ย้อนรอยวิจัย...แรงจูงใจ


วันอังคารที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าร่วม Brain strom นำโดย อ.พรพรต อีกทั้ง อ.ปารมี อ.เสาวรัตน์ อ.จำนง พี่เม่ย พี่โอ๋ อ.สมรมาศ พี่หล้า  พี่ nidnoi หญิงปู อีกทั้งคนอื่น  ๆ  หลายต่อหลายคน ในการส่งเสริมงานประจำสู่งานวิจัย....(อดนึกดีใจแทนบุคลากรอื่น ๆ จะได้มีโอกาสได้ทำงานวิจัย)

เป็นเหตุให้ตัวเองอดนึกถึงงานวิจัยชิ้นแรกที่ทำไม่ได้  โดยนึกย้อนรอยไปว่า เรามีแรงจูงใจอะไรหนอ ? ถึงได้อยากทำงานวิจัย ทั้งที่จำได้ว่า ...แต่ก่อนผู้เขียนเพิ่งเข้ามาทำงานใหม่  ๆ ได้ยินใคร ๆ เล่าเรื่องการทำงานวิจัยกัน ยอมรับว่ายกย่องและนับถือมากๆ  และไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้เลย.....

จริง ๆ แล้วงานวิจัยชิ้นแรก ก็เริ่มมาจากโครงการพัฒนางานเรื่องการเปรียบเทียบผลการตรวจ HbA1c โดยใช้ EDTA blood กับ NaF blood ซึ่งใช้ขอในการเลื่อนขอระดับซี 5 นั่นเอง ซึ่งเป็นปัญหา routine ที่พบได้บ่อย ๆ ในงานประจำนั่นเอง...

อันที่จริงขอซี5 ก็เสร็จเรื่องเสร็จราวเป็นที่เรียบร้อย แต่แล้ว พี่ปนัดดาเสนอให้ทำเป็นผลงานวิจัยประกวดประเภทโปสเตอร์ในงานประชุมวิชาการประจำปีคณะแพทย์ฯ โดยหน่วยเราส่ง 2 เรื่องคือเรื่องของผู้เขียน อีกเรื่องเป็นของน้องอ๋งซังซึ่งทำเรื่องเตรียมน้ำยาเองสำหรับการทดสอบ GGT ซึ่งเราก็ได้รับรางวัลทั้ง 2 คน...

เรื่องก็คงจะจบลงแค่นั้น แต่เผอิญผู้เขียนอยากได้หนังสือ Annual research Abstracts 2003 โดย อ.อุไรรัตน์ แนะนำว่าต้องส่ง Abstract เป็นภาษาอังกฤษนี่สิ (ผู้เขียนเป็นคนชอบเก็บสะสมหนังสือค่ะ) ก็เลยรื้อบทคัดย่อตอนเสนองานประชุมวิชาการจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั่นเอง...และนี่เองอาจเป็นแรงจูงใจที่สำคัญ แต่....ผู้เขียนไม่กล้าฟันธง

อีกทั้งเราก็เสนอผลงานผ่านมาเกือบ ๆ จะ 2 ปีแล้ว ถ้าไม่เขียนรู้สึกไม่ดีแน่ ก็เลยมุมานะเขียนภายใน 1 -2 เดือน (เพราะข้อมูลเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่เสนอผลงานแล้ว เพียงแต่ไม่ได้เขียนเท่านั้น) และตั้งหน้าตั้งตาหาอ่านวารสารวิจัยต่าง ๆ  ให้เยอะ ๆ เข้าไว้...และพบว่าการทำวิจัยช่างมีหลากหลายรูปแบบเหลือเกิน บางอย่างเราไม่คิดว่าจะเขียนหรือทำเป็นงานวิจัยได้ ทำให้โลกของตัวเองที่วัน ๆ  ทำแต่งานประจำ เลยนึกอยากลองทำดูบ้าง...

ผู้เขียนนึกย้อนรอยมองดูตัวเอง จริง  ๆ  แล้วแรงจูงใจก็มีผลไม่น้อยเลยทีเดียว และแรงจูงใจของแต่ละคนก็คงมีไม่เหมือนกัน...

และผลงานจากโครงการพัฒนางานซึ่งส่วนใหญ่มาจากงานประจำ...(ที่ผ่าน ๆ มาแล้ว)

น่าจะมีไม่น้อยที่สามารถนำมาทำเป็นงานวิจัยได้

 

หมายเลขบันทึก: 51310เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2006 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จากการ ลปรร.ในวงเสวนา R2R เมื่อต้นเดือนที่กท.  จากประสบการณ์ของคุณศิริที่เล่ามา  และ จากผลงาน R2R ของสมาชิก Otop1 สองทีม (reticulocyte และ พันธุศาสตร์)  ทำให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า การทำโครงการพัฒนางานจากปัญหาหน้างาน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของงานวิจัยของคนหน้างาน  

นอกจากแรงจูงใจที่มีในตัวเอง (จากความชอบ หรือ เพื่อความก้าวหน้า หรืออื่น..) แล้ว  รุ่นพี่หรือหัวหน้างานซึ่งมีประสบการณ์มาก่อน ช่วยมองหาโอกาส ต่อยอด หรือ ยกระดับงานพัฒนานั้น ก็เป็นแรงส่งที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง 

 

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ คือตรงใจมากเลยค่ะ คือถ้าเป็นไปได้นี่ค่ะ อยากให้คนในหน่วยทุกคนได้มีโอกาสพัฒนาไปพร้อม  ๆ กัน มีการส่งเสริม ช่วยเหลือเหมือนพี่ช่วยน้อง อะไรประมาณนั้นค่ะ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท