ลปรร. เรื่องการจัดการความรู้ ของกองทันตฯ (14) ... KM กับงานกลุ่มวัยเรียน ... นำ KM ไปช่วย


การออกแบบโครงการ สรุปกันว่า How คือ ทำอะไร ทำอย่างไร Why คือ ทำแล้วเกิดอะไรขึ้น และ What คือ ปัจจัย หรือเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความสำเร็จนั้นๆ

 

หมอแว่น (ทพญ.วราภรณ์) เล่าถึงเนื้อหาใจความที่นำ KM เข้าไปช่วยในการเรียนรู้ของกลุ่มเด็ก

ในโครงการ ได้มีการให้ความรู้เรื่อง Model ของการจัดการความรู้ 2 โมเดล คือ KM ของศิริราช (How Why What) ที่จะมาคุยต่อให้ฟังเสนอวันนี้ และ Model ปลาทู ที่ทำเป็นขุมความรู้ และสายธารปัญญา

โจทย์ คือ การทำงานกับ รร. ทำยังไงจึงจะสำเร็จ

นิยาม หมายถึง อะไรที่เราภูมิใจ ดีใจ ประทับใจ ทำแล้วเรามีความสุข ที่จริงอีกชั้นหนึ่ง ก็คือถ้าเราทำได้อีกขั้นหนึ่ง แม้จะทำแล้วล้มเหลว แต่ทำแล้วได้เรียนรู้ ก็เป็นความสำเร็จ แต่ตรงนี้เราตั้งเป้าที่ความสำเร็จ

ในส่วนของการออกแบบโครงการ สรุปกันว่า How คือ ทำอะไร ทำอย่างไร Why คือ ทำแล้วเกิดอะไรขึ้น และ What คือ ปัจจัย หรือเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความสำเร็จนั้นๆ

ในแง่ของการออกแบบโครงการ กำหนดให้ชัด คือ ผู้บริหารเข้าอบรมได้ แต่ก็ยอมให้เป็น ผอ. ก็ได้ ผู้ช่วยก็ได้ที่เป็นตัวจริง ขอให้มาร่วมด้วย เพราะว่าตรงนี้มีผลเยอะมาก ถ้าทำได้แล้ว ครูมีกำลังใจ มีทีมงาน มีงานก็ทำได้สะดวก เพราะว่าผู้นำเข้าใจ ยอมรับโครงการ แลให้การสนับสนุน ... ปัจจัยสำเร็จก็คือ เน้นให้เกิดกระบวนการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ และการทำงานร่วมกัน

มีการออกแบบต่อเนื่อง เพราะว่าจังหวัดเขาไปดูเงื่อนไขของเขา ว่าคนเขามีไหม เป็นอะไร ไปออกแบบต่อในระดับจังหวัด อำเภอ สอ. ออกแบบต่อ ค่อยๆ กำหนดรายละเอียดเข้าไป ถึงตรงนั้นก็เลยยึดตัววัตถุประสงค์อยู่ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ โครงการปรับได้ว่า สนองความต้องการของทีมงาน และสอดคล้องกับเงื่อนไขพื้นที่ ทีมงานก็ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน เขาอยากทำ และอยากเห็น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ก็คือ การกำหนด วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กรอบกลวิธี ชัดเจน ขึ้นอยู่กับวิธีทำงาน และอีกอย่างหนึ่ง คือ การจัดการและการใช้เงินที่คล่องตัว

Input ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การถ่ายทอดความรู้ โดย ทีมมายา เขาบอกว่ามันสำเร็จมาแล้วครึ่งหนึ่ง เพราะว่าครูสนุก อยากทำ เด็กสนุก เห็นสำคัญ และแนวทางที่จะทำ โจทย์เราที่เขาคิดๆ ขึ้นมา ฟังแล้วชัดเจนมาก และเขาได้คิดว่า วิจัยเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องกลัว ก็เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำ

ประเด็นที่ได้รับการจากกิจกรรม โครงการเรียนรู้คู่วิจัยนี้ ตอน “อาหารกับฟันผุ” นี้ ก็คือ

  • นวัตกรรมการเรียนรู้เกิดเยอะมาก สิ่งที่เห็นคือ วัฒนธรรมท้องถิ่น การถ่ายทอดความรู้ สามารถสร้างกระแสให้เกิดการดูแล ทำให้เด็กคิดเป็นทำเป็น เด็กถ่ายทอดคนอื่น เด็กถ่ายทอดสู่เด็ก เด็กสนุก ได้อารมณ์ เข้าใจ มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน ครูก็เลยเปลี่ยนบทบาทเป็นที่ปรึกษา คอยช่วยเหลือ สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก ให้เด็กทำ ครูก็จะค่อยๆ เบาแรงขึ้น และเด็กได้เรียนอย่างสนุก เห็นผลการเรียนรู้มากขึ้น
  • เรื่องการจัดเวที ลปรร. เขาก็มีการ ลปรร. เกิดความประทับใจ บางที่ก็เกิดอารมณ์แข่งขัน จากการเปรียบเทียบ หรือการไปเห็น idea ใหม่
  • การสร้างทีมงาน กับทีมทันตบุคลากรชัดมาก ว่า มีการสร้างความสัมพันธ์กับครู เข้า รร. บ่อยขึ้น เป็นการไปถามไถ่ ให้ความช่วยเหลือ “ครูมีอะไรไหมคะ” “จะให้ช่วยทำอะไรบ้าง” “ให้หมอช่วยอะไร” ก็เป็นการสนิทสนมกลมกลืน เขาไปทำงานกันได้
  • ตรงนี้เป็นผลสำเร็จที่เกิดขึ้นมา คือ เมื่อเข้าใจบริบทโรงเรียน ต้องการให้ครูทำอะไร ศักยภาพของทีมโรงเรียน และการเปลี่ยนบทบาทของสาธารณสุข เป็นคนให้ความช่วยเหลือ ก็มีคำบอกว่า “ใจได้ใจ” ... ชัดเจน บางทีครูก็ไม่ไว้วางใจ ว่ามาหลอกให้ทำอะไรหรือเปล่า เมื่อทำเป็นรูปธรรม เกิดผลงาน ครูยอมรับ ก็เลยเข้ามาทำด้วย ก็เป็นการเกิดความสัมพันธ์ที่ดี และมีการพัฒนาศักยภาพของเด็กนักเรียน บางที รร. ข้างๆ ก็มาถามว่า ทำอะไรกัน ก็เกิดการทำข้าม รร. คือ รร. เขาสนุกมาจนเลื่องลือ เด็กเรียนรู้กันสนุก ครูบอกเลยว่า รู้จักเด็กทั้งด้านศักยภาพของเด็ก และครูปรับบทบาทของครูได้
  • การจัดการที่ตรงกันมาก คือ เรื่องงบประมาณ ที่ว่า งานแลกเงิน เงินใช้คล่อง มีความยืดหยุ่น มันก็ทำให้ได้ผลงาน ก็คือ ความคล่องตัวของงบประมาณ
  • การสื่อสารสองทาง การกระจายข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดเครือข่ายที่ดี มีกิจกรรมทั้งทำรวบ ทำแยก และ มีการ ลปรร. กันมาก ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
  • พอถามว่าเกิดอะไรขึ้น เขาสามารถประเมินการแก้ปัญหาโดยครู เพราะว่า ประเมินได้เลยว่า เปลี่ยนจากตู้น้ำอัดลม เป็นตู้น้ำเย็น ก็เกิดมาจาก เมื่อครูอยู่ใกล้ชิด จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็น และได้ผลขึ้นมาก เด็กก็เข้าใจความต้องการของครู ครูก็เข้าใจเด็ก 

นี่ก็เป็นผลงานที่ได้เกิดขึ้นแล้วกับเด็กๆ ละค่ะ 

 

หมายเลขบันทึก: 51112เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2006 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท