สถานการณ์เด่นในประเทศไทย


เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม การเมื่อง

สถานการณ์เด่นที่เกิดในประเทศไทย คือ การเมือง ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผู้บริหารประเทศมีส่วนในการกำหนดนโยบายทิศทางของธุรกิจ จากอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่ในช่วง พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2543ประเทศไทยมีรัฐบาลถึง 4 ชุด มีนายกรัฐมนตรี 3 คน และมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงมหาดไทยตลอด รัฐบาลทุกชุดในช่วงนั้น ล้วนเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค มีอายุเฉลี่ยประมาณ 2 ปี มีการยุบสภาถึง 3 ครั้ง การยุบสภาเกิดจากความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลผสม พรรคร่วมรัฐบาลสามารถโยกคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลได้

นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีในโควตาของพรรคตนได้ตลอดเวลาอีกด้วย เช่น สมัยคุณชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี มี น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งเป็นตำแหน่งในโควตาของพรรคพลังธรรม ต่อมาพลตรี จำลอง หัวหน้าพรรคพลังธรรม ซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีได้ไปเชิญพ.ต.ท. ทักษิณ ชิณวัตรให้เข้ามาเป็นสมาชิกพรรคพลังธรรมและได้ขอให้รัฐบาลเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีต่างประเทศจากคุณประสงค์มาเป็น พ.ต.ท. ทักษิณ ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องยินยอมตามความประสงค์ของพรรคพลังธรรม ซึ่งเป็นเจ้าของโควต้าตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเห็นได้ชัดเจนว่าการเมืองมีส่วนผลักดันให้ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างเริ่มตั้งแต่ในปีพ.ศ. 2544 ที่พ.ต.ท. ทักษิณ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วได้บริหารประเทศโดยมีประเด็น ดังนี้

1.       การเมืองยุคปฏิรูปย่อย เช่น การปฎิรูปสุขภาพ การศึกษา เป็นต้น

2.       การปฏิรูปเพื่อสร้างการเมืองตรวจสอบล้มเหลวมากกว่าสำเร็จ มีการสร้างกลุ่มอิทธิพลเพื่อประโยชน์ในวงแคบของตน กลไกตรวจสอบต่างๆ เช่นวุฒิสภา ปปช. กกต. กสช. จะถูกกลุ่มอำนาจทั้งทางธุรกิจ การเมือง ทหารข้าราชการ นักวิชาการเข้าแทรกแซง

3.       การปฏิรูปการเมืองเปิดฉากการเข้าสู่อำนาจโดยตรงของกลุ่มธุรกิจการเมือง

4.       แนวโน้มการเกิดการเมืองระบบ 2 พรรคหรือพรรคใหญ่พรรคเดียว

5.       แนวโน้มมีการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ เนื่องจากพื้นฐานมาจากกลุ่มธุรกิจสัมปทานซึ่งเป็นการผูกขาดแบบหนึ่ง

6.       การเปลี่ยนทรัพยากรทุกอย่างของประเทศรวมทั้งคนจนให้เป็นทุนและเป็นผู้บริโภค

ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจที่สำคัญในช่วงการบริหารของพ.ต.ท.ทักษิณ เช่น

1.       การแปลงค่าสัมปทานธุรกิจโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิต (ซึ่งจะมีผลกีดกันคู่แข่งรายใหม่เพราะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น) 

2.       การอนุมัติให้บริษัทการบินราคาประหยัดใช้ท่าอากาศยานของการท่าอากาศยานทั้งๆ ที่ยังไม่มีการประกาศนโยบายเปิดเสรีสายการบินในประเทศ

3.       การจ้างบริษัทชินวัตรให้จัดทำโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการโดยการจัดจ้างวิธีพิเศษ

4.       คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิพิเศษยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับโครงการดาวเทียมของบริษัทชินแซทจำกัดเป็นเวลา 8 ปีเต็ม

5.       การแทรกแซงและกระตุ้นราคาตลาดหุ้น เช่น กองทุนวายุภักษ์ Net Settlement การนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ เช่น ปตท.

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าผู้ที่เข้ามาบริหารประเทศใช้สิทธิและอำนาจในการเปลี่ยนแปลงนโยบายและบริหารงานโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องเกินกว่าจะทำงานเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งถ้าจะมองถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศไทยเราเองยังมีช่องโหว่งค่อนข้างสูง และไม่ปรับเปลี่ยนให้ทันตามยุคสมัย จึงเป็นช่องว่างที่ทำให้บุคคลที่มีเจตนาไม่ดีเข้ามาแสวงหาความมั่งคั่งโดยใช้กฎหมายและอำนาจโดยไม่ถูกไม่ควร 

หมายเลขบันทึก: 51392เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2006 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท