ลปรร. เรื่องการจัดการความรู้ ของกองทันตฯ (18) ... KM กลุ่มคุ้มครองฯ ลปรร. เรื่อง ปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมใน ปทท.


มีปัญหาในกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี เขายังไม่สามารถควบคุมการกลืนยาสีฟันในขณะที่เขาแปรงฟันได้ เขาอาจจะกลืนยาสีฟันเข้าไปโดยที่ไม่ตั้งใจประมาณร้อยละ 30

 

หมอหวี่ เล่าต่อในเรื่องการหาข้อสรุป  ปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมใน ปทท. นะคะ

มาสู่การประชุมครั้งที่ 1 นำประเด็น เรื่อง ปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ... เมื่อต้องมีการตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง อย.ก็เลยจัดการประชุม ครั้งที่ 1 เรื่อง ปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

มีการทบทวนกันในเรื่อง ข้อมูลยาสีฟัน 1,500 ppm ... ในตัวยาสีฟัน 1,500 ppm มีข้อดีคือ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุได้เพิ่มประมาณ 9% แต่จะมีปัญหาในกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี เขายังไม่สามารถควบคุมการกลืนยาสีฟันในขณะที่เขาแปรงฟันได้ เขาอาจจะกลืนยาสีฟันเข้าไปโดยที่ไม่ตั้งใจประมาณร้อยละ 30 ตรงนี้เป็นข้อมูลของทั้งโลก และงานคุ้มครองฯ ก็ได้ทำการทดลองในเด็กไทย พบว่าในเด็กไทยอายุประมาณ 3-5 ปี ก็กลืนประมาณร้อยละ 30 เหมือนกัน

ดังนั้น การเปลี่ยนมาใช้ยาสีฟัน 1,500 ppm เด็กต่ำกว่า 6 ปี มีโอกาสกลืนยาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์สูงเข้าไปในขณะที่แปรงฟันด้วย และประเทศไทยมีพื้นที่บางส่วนเป็นเขตที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำสูง เด็กอายุ 6 ปี ในเขตพื้นที่เหล่านี้ จะมีโอกาสได้รับฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำสูงอยู่แล้ว การใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ในปริมาณ 1,500 ppm จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงนี้ ดังนั้น ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1,500 ppm จึงไม่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ในประเทศไทย … ส่วนนี้เป็นข้อมูลที่สรุปจาก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่ประชุมด้านหนึ่ง

และมีการนำเสนอในอีกด้านหนึ่งว่า ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1,500 ppm สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ ได้ร้อยละ 9 แต่คิดว่า เราสามารถแก้ไขเรื่องพฤติกรรมการใช้ยาสีฟันได้ ด้วยการจัดการ โดยการให้ความรู้แก่ประชาชน ก็จะมีส่วนช่วยให้คนไทยเลือกใช้ยาสีฟันที่เหมาะสมกับตัวเองได้ และบริษัทสามารถผลิตยาสีฟันทั้งที่ไม่มีฟลูออไรด์ มีฟลูออไรด์ 1,100 และ 1,500 ppm ได้ ซึ่งผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม ถ้าได้รับข้อมูลอย่างชัดเจนแล้ว เขาก็จะเลือกได้เองว่า เขาจะเลือกใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ที่มีความเข้มข้นเท่าไร และประเทศอื่นๆ สามารถยอมรับยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1,500 ppm ได้ ไม่มีปัญหาอะไร และ ถ้าหากว่ามียาสีฟัน 1,500 เข้ามา ก็ควรมีการติดบนฉลากอย่างชัดเจนว่า การใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี อาจทำให้เกิดฟันตกกระ ถ้าใช้เกินขนาดเม็ดถั่วเขียว และเด็กกลืนยาสีฟัน

ในการประชุมครั้งนั้น สรุปว่า ในประเทศไทยเรามีทางเลือก 2 ทาง คือ

  1. ถ้ามีการให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1,500 ppm ก็จะต้องมีการดำเนินการ 2 อย่าง คือ ต้องเขียนบนฉลากกล่องยาสีฟันว่า เด็กควรใช้ในขนาดไม่เกินเมล็ดถั่วเขียว พร้อมทั้งมีภาพประกอบบนฉลาก รวมถึงต้องมีการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับฟลูออไรด์
  2. หรือประเทศไทยไม่ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1,500 ppm ก็ต้องไปเสนอเรื่องนี้ในที่ประชุมอาเซียน ในเดือน มิย.49 ที่เสียมเรียบ กัมพูชา โดยนำเสนอหลักฐานและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ต่อคณะกรรมการวิชาการเครื่องสำอางแห่งอาเซียนเอง

ผลจากการประชุม

  1. สิ่งที่ต่อยอดมา คือ บริษัทผู้ผลิตซึ่งก็ไม่ค่อยรู้ในเรื่องฟันตกกระ จึงเดินทางไปดูสถานการณ์ฟันตกกระจริงที่ทางเหนือว่าเป็นอย่างไร
  2. ส่วนกองทันตฯ ก็จัดประชุมเรื่อง สถานการณ์ฟลูออไรด์ในประเทศไทย และโครงการที่มีการใช้ฟลูออไรด์ของกองทันตฯ ... มีการนำเสนอว่า โครงการของเราที่มีการใช้ฟลูออไรด์ ก็มี
    1. โครงการกลุ่มหนึ่งเพื่อลดโรคฟันผุในเด็กไทย ได้แก่ โครงการในเด็กวัยก่อนเรียน โครงการนมฟลูออไรด์ โครงการฟลูออไรด์ในน้ำประปา
    2. อีกกลุ่มเป็นการป้องกันฟันตกกระ ก็มีการทำข้อมูลระบาดวิทยา และทำฐานข้อมูลระบาดวิทยาฟลูออไรด์ในน้ำ

ยังไม่จบตอนนะคะ เรื่องราวยังคงดำเนินต่อไป 

 

หมายเลขบันทึก: 51422เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2006 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ได้รับความรู้ใหม่สำหรับผมเลยครับ ขอบคุณมากครับ

ส่วนตัวผมคิดว่า น่าจะต้องมีการเขียนไว้ข้างกล่องชัดเจนครับว่าอายุขนาดนี้ควรใช้แค่ไหน

จะมาติดตามตอนต่อไปนะครับ

คุณจันทร์เมามายค่ะ

ที่แท้ก็เพื่อนบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง กันเองนะคะ ถ้ามีวาระใดที่สนใจ ขอเชิญที่กองทันตฯ ได้นะคะ ถ้าเรามี comment ในหลายๆ ทางก็จะเป็นผลดีกับประชาชนทีเดียว

นส.พรรำพึง อำตะพึด
ก็ดี
ดีมากๆเลยค่ะ เพราะมันเป็นแนวทางที่ทำให้ออย จุน กิ เป็นเรืออากาศโทหญิงออย จุน กิ  และได้มีแฟนหล่อๆชื่อ พี่กอล์ฟ
  • เหรอคะ น้อง ออย จุน กิ
  • แล้วเป็นมาเป็นไปอย่างไรล่ะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท