KM สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี


การจัดการความรู้เปรียบเสมือนการ "อมหาย คายรอด" ความรู้ถ้ามีอยู่ในตัวอมความรู้ไว้คนเดียวไม่เกิดประโยชน์ แต่ถ้าคายความรู้ออกมาจะเกิดประโยชน์ต่อคนอื่นและตนเองมากกว่า

     ดิฉันและคุณพิชฎา อารยานุรักษ์ ได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์การสัมมนาเชิงปฎิบัติการการจัดการความรู้ โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปี 2549 จังหวัดอุบลราชธานีวันที่ 18-19  กันยายน 2549  โดยเข้าร่วม 2 สายอำเภอจากทั้งหมด 3 สายคือ

     สาย A    อุบลเหนือ ได้แก่ ตระการพืชผล ม่วงสามสิบ โขงเจียม โพธิ์ไทร กุดข้าวปุ้น ศรีเมืองใหม่ เขมราฐ นาตาล รวม 8 อำเภอ

     สาย B    อุบลกลาง ได้แก่ เมือง วารินชำราบ เขื่องใน พิบูลมังสาหาร ดอนมดแดง สิรินธร ตาลสุม เหล่าเสือโก้ก สว่างวีระวงศ์  รวม 9 อำเภอ

     วันที่ 18 ก.ย.2549   เราได้พูดคุยกับคุณกมล โสพัฒน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และคุณดำรง อินศร หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด ถึงความก้าวหน้าการจัดการความรู้ของจังหวัด  แล้วเดินทางจากสำนักงานเกษตรจังหวัดไปที่โรงพยาบาลม่วงสามสิบ  อ.ม่วงสามสิบ ซึ่งเป็นสถานที่สัมมนาฯสายA ถึงประมาณ 9 โมง ได้พบกับอาจารย์ภาสกร นันทพานิช จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ซึ่งท่านได้มาช่วยการทำKM ของจังหวัดอุบลราชธานีมาตั้งแต่แรกเริ่ม และวันนี้ท่านได้มาเป็นผู้ดำเนินรายการในเวทีการสัมมนาตลอดทั้งวัน

      เวทีการสัมมนาเริ่มจากคุณดำรง อินศร ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ โดยได้เปรียบเปรยว่าการจัดการความรู้เปรียบเสมือนการ "อมหาย คายรอด"  ความรู้ถ้ามีอยู่ในตัวอมความรู้ไว้คนเดียวไม่เกิดประโยชน์ แต่ถ้าคายความรู้ออกมาจะเกิดประโยชน์ต่อคนอื่นและตนเองมากกว่า

Ubon18

คุณดำรง อินศร

     จากนั้นอาจารย์ภาสกร  นันทพานิช ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของงานส่งเสริมการเกษตร การสัมมนาวันนี้อาจารย์ได้แนะนำการใช้สุนทรียสนทนาในการ ลปรร.

                                      Ubon18

                                    อาจารย์ภาสกร นันทพานิช

     เกษตรกร  3 ท่าน คือพ่อสมาน กิ่งแสง ต.หนองเมือง  พ่อไพฑูรย์ สมสมัย ต.โพนแพง และคุณเสริม แสงสุข ต.หนองเมือง เล่าประสบการณ์ในการผลิตพืชปลอดภัย โดยอาจารย์ภาสกรเป็นผู้ดำเนินรายการคือ

                                  Ubon18  

                                        พ่อสมาน  กิ่งแสง                            

     พ่อสมานเล่าว่ามีแรงบันดาลใจในการปลูกข้าวปลอดสารพิษ มีการแพ้สารพิษ  เริ่มเดิมทีไม่สนใจการผลิตข้าวปลอดสารพิษ  ปี2540ได้รับการอบรมเกษตรอินทรีย์จากธกส. 4 คืน 5 วัน หลังการอบรม 1 ปีมีการติดตามสอบถามว่าทำหรือยัง  ปี 2541 จึงทดลองทำ เพียงพื้นที่ 1 ไร่ 2 ร่อง ช่วงแรกแม่บ้านไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าใดนัก ปีแรกที่ทำข้าวไม่งาม ปีที่ 2 เริ่มดี และปีที่ 3 ดีกว่าการใช้สารเคมี  จากประสบการณ์ตรงนี้พ่อสมานสรุปว่าเกษตรอินทรีย์ง่าย แต่ถ้าไม่รู้วิธียาก มีผู้ใหญ่บ้านมาถามว่าข้าวปลอดภัยเป็นอินทรีย์แท้หรือไม่ ถ้าหากเราไปตรวจต้องเสียค่าใช้จ่ายเป้นน้ำยามีราคาแพงครั้งละสองพันบาท พ่อสมานจึงคิดวิธีพิสูจน์ด้วยตนเองด้วยวิธีง่าย ๆโดย

       นำข้าวเคมีและข้าวอินทรีย์มาหุง

  • ข้าวเคมีกินแล้วข้าวจะเละ และตอนเช้าข้าวจะบูด
  • ข้าวอินทรีย์กินแล้วอ่อน นุ่ม หอม กินได้หลายมื้อ

     ผักปลอดสารและไม่ปลอดสาร

  • ผักปลอดสาร      มีรากมาก  สีเขียวสด  2คืนยังกินได้
  • ผักไม่ปลอดสาร มีรากน้อย แข็ง  1 คืนก็ไม่สดและสภาพไม่ดี

และพ่อสมานยังเล่าอีกว่าการทำเกษตรอินทรีย์มีข้อดีหลายประการเช่นลดต้นทุน ปุ๋ยอินทรีย์ผลิตเองไม่เสียเงินซื้อปุ๋ยเคมี สุขภาพดีทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค สัตว์เลี้ยง ปัญหาเรื่องโรคพืชหมดไป  สภาพแวดล้อมกลับคืนมาเช่นปู ปลา สุดท้ายท่านได้พูดว่าขอวิงวอนให้ช่วยกัน ทำอย่างไรจะลดสารเคมีได้ ภูมิปัญญามีมากมายแม้แต่หญ้าก็เป็นปุ๋ยได้ เราจะหวนกลับสู่ธรรมชาติเสียที

     ยังมีอีก 2 ท่านแล้วจะเล่าต่อไปคะ น่าสนใจที่มีคุณเอื้อ(คุณดำรง)อยู่ในเวทีตลอดเวลา คอยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และเติมเต็มในเวทีเช่นเวลาเครียดก็สร้างมุขให้เกิดการผ่อนคลาย เป็นต้น อาจารย์ภาสกรคอยช่วยในการนำเสนอ ทำหน้าที่คุณอำนวยได้ยอดเยี่ยมจริง ๆ และยังมีคุณกมลเป็นผู้ประสานงานในเวทีตลอดเวลา และในการคุยนอกรอบทราบว่าจังหวัดศรีสะเกษได้เข้ามาสังเกตุการณ์ที่อุบลฯและอาจารย์ได้ไปช่วยศรีสะเกษด้วยในฐานะเพื่อนช่วยเพื่อนทำได้ดีมาก

ธุวนันท์ พานิชโยทัย

22 ก.ย.49

 

      

หมายเลขบันทึก: 51343เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2006 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

  ส่วนมากมักจะ หวานอม ขมคาย คือที่วิจัยหรือทดลองสำเร็จ มักจะ อม หรือนำไปขายภาคธุรกจ ส่วน ขมคาย คือประกาศว่าล้มเหลว แต่ก็ยังดีครับ เพราะคนอื่นจะได้ไม่ผิด หรือหางด้วนตาม ข้อหลังนี้คือสิ่งที่บ้านเรายังขาดการรวบรวมเป็นหลักเป็นการ

  น่าจะมีในขบวนการ KM

ได้อ่านที่ ผอ.ธุวนันท์เล่าแล้ว อยากให้ดำเนินการที่จังหวัดผมบ้าง(สุราษฎร์) อยากเป็นอาสาสมัคร แต่ไม่รู้ว่าจะเวอร์กหรือป่าวครับ

    ขอบพระคุณมากครับที่กรุณาบันทึกมาแบ่งปัน

เรียนคุณไชยยงค์

     ขอบคุณคะ เราต้องช่วยกันขจัดให้หมดไป

เรียนคุณเพชรตาปี

     เป็นได้คะ ทุกจังหวัดจะต้องทำอยู่แล้ว

เรียนคุณสิงห์ป่าสัก

    ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท