เครื่องเอกซ์เรย์หัวใจ ตรวจได้แต่ป้องกันไม่ได้


ยิ่งเศรษฐกิจยุคทุนนิยมหรือบริโภคนิยมแบบนี้การส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างฟุ่มเฟือยจะเกิดได้ง่ายเพราะเจ้าของเมื่อลงทุนไปแล้วก็ต้องอยากได้ทุนคืน หากอัตราการใช้น้อยก็จะขาดทุน

เมื่อวานได้อ่านหนังสือพิมพ์ลงข่าวเกี่ยวกับโรงพยาบาลเอกชนมีชื่อแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ได้นำเครื่องตรวจเอกซ์เรย์หัวใจที่ถือเป็นเทคโนโลยีล่าสุดมาติดตั้งในศูนย์โรคหัวใจชื่อว่า เรียล 64 สไลซ์ ซีที ผลิตจากการนำเทคโนโลยีเอกซ์เรย์ซีทีสแกนมาผนวกกับเทคโนโลยีการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ระดับสูง(แต่บางคนในสังคมไทยสามารถสร้างภาพได้ดีกว่าเพราะไม่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงก็สร้างภาพได้เหมือนกัน มักจะเห็นได้มากจากการเสนอหน้าตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์) ช่วยในการระบุพยาธิสภาพของผู้ป่วยได้ใกล้เคียงกับความจริงอย่างมาก เป็นการสแกนค่าความหนาแน่นของเราทั้งหมดด้วยลำแสงเอ๊กซ์เรย์ 360 องศารอบตัวแล้วถ่ายภาพด้วยความเร็วสูง 0.33 วินาทีต่อ 64 ภาพ เป็นความเร็วสูงสุดที่ช่วยตรวจวิเคราะห์หัวใจที่เต้นตลอดเวลาได้ สามารถตรวจพบการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดหัวใจได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่มีขนาดเล็กเพียง 0.02 มิลลิเมตรได้ และไม่ต้องเจ็บเพราะการสอดขดลวดสวนเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจเพื่อฉีดสีดูเส้นเลือดอย่างที่ใช้กันอยู่  ผมอ่านด้วยความทึ่งกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ผลิตเครื่องมือต่างๆที่มีประสิทธิภาพสูง(High Technology)มาใช้ แต่อีกใจหนึ่งก็รู้สึกเป็นกังวลว่าคนจะประมาทในการดำรงชีวิตมากขึ้นเพราะจะมีพฤติกรรมสุขภาพอย่างไรก็ได้ถ้ากลัวเป็นโรคหัวใจก็มีเครื่องตรวจได้เร็ว เมื่อเป็นอย่างนี้แนวคิดทางด้านการส่งเสริมป้องกันโรคก็จะถูกบดบังความสำคัญไป ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์จะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเศรษฐกิจยุคทุนนิยมหรือบริโภคนิยมแบบนี้การส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างฟุ่มเฟือยจะเกิดได้ง่ายเพราะเจ้าของเมื่อลงทุนไปแล้วก็ต้องอยากได้ทุนคืน หากอัตราการใช้น้อยก็จะขาดทุน ก็ต้องกระตุ้นโปรโมทให้คนอยากมาใช้กันมากๆเพื่อทำกำไร ทั้งที่เครื่องมือHigh Technology เหล่านี้ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคเลย กลับจะทำให้คนประมาทเพราะหากดำรงชีวิตตามสบายกินไขมัน ออกกำลังกายน้อย ไปตรวจแล้วไม่เจอก็อาจคิดว่าไม่เห็นต้องเชื่อเรื่องการส่งเสริมป้องกันเลย เหมือที่เคยเจอบ่อยๆในคนที่สูบบุหรี่ว่าสูบมาตั้งนานไม่เห็นเป็นอะไร คนที่ไม่สูบตายไปก่อนแล้ว เกิดความเข้าใจผิดๆได้ง่าย ทำไมเราไม่ส่งเสริมสุขภาพแบบพอเพียง พออยู่พอกินอย่างเหมาะสม เน้นการดำรงชีวิตที่ส่งเสริมป้องกันโรคซึ่งใช้ค่าใช้จ่ายน้อย(Low cost) มีความเสี่ยงน้อย(Low risk) เพราะใช้เทคโนโลยีง่ายๆ(Low Technology)และใช้ใจสัมผัสกันได้ดีกว่า(High touch)การไปพึ่งการรักษาเมื่อเจ็บป่วยที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง(High cost) มีความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนสูง(High risk)เพราะต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพง(High Technology)ที่บางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในภายหลังก็ได้และมีการสัมผัสใกล้ชิดต่ำ(Low touch) อย่างเช่นโรคไข้เลือดออก ถ้าป่วยแล้วอาจหายหรือตายก็ได้ ยิ่งถ้ามีช็อคก็ยิ่งต้องใช้เงินใช้ยาหรือเทคโนโลยีต่างๆเหมือนกับที่เด็กคนหนึ่งที่รักษาอย่างเต็มที่แต่ก็เสียชีวิต แต่ถ้าไม่รอให้ป่วย อย่าให้ยุงกัด ช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ก็ไม่เห็นต้องใช้ความรู้เทคโนโลยีอะไรเลย แต่เราก็ไม่ค่อยสนใจกัน พอป่วยแล้วก็มีกุลีกุจอเพื่อจะรักษาซึ่งเป็นการแก้ปลายเหตุและอาจรักษาไม่ได้

หมายเลขบันทึก: 5124เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2005 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พิพัฒน์ ชุมเกษียร

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านผู้อำนวยการ พิเชษฐ์ ทุกประการ

ผมขอแบ่งปันแนวคิด พูดและทำแบบตะวันตก และ ตะวันออก

วิถีคิด พูด ทำแบบตะวันตก.เน้นผลและผลกระทบ (เป็นโรคแล้ว และผลกระทบเช่น พิการ ตาย เหมือนเห็นโลงศพ จึงหลั่งนำตา คือเป็นโรคหรือบาดเจ็บแล้ว จึงรู้สึกเสียใจ ที่ผ่านมาไม่น่าทำตัวแย่ๆ) ต้องใช้High Tech,High Cost,High Risk แต่มักได้ Low Touch & Low Functional Outcome เช่น พิการ

ทั้งที่รู้ในพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆว่าต้อง ลด ละ เลิก เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา บริโภคอาหารปรุงแต่งหรืออาหารแดกด่วน(Fast food) เที่ยวดึก เครียด โกรธ เกียด อาฆาต พยาบาท  ขี้เกียด ขาดการออกกำลังกาย....แต่ยังทำเป็นนิสัย (มักแก้ตัวว่าเปลี่ยนลำบาก)

วิถีคิด พูด ทำแบบตะวันออก.เน้นเหตุปัจจุบัน เห็นปัจจุบัน จึงไม่หลั่งนำตา คือ เห็นเหตุปัจจุบัน ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยง(ข้างบน) ทำเหตุให้ดี เช่น ตื่นแต่เช้า อาบน้ำ แปรงฟัน หุงหาอาหาร ไว้ทำบุญตักบาตร แบ่งปันเพื่อนบ้าน เหลือพอกินในครอบครัว กินข้าวพร้อมกันสามวัย(ปู่ย่าตายาย  พ่อแม่ ลูก)ได้อาหารหลากหลายชนิดทั้งที่ทำเองและเพื่อนบ้านให้มา[ปี2005 ฝรั่งกำหนดอาการสุขภาพดีต้องมีความหลากหลาย...วิถีตะวันออกมีมานานแล้ว(Tacit Knowledge)เป็นวัฒนธรรม เพียงแต่ไม่ได้เขียนเป็นตำรา(Explicit Knoeledge) ]นิยมกินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นพื้น(เพราะหาได้ง่าย แทบไม่ต้องใช้เงินเลยสักบาท อยู่แบบพอเพียง) อิ่มแล้วไปเดินหรือปั่นจักรยานไปทำงานเพื่องาน (ไม่ได้พูดถึงเงิน ก่อนงาน) ทำงานอย่างคนมีความรู้ รู้แยกแยะสิ่งที่ถูกที่ควร กับ บุญคุณต้องทดแทน...เป็นการใช้ Low Tech,Low Cost,Low Risk...แต่มักได้High Touch&High Functional Outcome คือพึ่งตนเองได้ หรือ พึ่งพาอาศัยกันได้

 

     ครับผมอ่านด้วยความทึ่งในเทคโนโลยีหนึ่ง และทึ่งต่อหมอ (ผอ.พิเชษฐ์ฯ) เป็นสอง
     ขอร่วม ลปลร.ด้วยครับ ตามหลักการและเหตุผล แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันฯ ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ด้วยนี่ครับ สำหรับประเด็นที่ผมจะพูดถึงคือค่าใช้จ่ายฯ ในระดับ macro ยิ่งสูง แต่คนจนกลับก็ยิ่งเข้าไปไม่ถึงมากขึ้น การกระจายทรัพยากรสุขภาพแย่มาก (อันนี้ถึงจะเป็นภาคเอกชนก็ต้องนับรวม) ความเป็นธรรม และสุขภาวะซึ่งเป็น Ultimate Goals ในระบบสาธารณสุข เราจะเข้าไปใกล้ได้อย่างไรครับ
     วันนี้เราใช้การสร้างหลักประกันสุขภาพเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุ Ultimate Goals ที่ว่า ถึงแม้จะยังขลุกขลักบ้าง แต่ผมคนหนึ่งที่เชื่ออยู่ลึก ๆ ว่าได้ แต่ทำยังไงให้ยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์หลักที่สำคัญคือ การสร้างสุขภาพ โดยเน้นที่สุขภาพระดับชุมชนด้วย ถึงวันนั้นค่าใช้จ่ายในภาพรวมจะน้อยลง งบที่เคยใช้มากก็จะเหลือถึงคนจน เพื่อได้ใช้บริการ High Tech บ้างเมื่อเกิดความจำเป็น (need) ขึ้น และเมื่อจะต้องตายเพราะสุดความสามารถแล้วก็จะได้ตายอย่างสมศักดิ์ศรีครับ
     ได้ขอเชิญ ให้ Blog PracticallyKM ได้เข้าร่วมเชื่อมประสานกับ ชุมชน วิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข ด้วยแล้วนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท