เรียนรู้จากมุมมองของหลายชาติ ต่อการรัฐประหารในประเทศไทย


         เช้าวันที่ 21 ก.ย.49  ผมฟังวิทยุ VOA ภาคภาษาไทยจากสถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5   ได้ฟังข้อคิดเห็นของตัวแทนชาติต่าง ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้   ว่าเวลาเกิดเหตุการณ์ในบ้านเรา  คนในประเทศต่าง ๆ ก็จะตีความและเข้าใจเหตุการณ์นั้นตาม "แว่นใจ" (Mental Model) ของเขา   และเป็น "แว่นใจ" ที่ปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยของเขา

         ที่ผมจำได้และประทับใจก็มีข้อคิดเห็นจากวุฒิสมาชิก  รัฐมิสซูรี่ของสหรัฐอเมริกาและของผู้แทนประเทศจีน

         คำพูดของวุฒิสมาชิกของสหรัฐอเมริกาทำให้ผมรู้สึกว่าเขามีสุ้มเสียงคล้าย ๆ ว่า  คุณต้องรีบกลับไปเป็นประชาธิปไตยนะ   ผมรู้สึกต่ออีกว่าเขามีท่าทีของประเทศที่ทำหน้าที่คุ้มครองโลกให้เป็นประชาธิปไตย

         คำพูดของผู้แทนประเทศจีนน่ารักกว่ามากในความรู้สึกของผม   เขาบอกว่าจีนไม่ยุ่งกับกิจการภายในของมิตรประเทศ   เรื่องนี้เป็นเรื่องภายในของประเทศไทย

         "แว่นใจ" สุดท้ายที่ขอนำมาเล่าคือ  ของลูกสาวคนเล็กที่ทำงานด้านการเงินอยู่ที่นิวยอร์ค   เขาโทรศัพท์มาด้วยความตื่นตระหนก  บอกว่าในวงการการเงินในสหรัฐเขาตกใจกันมาก   คล้าย ๆ ว่าจะเกิดความวุ่นวาย   มีผลต่อความปลอดภัยของคนไทยและต่อความปั่นป่วนของตลาดเงิน

วิจารณ์  พานิช
 21 ก.ย.49

หมายเลขบันทึก: 51127เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2006 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
อาจารย์ครับ ผมเชื่อว่าสมาชิกใน GotoKnow.org หลายท่านมีคำถามเกี่ยวกับนโยบายในการเขียนบันทึกเกี่ยวกับการเมืองไทยในขณะนี้ครับ

ที่ผ่านมาผมและอาจารย์จันทวรรณได้ลบบันทึกไปไม่น้อยทีเดียว บางทีเราก็ไม่สบายใจเหมือนกันที่เราต้องมาตัดสินว่าบันทึกไหนควรลบบันทึกไหนไม่ควรลบ หลายๆ ท่านก็เป็นนักเขียนประจำแต่เราก็รีบลบเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งที่ 5/2549

ที่ผ่านมาเราใช้วิธี "ลบเกิน ดีกว่าลบขาด" ครับ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราไม่ค่อยสบายใจจริงๆ

ผมจึงขอเรียนด้วยความเคารพให้ สคส. ช่วยกรุณาเขียนนโยบายเรื่องนี้ให้เหล่าสมาชิกได้รับทราบทั่วกัน เพื่อจะได้เป็นสิ่งที่สมาชิกของเราปฎิบัติตามครับ

ที่ ดร. จันทวรรณ เขียนไว้ก็ดีและน่าจะเพียงพอแล้ว

และที่อาจารย์ถือหลัก "ลบเกินดีกว่าลบขาด" ก็น่าจะเหมาะสมแล้ว      โดยเราต้องขอโทษและขอความอดทนระหว่างกัน กับเจ้าของบันทึกที่ถูกลบ

เป้าหมายหลักของเราไม่ใช่ปิดกั้นความเห็น    แต่ต้องการแสดงว่าเราไม่ท้าทายอำนาจคณะปฏิรูปฯ     และต้องการรักษาพื้นที่ ลปรร. อย่างสร้างสรรค์ของ GotoKnow ไว้

ที่ผมลงบันทึกนี้ก็เพื่อแสดงว่า     เราสามารถเขียนเรื่องการปฏิวัติในเชิงสร้างสรรค์ได้ 

วิจารณ์

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ค่อยรู้สึกโล่งใจไปหน่อยค่ะ :)

ขอบคุณอาจารย์ครับ การสามารถเขียนในเชิงสร้างสรรค์ได้นี่เป็นเรื่องดีมากเชียวครับ

นายทาสเขียนกฎหมาย คนเป็นควายไม่ใช่ คน

จ้าวเขียนสัปดน เขียนจนเป็นเทวดา.

รักความยุติธรรม เกลียดอมนุษย์ที่ขูดรีด ลวงหลอก คนจน เช่น เปรม เนวิน ประชาวิบัต กลุ่มพันธมิตรชนชั้นกลาง พวกรวยไม่พอ.

เด็ก ป.4

ในเมืองไทย แทนที่จะว่านายกมีความเป็นคนเท่าประชาชนคนจนนั้น แต่มักเปรียบเทียบตัวเองเท่าเจ้านายหรือคนชั้นสูงกว่า มักยกฐานะตัวเองให้สูงกว่าผู้อื่น ใม่ใช่ยกฐานะของผู้อื่นที่ตํ่ากว่ามาให้เท่ากับตน

ประชาธิปไตยที่เสมอภาคต้องมองคนที่ตํ่ากว่าเราด้วย ไม่ใช่มองเฉพาะคนที่สูงกว่าหรือฐานะดีอย่างเดียว

ไม่ใช่เป็นรัฐบาลของกลุ่มทุนcp หรือ อำนาจมืด

ต้องเป็นรัฐบาลของประชาชนคนจน ไม่ใช่คนชั้นกลางที่มีผลประโยชน์.

เคียงข้างคนจนจริง นิรันดร

นักศึกษา ดำ- แดง

ซีกหนึ่งนั้นคือจ้าวครอง

ที่ดินดูสยอง

อีกซีกหนึ่งค้าความตาย

แลมันนั้นมีผีพราย

แปลงเป็น หมา หมาย

มาวิ่งระเวียนเหียนหัน

ไล่ขบคนในไพรสัณฑ์

ให้ใครแข็งขัน

แลเขี้ยวก็เลือดไหลลาม

ความจนข้นแค้นแสนศัลย์

ใครพร้องรำพรรณ

จักผิดพ.ร.บ.มั่นคง พ.ร.บ.ค่าครองชีพคนจน อยู่หนใด ชาตินี้จะมีไหม ประชาวิบัต ดาวหาง...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท