นวัตกรรมตู้คว่ำจานไร้เทียมทาน(กระจกกันกระสุน)
v    เด็กพัฒนาขโมยกุญแจ (นักล้วงเลเวล 1)
v    นวัตกรรมป้องกันขโมย พวงกุญแจติดสัญญาณ
v    เด็กพัฒนาใช้วิธีคว่ำตู้ซะเลย สะใจ ชามถ้วยแตกหมด เหลือแต่จานไม่แตก (นักทำลายเลเวล 1)
v    นวัตกรรมตู้คว่ำจานไร้เทียมทาน เลเวล 2 (ฐานโลหะตอกตะปูติดพื้น) คุ้มกว่าทำถ้วยชามสแตนเลสหมด
v    เด็กเริ่มลังเลใจว่าเป็นขโมยดีหรือนักทำลายดี เข้าช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อชีวิต......... 

รวมบันทึกนี้ผมใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่งแทบจะเป๊ะๆ ครับ

หมายเลขบันทึก: 51467เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2006 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณนะคะ เรื่องสำคัญต้องอ่าน2รอบเพื่อจะได้เข้าใจว่าเกี่ยวกับห้องบัตรอย่างไรบ้าง

เรื่องสิทธิ์ที่ต้องชัดเจนของคนไข้และมีการบันทึกลงคอมพิวเตอร์ครบถ้วนถ้ามี+ใช้หลายสิทธิ์ต้องทำให้ชัดว่าช่วงใดใช้สิทธิ์ใด  

อยากให้ช่วยอธิบายว่าห้องบัตรจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่ อยากช่วย(เท่าที่จะช่วยได้ค่ะ)

นัดคุยพร้อมกันก็ดีนะคะ เห็นด้วยกับปิ่ง (คุณพัชรา) เผื่อช่วยกันได้ (หวังว่าไม่ช่วยกันยุ่งนะคะ) และปัญหาที่พบที่ห้องบัตรก็เรื่องออกสิทธิ์นี่ด้วย

มากันดึกจังเลยนะครับ

พี่พัชรา

ห้องบัตรจะช่วยได้เยอะเลยครับ เพราะการลงสิทธิ์นี่ผมเคยคุยกับตึกพบว่า ต้องรอการตรวจสิทธิ์นานครับ

อย่างสิทธิ์ 30 บาทนี่บางทีกว่าจะได้ก็คนไข้จะออกแล้วครับถึงพึ่งรู้ว่าสิทธิ์ใช้ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนมาใช้สิทธิ์อื่น ที่พบบ่อยจะเป็นว่า ช่วงแรกใช้ 30 บาทได้แต่ วันหลังต้องจ่ายเงินเองครับ (เกินกำหนดวันที่สิทธิ์ให้แล้ว)

ถ้าห้องบัตรสามารถตรวจสิทธิ์ได้เร็ว บันทึกข้อมูลลงได้เรียบร้อย ข้อมูลดังกล่าวจะส่งมายังตึกและห้องยาซึ่งจะได้มาคำนวณค่ายาได้ล่วงหน้าครับว่า คนไข้ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

คุณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพ Anonymous

อยากไปฟังปัญหานี้เหมือนกันครับ ว่าที่ห้องบัตรมีปัญหาเรื่องตรวจสิทธิ์มากไหม ยังไง ทุกวันนี้โทรคุยกับการเงินและตึกให้ไปถามห้องบัตรอีกที ผมเลยทราบเรื่องสิทธิ์ไม่มากนัก

 

เรื่องการตรวจสอบสิทธิ์ ไม่น่าเป็นงานของห้องบัตร  น่าจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบสิทธิโดยตรง คือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ OPD   ผู้ที่ทำหน้าที่ต้องรู้รายละเอียด ข้อระเบียบต่างๆ ในการใช้สทธิของผู้ป่วย สามารถให้คำแนะนำต่างๆได้  เมื่อมีปัญหา ในการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง เพราะผู้ป่วยบางราย มีสิทธิมากกว่า 1

เพราะการออกรายงาน เรื่องสิทธิ เรื่องเงิน ที่ออกจาก HOMC ทำให้ปวดหัวเหมือนกัน ต้องนั่งไล่ตรวจเช็คว่าเกิดการผิดพลาดตรงไหน

คุณสิริกาญจน์

ชอบความเห็นคุณมากเลยครับ เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะ

  • การตรวจสอบสิทธิ์เป็นเรื่องที่ลงรายละเอียดเยอะ และจะได้ชี้ได้ชัดเจนว่าตกลงเขาใช้สิทธิ์ได้หรือไม่
  • แยกงานจากห้องบัตรจะลดปัญหางานที่เยอะอยู่แล้วด้วยครับ คนนึงทำหลายงานมันจะมั่วเอาได้ครับ
  • ที่ผมคิดไว้หากเป็นห้องประกันสังคมจะมีความเป็นไปได้ไหมครับเพราะเช็คสิทธิ์ประกันสังคมที่นั่น อาจมีหน่วย 30 บาทขึ้นมารวมกันอีกที

ท่านผอ. ครับ

อยากให้เชิญการเงินกับตึกมารับทราบด้วยกันด้วยได้ไหมครับ เพราะจะได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเยอะกว่าผมคนเดียวที่ไม่ค่อยแน่นเรื่องสิทธิ์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท