เหตุการณ์กับการค้าระหว่างประเทศ


เสถียรภาพของกฎหมายที่มีผล
 

ธุรกิจของประเทศไทยมีเหตุการณ์เด่น ๆ อะไรบ้าง

 ในสถานการณ์ในภาวะปัจจุบัน การทำสัญญญาซื้อ-ขายระหว่างประเทศยังไม่มีกฎหมายพิเศษสำหรับการค้าระหว่างประเทศ และยังไม่เอื้ออำนวยต่อบรรยากาศการลงทุนได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากกฎหมายของแต่ละประเทศมีความซับซ้อนและไม่เสถียรภาพอย่างเพียงพอ โดยการยึดตามอำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐ เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของธุรกิจและการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ 

สำหรับประเทศไทยเองก็พยายามผลักดันที่จะให้มี บทบัญญัติ กฎหมายพิเศษที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของนิติสัมพันธ์ในการค้าระหว่างประเทศ ต่อต้องออกภายใต้รัฐสภา เนื่องจากรัฐสภาเองก็ไม่ให้ความสนใจมากนัก ต้องคอยแก้ปัญหาด้านการเมืองมากกว่า ยิ่งในสภาวะการณ์ในปัจจุบันที่มีความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ  การขาดเสถียรภาพทางการเมือง และนโยบายของแต่ละรัฐบาลก็แตกต่างกันมีการออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องและยกเลิกกฎหมายที่ไม่เอื้อประโยชน์  

และกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนและขยายสาขาของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ก็เป็นอีกสถานการณ์หนึ่งที่เห็นได้เกี่ยวกับ นิติสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศที่ยังไม่มีกฎหมายการควบคุมที่จัดเจน ทำให้เกิดธุรกิจของร้านค้าชุมชนล่มสลาย จากการขยายสาขาของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ และมีการร้องเรียนจากประชาชนให้ออกกฎหมายมาบังคับ แต่ไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก เพราะไม่กฎหมายที่รองรับชัดเจน ในการเข้ามาลงทุนทำธุรกิจ จนต้องเผชิญกับการต่อต้านเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน และขัดต่อวิถีชีวิต ของชุมชน และมีการประชุมร่วมและมีข้อตกลงเรื่องการค้าที่ไม่เป็นธรรม ก็ต้องถูกยกเลิกด้วยเงื่อนไขทางการเมือง เกิดการทำรับประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

อีกอย่างในเมื่อการออกกฎหมายของไทยประเภทต่าง ต้องอยู่ภายใต้รัฐสภา ในเมื่อสถานการณ์ในปัจจุบันที่ไม่มีรัฐสภาก็ไม่สามารถมีกฎหมายออกมารองรับได้ เนื่องจากเกิดการทำรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นเหตุการณ์เด่นที่สุดของประเทศขณะนี้ ก็จะทำให้เกิดการขาดบรรยากาศของการลงทุนชะลอตัว และเสถียรภาพ และมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ทำให้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญต้องถูกยกเลิกไปด้วย  ความมีเสถียรภาพทางการค้าการลงทุนก็อาจจะลดลง จนกว่าจะมีท่าทีของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่จะมีต่อนโยบายทางด้านกิจการ การค้าระหว่างประเทศ และการออกกฎหมายระหว่างรัฐ หรือการสนับสนุนจากต่างประเทศ ที่ติดต่อกัน ต้องดูความชัดเจนทางการเมืองอีกครั้ง

หมายเลขบันทึก: 51194เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2006 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท