ศัตรู........ของน้องผึ้ง


ไร ( mites) เป็นสัตว์ขาข้อมีแปดขา จัดรวมอยู่ในชั้น อะแรคนิดา ( Arachnida ) เช่นเดียวกับแมงมุมและแมงป่อง
เมื่ออาทิตย์ก่อนๆหน้านี้อาจารย์ได้สอนเรื่องศัตรูของผึ้งไป เพื่อนๆและพี่ๆคงอยากได้รายละเอียดของเรื่องนี้เพิ่มเติม วันนี้ดิฉันจึงนำเรื่องนี้มาเขียนเล่าสู่กันฟัง เผื่อบางคนอยากทราบเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าเพื่อเป็นการไม่เสียเวลา .ศัตรูของผึ้งเป็นที่รู้ๆกันอยู่แล้วว่ามีอยู่มากมายแต่ในที่นี้จะขอพูดถึงเรื่องไรของผึ้งแล้วกันนะคะ  มารู้จักลักษณะของไรกันก่อน  ไร ( mites) เป็นสัตว์ขาข้อมีแปดขา จัดรวมอยู่ในชั้น อะแรคนิดา ( Arachnida ) เช่นเดียวกับแมงมุมและแมงป่อง ไรอาจมีความสัมพันธ์กับผึ้งในหลายลักษณะเช่นพวกที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผึ้ง เพียงแต่อาศัยผึ้งเป็นพาหนะในการนำมันจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง ไรพวกนี้เป็นไรที่กินเกสรเป็นอาหาร ได้แก่ไรในสกุล นีโอไซโฟลีแลปส์ ( Neocypholaelaps ) และไรในหสุลเอดบาเรลรัส ( edbarellus ) ซึ่งไรทั้งสองสกุลนี้มีอวัยวะปากที่คล้ายกัน คือ ใช้สำหรับกินเกสดอกไม้ เคยมีผู้พบไรนีโอไซฟีลีแลปส์ (Neocypholaelaps favus )ถึงพันตัวในรังผึ้งหนึ่งรัง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเกิดความเสียหายอย่างเด่นชัดในรังผึ้ง ไรอีกจำพวกหนึ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผึ้งคือ ไรตัวเบียน โดยจะดูดกินของเหลวภายในลำตัวผึ้งหรือกินเลือดของผึ้ง ทำให้ผึ้งมีสภาพที่อ่อนแอ นอกจากจะไม่สามารถแพร่ขยายประชากรผึ้งได้แล้ว ยังสูญเสียผึ้งเนื่องจากไรเป็นสาเหตุเบื้องต้นอีกเป็นจำนวนมาก ไรที่ระบาดทำความเสียหายแก่ผึ้ง ได้แก่ 1. ไรวาร์รัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varroa Jacobsoni ไรวาร์รัวมีลักษณะแบนในแนวราบ ลำตัวกว้างมากกว่าความยาว กว้างประมาณ 1.5 - 1.6 มิลลิเมตร สีน้ำตาลแดงเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเมื่อมองทางด้านหลังจะมองไม่เห็นส่วนของปาก เพราะถูกคลุมด้วยแผ่นทางด้านหลัง ( dorsal shield)  ไรชนิดนี้ได้ปรับตัวที่จะเกาะบนตัวผึ้งได้อย่างดีโดยที่ตรงปลายของแต่ละทาร์ซัสได้ดัดแปลงไปเป็นแผ่นสำหรับดูดเกาะให้ติดแน่นกับลำตัวของผึ้งและขนลักษณะแข็งๆที่อยู่ทางด้านล่างของตัวไรจะช่วยป้องกันอันตรายและติดกับขนผึ้งได้ง่าย โดยปกติไรจะเกาะอยู่ตรงรอยต่อปล้องท้องปล้องแรก หรืออาจจะพบตรงปล้องต่อระหว่างหัวกับอก หรือรอยต่อระหว่างอกกับท้อง ตรงจุดรอยต่อที่มันเกาะนี้ ทำให้ไรสามารถเจาะผ่านเข้าไปดูดของเหลว ภายในลำตัวหรือเลือดของผึ้งได้อย่างสะดวก ด้วยเหตุนี้นอกจากไรจะทำให้ผึ้งสูญเสียเลือดแล้วรอยแผลที่มันเจาะเข้าไปนั้นอาจเปิดโอกาสให้เชื้อโรคต่าง ๆ เข้าไปในระบบหมุนเวียนเลือดของผึ้งได้อีก            2. ไรทอพิลีแลปส์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tropilaelaps clareae ไรชนิดนี้มีสีน้ำตาลอ่อน มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างจากไรวาร์รัว โดยที่ไรทรอพีลีแลปส์มีขนาดตัวเล็กกว่าและยาว มีวงจรชีวิต และมีวิธีการเบียดเบียนผึ้งที่คล้ายคลึงกับไรวาร์รัวแทบทุกประการ ถ้าพิจารณาถึงความเสียหาย หรืออาการพิการที่เกิดขึ้นกับผึ้งโดยไม่เห็นตัวไร จะไม่สามารถบอกได้ว่า สาเหตุเกิดจากไรทรอพิลิแลปส์  ไรชนิดนี้เป็นศัตรูในธรรมชาติของผึ้งพันธุ์ เมื่อมีการนำผึ้งพันธุ์มาเลี้ยงในทวีปเอเชีย ไรจะเข้ามาทำอันตรายผึ้งพันธุ์    และได้พบว่ามีการระบาดทั่วไปในแหล่งเลี้ยงผึ้งโดยเฉพาะ แถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  เป็นยังไงล่ะคะสำหรับศัตรูของผึ้งพอจะทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมบ้างหรือเปล่าคะ ส่วนวิธีป้องกันนั้นขอเป็นว่าจะนำมาเสนอในครั้งต่อไปแล้วกันนะคะ ........แล้วเจอกันใหม่ค่ะ 
คำสำคัญ (Tags): #นิสิตชีวะ
หมายเลขบันทึก: 51230เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2006 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท