การรักษาพิษผึ้ง


การรักษาพิษผึ้ง

การรักษา

       ผู้ที่ถูกผึ้งต่อยส่วนใหญ่ไม่มีอาการรุแรงถึงระดับที่จำเป็นต้องรักษา แต่ผู้ที่ถูกผึ้งต่อยแล้วมีอาการรุนแรงมาก เช่น มีลมพิษเกิดขึ้นมาก เป็นลมหรือหายใจไม่สะดวกต้องได้รับการรักษาโดยพาไปพบแพทย์จะให้ยาจำพวกแอนตีฮีสตามีนในรายที่มีอะนาฟัยแลกซิส เช่น ช็อค ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ โดยแพทยืจะฉีดแอดรีนาลินทันที และอาจจำเป็นต้องตามด้วยยาแอนตีฮีสตามีนและคอร์ติโคสะเตียรอยด์ขนาดสูง ในรายที่รุนแรงมากอาจต้องผายปอดและนวดกระตุ้นหัวใจด้วย

       นอกจากนี้ผู้ที่ทราบว่าตนเองแพ้พิษของผึ้งโดยการทดสอบทางผิวหนัง (skin test) ด้วยสารสกัดพิษของผึ้งหรือจากอาการที่ถูกผึ้งต่อยครั้งก่อนควรหลีกเลี่ยงการถูกผึ้งต่อยอีก เพราะอาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกทีที่ถูกผึ้งต่อย ผู้ที่แพ้พาผึ้งควรรับการรักษาให้หายแพ้ด้วยการบำบัดทางอิมมูน หรือการลดภูมิไว (hyposensitization) ด้วยการฉีดสารสกัดพิษของผึ้งที่เจือจางเป็นระยะๆ พร้อมกับค่อยๆ เพิ่มความเข้นของพิษในน้ำยาเพื่อลดอาการรุนแรงเมื่อถูกผึ้งต่อยจริง

ประโยชน์ของพิษของผึ้ง

    พิษของผึ้งมีประโยชน์ในทางการแพทย์โดยแบ่งได้เป็น 3 ทาง คือ

     1. ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ (Rheumatoid arthritis) ซึ่งเป็นที่เชื่อกันมานานแล้ว เนื่องจากมีผู้สังเกตว่า ในหมู่ผู้ที่เลี้ยงผึ้ง (beekeepers) ไม่เป็นโรคไขข้ออักเสบ การบำบัดรักษาโรคด้วยพิษของผึ้งที่เรียกว่า “bee venom therapy” หรือ “apitherapy” ได้มีผู้ศึกษาในยุโรปเป็นเวลานานแล้ว ส่วนในประเทศอเมริกาได้เริ่มศึกษาเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา

      2. ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานไวเกินต่อพิษของผึ้ง (Hypersensitivity to bee venom) รักษาโดยการบำบัดทางอิมมูน (immune) ด้วยพิษของผึ้งซึ่งสกัดมาทำเป็นยาแล้วฉีดเข้าในร่างกายของผู้ที่แพ้พิษของผึ้ง โดยความเข้มข้นน้อยมาก เช่น 1.0 ไมโครกรัมต่อ 1 มิลลิลิตร ฉีดเข้าร่างกายผู้ป่วยทุกสัปดาห์แล้วต่อมาค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 100 ไมโครกรัมต่อ 1 มิลลิลิตร และฉีดต่อไปทุกๆ เดือน

      3. ใช้สำหรับทดสอบทางผิวหนัง (skin test) จำแนกเฉพาะว่าแพ้พิษของผึ้ง โดยการสกัดพิษของผึ้งมาทำน้ำยาที่มีความเข้มข้น 0.1 ไมโครกรัมต่อ 1 มิลลิลิตร แล้วใช้ทดสอบทางผิวหนังโดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (intradermal) หลังจากฉีดน้ำยาที่สกัดจากพิษผึ้งแล้ว 20 นาที ให้แพทย์อ่านผลว่าพ้พิษของผึ้งหรือไม่

     ในอนาคตอาจมีการนำเอาพิษของผึ้งมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ได้มีผู้ศึกษาและวิจัยเรื่องพิษของผึ้งกันมากโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

หมายเลขบันทึก: 51358เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2006 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท