ทานท่านทำแท้เทียว


คำอธิบายแผนภาพ

A

กาลทาน ทานที่ให้ตามกาล ทานที่ให้ได้เป้นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา เช่น การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์อนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไป ทำไม่ได้

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ หน้า ๑๓

B

ทาน ๒ (หมวดหนึ่ง) การให้

๑.ปาฏิกบุคลิกทาน ทานให้เฉพาะบุคคล ทานที่เจาะจงให้ตัวบุคคล หรือให้เฉพาะแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง

๒.สังฆทาน การให้แก่สงฆ์ ทานที่ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม หรือให้แก่บุคคล เช่น ภิกษุ หรือภิกษุณีอย่างกลางๆ ในฐานะเป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ โดยอุทิศกาสงฆ์ ไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม หน้า ๖๒

C

ทาน ๒ (อีกหมวดหนึ่ง) การเสียสละ การบริจาค

๑.อามิสทาน การให้สิ่งของ

๒.ธรรมทาน การให้ธรรม การให้ความรู้ คำแนะนำสั่งสอน

ใน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ อามิสทานช่วยค้ำจุนชีวิต ทำให้เขามีที่พึ่งอาศัย แต่ธรรมทานช่วยให้เขารู้จักพึ่งตนเองได้ต่อไป เมื่อให้อามิสทานแล้ว ควรให้ธรรมทานด้วย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม หน้า ๖๒

D

สำหรับผู้ให้นั้น มี ๓ ประเภท คือ ผู้ที่ให้สิ่งของที่ดีกว่าที่ตนใช้สอย ที่เรียกว่า สามีทาน ประเภทหนึ่ง ผู้ที่ให้สิ่งของที่เสมอกับของที่ตนใช้สอย ที่เรียกว่า สหายทาน ประเภทหนึ่ง และผู้ที่ให้สิ่งของที่ด้อยกว่าของที่ตนใช้สอย ที่เรียกว่า ทาสทาน ประเภทหนึ่ง

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรีวิชากระทู้ธรรม หน้า ๑๘๐

E

ทานสมบัติ ๓ ความถึงพร้อม ความพรั่งพร้อม สมบูรณ์ ซึ่งทำให้ทานที่ได้บริจาคแล้วเป็นทานที่ยอดเยี่ยม มีผลมาก

๑.เขตตสมบัติ บุญเขตถึงพร้อม คือ ปฏิคาหก หรือผู้รับทาน เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ประกอบด้วยคุณธรรม

๒.ไทยธรรมสมบัติ ไทยธรรมถึงพร้อม คือสิ่งที่ให้เป็นของบริสุทธิ์ ได้มาโดยชอบ และเหมาะสม เป็นประโยชน์แก่ผู้รับ

๓.จิตตสมบัติ เจตนาถึงพร้อม คือ ให้ด้วยความตั้งใจ คิดจะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้รับอย่างแท้จริง มีเจตนบริสุทธิ์ทั้ง ๓ กาล คือก่อนให้ใจยินดี ขณะให้จิตใจผ่องใส ให้แล้วเบิกบานใจ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม หน้า ๑๐๓-๑๐๔

ทานที่ให้จะมีผลมาก จะต้องมีองค์ ๓ อันได้แก่

(๑)เจตนา จะต้องมีเจตนาลักษณะที่ว่า

๑) ปุพพเจตนา ก่อนให้ทานก็มีเจตนาดี

๒) มุญจนเจตนา ขณะให้ก็มีจิตเลื่อมใส

๓) อปราปรเจตนา ครั้นให้แล้ว ก็มีจิตใจเบิกบาน

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรีวิชากระทู้ธรรม หน้า ๑๖๘

F

ทานวัตถุ ๑๐

ทานวัตถุ (นปุ) วัตถุสำหรับให้, วัตถุสำหรับให้ทาน,ทานวัตถุ, ทานวัตถุมี ๑๐ อย่าง คือ อนฺนํ, ปานํ, วตฺถํ, ยานํ, มาลาคนธํ (นับ ๒), วิเลปนํเสยฺยาวสถํ (นับ ๒), ปทีเปยฺยํ

พันตรี ป. หลงสมบูญ พจนานุกรม มคธ ไทย หน้า ๓๔๔

(หมายเหตุ อนฺน ของกิน ของบริโภค เครื่องบริโภค ข้าว, ปาน น้ำสำหรับดื่ม เครื่องดื่ม,วตฺถ ผ้า เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า, มาลา ระเบียบ ดอกไม้ พวงดอกไม้, คนฺธ ของหอม เครื่องหอม, ยาน ยวนยาน,วิเลปน เครื่องหอม เครื่องประเทืองผิว, เสยฺย ที่นอน,อาวสถ ที่พัก ที่อาศัย เรื่อน,ปทีเปยฺย วัตถุอันเป็นอุปกรณืแก่ประทีป เครื่องประทีป)

G

ผลของทานมีต่างๆดังนี้

๑.เมื่อคนเราให้ทาน สิ่งที่ได้ก็คือ ได้กำจัดอกุศลธรรม คือ มัจฉริยะ ความตระหนี่ออกไปจากจิต ในขณะเดียวกัน ก็เพิ่มพูนจาคะ ความเสียสละให้เกิดมีขึ้นในจิตใจเช่นกัน

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรีวิชากระทู้ธรรม หน้า ๑๖๘

๒.ททํ มิตฺตานิ คนถฺติ

ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้

๓.ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา

๔.มนาปทายี ลภเต มนาปํ

ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ

๕.สุขฺสส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ

ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข

๖.ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ

เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น

๗.เสฏฐนฺทโท เสฏฐ มุเปติ ฐานํ

ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ

๘. อนึ่ง บุคคลจำต้องละร่างกาย

พร้อมทั้งด้วยสิ่งของ เครื่องอาศัยเพราะการตายจากไป

ผู้มีปัญญารู้ชัดดังนี้แล้ว ควรใช้สอยและให้ทาน

ครั้นให้ทานและใช้สอยตามสมควรแล้ว จะไม่ถูกติเตียน

ย่อมเข้าถึงสถานที่อันเป็นแดนสวรรค์ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๔๑/๕๘

H

เหตุที่คนทำทาน

[๓๓๖] ทานวัตถุ (เหตุแห่งการให้ทาน) ๘

๑.ให้ทานเพราะประสบเข้า

๒.ให้ทานเพราะกลัว

๓.ให้ทานเพราะคิดว่า เขาได้ให้แก่เรา

๔.ให้ทานเพราะคิดว่า เขาจักให้แก่เรา

๕.ให้ทานเพราะคิดว่า การให้ทานเป็นการดี

๖.ให้ทานเพราะคิดว่า เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร

๗.ให้ทานเพราะคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม ย่อมขจรไป

๘.ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต

ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๓๖/๓๔๕

I

เหตุที่คนยินดีให้ทาน

เพราะความตระหนี่และความประมาท

บุคคลจึงให้ทานอย่างนี้ไม่ได้

บุคคลผู้หวังผลบุญรู้แจ้งอยู่ จึงให้ทานได้

สํ.ส. (แปล) ๑๕/๓๒/๓๗

(เทวดากล่าวกะพระพุทธองค์)

มหาบพิตร บุรุษเข็ญใจ แต่มีศรัทธา

ไม่มีความตระหนี่ มีความดำริประเสริฐ

มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน

สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๓๒/๑๖๔

(พระพุทธองค์ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศล)

หมายเลขบันทึก: 513933เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2012 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2013 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

 สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

สุดยอดมากเลย มีความเป็นครูสูงมากเลยครับ

ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

ขอบคุณบันทึกดีๆที่นำมาแบ่งปันกัน และส่งความสุขปีใหม่ ๒๕๕๖ ค่ะ

  ภาพจากสายบริหารงานสื่อสารองค์กร SCB  

Large_picture708998

สวัสดีปีใหม่นะครับคุณณัฐรดา ครับ

  • มาสวัสดีปีใหม่และขอให้พานพบสิ่งดีๆ มีความสุข ตลอดปีตลอดไปครับ

ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลร่างกายที่แข็งแรง สิ่งดีงามในชีวิต ความคิดแจ่มใส จิตใจเบิกบาน

แด่พี่ตุ๊กตาและครอบครัว


สวัสดีปีใหม่ค่ะ

สุข..สงบเย็น เป็นประโยชน์

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๖ ครับ คุณณัฐรดา


Happy New Year  2013

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก 

จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวจงประสบความสุขด้วยอายุ วรรณะ สุข พละ 

คิดหวังสิ่งใดขอให้และสมปรารถนาทุกประการ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

มาสวัสดีปีใหม่ครับ  มีความสุขตลอดปีและตลอดไปนะครับ

ให้สังเกตเถิดว่า รัตนไตร อย่างเดียวนั้น ไม่ค่อยมั่นใจกันเท่าไร เลยต้องกวาดเอา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก กอบโกยเอาไว้ด้วย 55 เอางี้ซิ เอาแบบครอบคลุมเลยไหม เอา ผู้ที่สร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกไปเลยดีกว่า นี่แหละ ครอบคลุมขึ้นอีก. 55

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท