ปลูก - เลี้ยงเพื่อความพอเพียง


การเลือกที่จะมีความพอเพียงนั้นมีหลากหลายรูปแบบเพียงเรารับ และรู้ตนเอง ไม่ยึดติดกับสิ่งแวดล้อมภายนอกมากจนเกินไป

      มีพื้นที่น้อยก็ทำน้อย มีพื้นที่มากก็ทำมาก แต่จะต้องมีการจัดการพื้นที่ให้ดี หรือมีความปราณีตทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่มากก็มีการปลูกพืชให้มีความหลายหลายชนิด เลี้ยงสัตว์เอามูลไว้ใส่พืชผักที่ปลูก

      ส่วนเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อยก็ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดอาจจะไม่พอกินแต่อย่างน้อยก็พอลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้  อย่างเช่นการปลูกพืชผักในกระถางยางรถยนต์เก่า หรือไม่ก็เป็นภาชนะที่พอเห็นจะปลูกพืชผักได้

      พืชผักบางทีเราสามารถปลูกได้และใช้พื้นที่น้อย เช่น ตะไคร้ หอม แมงลัก ข่า พริก เป็นต้น บางครั้งเราอาจมองข้ามสิ่งเล็กๆน้อยๆ   อย่างเช่น เราคิดว่าการซื้อผักมัดละ 2 -3 บาท เห็นว่ามันถูก แต่พอมามองย้อนกลับไปเราซื้อเกือบจะทุกวันมันก็เป็นเงินไม่ใช่น้อยอยู่เหมือนกัน เราอาจจะคิดถึงเวลาที่จ่ายเงินตอนซื้อแต่เราไม่เคยคิดถึงค่าเดินทางเลย เมื่อรวมกับค่าเดินทางและค่าผักมันก็เยอะเหมือนกัน แต่ถ้าเราปลูก ผักไว้กินเองไม่ต้องเปลืองทั้งค่เดินทาง ค่าเสียเวลา และยังมีความปลอดภัยในการบริโภคผักอีกด้วย

    โชคดีที่ที่บ้านมีที่ดินเยอะก็เลยจัดสรรปันส่วนในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ทั้งไว้ขาย เอามูล เช่นหมู วัว  และจะทำบ่อปลาดุก โดยทำเป็นบ่อขนาดเล็ก กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ความลึกถึงหัวเข่า และที่บ้านมีโรงสีก็เลยเลี้ยงไก่เอาไว้ให้เก็บกินเมล็ดข้าวที่หักจะออกที่ออกมาพร้อมกับแกลบ 

     การเลือกที่จะมีความพอเพียงนั้นมีหลากหลายรูปแบบเพียงเรารับ และรู้ตนเอง ไม่ยึดติดกับสิ่งแวดล้อมภายนอกมากจนเกินไป เราปลูกเราได้กิน เราทำเรามีกิน ดังนั้นสิ่งที่มากับความอยากที่จะพอเพียงนั้นก็คือความ ขยัน อดทนและอดออม    

หมายเลขบันทึก: 51171เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2006 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท