AAR ทั้ง ภายใน และ ภายนอก


อย่าทำ AAR แค่ เรื่องนอกตัว ควรทำ AAR ภายในกาย ในใจด้วย

วันนี้ ว่างงาน  เพราะ เป็นวันหยุดโดย ไม่มีใครรู้มาก่อนว่าจะได้หยุด

คุยกับ ทวีสิน ปูนแก่งคอย  ได้ แนวคิด เรื่อง AAR  ที่น่าสนใจ  

และเป็น บทที่ XXX ใน หนังสือ LO & KM เล่มใหม่ ของผม  ต่อไป

 

ทบทวนหลังภารกิจ (AAR  หรือ After action review)      เป็นเทคนิค ที่พวกทหารอเมริกันใช้กันบ่อย  จะทำกันหลังภารกิจ (mission) สำคัญๆ    เพื่อเป็นประโยชน์ เป็นความรู้   เป็นการต่อยอดความคิด  ทำให้ในอนาคตจะได้มีแนวคิด แนวปฏิบัติที่ดีขึ้นเรื่อยๆ      เทคนิคนี้  ก็คล้ายกับพวก Show & share  เพียงแต่  จำกัดหัวข้อ  เอาเฉพาะหลังกิจกรรม หลังภารกิจที่ผ่านไปแล้ว  โครงการ (Project)เสร็จแล้ว       ยิ่งคุยกัน  ก็จะได้ เกลียวความรู้ ออกมา   ถ้าใช้บรรยากาศที่เหมาะสม สถานที่เหมาะสม   วาจาที่เหมาะสม   ไม่ทะเลาะ  ไม่ตำหนิ  ถอดยศ ถอดตำแหน่ง  เคารพความคิด  ปิยวาจา  ฯลฯ              

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

·        ต้องมั่นใจว่า คนในกลุ่ม  ผ่านกระบวนการฝึกสติ  เปิดใจ  เคารพความเป็นคน ฯลฯ  มาแล้ว   โดยเฉพาะเจ้านาย   ต้องรักษาอารมณ์   รักษาสติ    อย่าออกอาการ จิตเกิด   ควร Keep cool  ให้มากๆไว้   เจ้านายนี่แหละ เป็นตัวที่น่ากลัวที่สุด 

 ·        ข้อดี  คือ ถ้าใช้ AAR บ่อยๆ   จะทำให้เรื่อง การเรียนรู้ เนียน ไปกับงานประจำได้

·        คนควบคุมการสนทนา ต้องพูดแบบปิยวาจา  รักษามารยาทกรสนทนา ฯลฯ   ควรฝึกสติมาดีแล้ว

 ·        จัดที่นั่งแบบ ไม่มีอะไรมาขวางกั้น  เช่น  วงกลมแบบตัวโอ  หรือแบบพวกอินเดียนแดงล้อมวงกัน  ไม่มีอะไรอยู่ตรงกลาง    เห็นกันชัดๆ เห็นหน้าทุกคน  ดูไม่ออกว่าตรงไหนประธาน   ผมไม่นิยมจัดแบบตัวยู   มันดูเป็นทางการมากกว่าแบบตัวโอ

 ·        มีคนจดบันทึกด้วยก็ดี   (คุณลิขิต)   หรือ เมื่อเสร็จแล้ว  สรุปเป็น ตาราง เป็น mind map   เป็นรูปภาพ  เป็นภาพรวม     ก็ได้   อาจจะเอาไปโพสต์ใน web board หรือ BLog ก็ได้

·        ตัวอย่าง คำถาม ที่ใช้ในการสนทนา ( อย่าถามแบบ เป็น pattern เป็นทางการมากไป  มันน่าเบื่อเหมือนกันนะ)   เช่น              

          - บรรลุเป้าหมายไหม (ทั้ง output / outcome)  :  output เช่น บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้    outcome คือ  ตอบสนองเหตุผลที่เราเกิดมาในโลกนี้ได้หรือเปล่า     เช่น  เราควบคุมสติได้ดีขึ้นไหม  เราละกิเลสขณะปฏิบัติงานได้ไหม  เราเห็นกิเลส ตัวอิจฉา ตัวโมโห ตัวกังวล ฯลฯ ชัดเจนไหม  เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม ไหม                

          - เราเรียนรู้อะไรกันบ้าง   ทั้งทางโลก และ ทางธรรม             

          - ใช้คำว่า Check in  คือ  ตรวจสอบสิ่งต่างๆในใจของเรา  เช่น เรา คาใจอะไร   เราอยากจะบอกอะไรเพื่อนๆ  เรากังวลเรื่องอะไรอยู่   (ใช้ หมวก ให้ ครบ หกใบ  ของ De Bono) เราไม่เข้าใจอะไร   เราอยากเสนอแนะอะไร  เรามีแนวคิดอะไร  นั่นคือ  ตรวจสอบภายในใจแล้ว ระบายออกมา                 

        - ใช้คำว่า Check out คือ  หลังการทำ AAR นี้เรา นั่นคือ ตรวจสอบภายนอกใจเรา  ตรวจสอบกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์  นโยบาย  ฯลฯ   แนวคิดที่เกิดขึ้น จากการประชุมคราวนี้   เราอยากเสนออะไร อยากเตือน อยากป้องกันอะไร  เราคิดอย่างไร สำหรับอนาคต               

        - เราลืมอะไรไป  ทั้งทางโลก และ ทางธรรม              

        - เราได้อะไรมาบ้าง  เช่น ความรู้ทั้งทางตรง  และ ความรู้ซ่อนเร้น  ได้ สติ   ได้เพื่อน กัลยาณมิตร  ประสบการณ์  ความสัมพันธ์ที่ดี  ได้ตัวตนของเราคืนมา   เห็นความชั่วร้ายในตัวเรา ข้อคิด  ข้อควรระวัง  ข้อแนะนำ  ได้นโยบาย  ได้ยุทธศาสตร์  ได้ลูกเล่น  ได้นวตกรรมทางความคิด  ได้นวตกรรมทางกระบวนการ  เปรียบเทียบกับอดีตที่เคยทำมา ฯลฯ

·        อาจจะมี Before Action Review  (ก่อนทำภารกิจ)  และ  During Action Review (ระหว่างทำภารกิจ)  ก็ได้   ไม่จำเป็นต้องมี เฉพาะหลังภารกิจเท่านั้น

·        อาจจะเชิญ คนนอกวงการ  ผู้รู้  ผู้ที่ไม่ได้ร่วมโครงการ  คนที่เคยทำภารกิจคล้ายๆแบบนี้   คนที่คาดว่าจะต้องทำภารกิจแบบนี้ในอนาคต  ฯลฯ เข้าร่วมด้วยก็ได้

·        ทำ AAR แบบ ผ่าน Internet  ทำ Tele conference  โดยจะทำแบบ real time หรือ โพสต์เข้ามาก็ได้   โพสต์ใน web board ก็ได้

 ·        ในการบริหาร TQM จะใช้คำว่า PPA คือ Past Performance Analysis  เป็นการวิเคราะห์ตนเอง  ไม่ใช่ วิเคราะห์ผลลัพธ์ (result)   คนเราส่วนใหญ่จะหลงไปวิเคราะห์ วิจารณ์  และ ตำหนิ  ลงโทษ คนตามผลที่ได้ออกมา    ไม่ได้ โอปนยิโก (ย้อนดูจิตตน) เลย    ผมไม่อยากให้ เราไป เน้นแต่  เหตุผลแบบ รูปธรรม  แบบนอกกายนอกใจมากเกินไป   เราควร ย้อนมาดู อารมณ์  สภาพจิต  วิธีคิด  สติ  ฯลฯ  หลังเสร็จภารกิจด้วย    เพราะ  การแก้ไข ที่ภายนอก แก้ไขที่กระบวนการ   ไม่สำคัญเท่ากับ การแก้ไขที่ ใจ  ครับ    แก้ไขใจได้ อะไร อะไร ก็สำเร็จได้            

 

คำสำคัญ (Tags): #ppa#โอปนยิโก#aar
หมายเลขบันทึก: 51114เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2006 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • แวะมาฝึกสติและสมาธิครับอาจารย์
  • ขอบคุณครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท