หลังบ้าน...อาคารฐานความรู้ (1)


เมื่อถึงปลายปีที่ท่านได้ไปรับรู้ผลการเรียนของลูก ก็ไม่ต้องแปลกใจนะครับว่า ทำไมผลถึงออกมาทำให้ท่านสมหวังและผิดหวังในบางวิชา คำถามที่ติดตามมาก่อนที่จะคาดคั้นเอากับลูก ผมอยากให้พ่อแม่เริ่มต้นถามที่ตัวเองเสียก่อนครับว่า ก่อนหน้านี้ท่านปฏิเสธคำร้องขอของลูกไปมากมายแล้วแค่ไหน คำว่า “ไม่” ท่านได้เอามาใช้กับลูกในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนบ้างไหม

หลังบ้าน...อาคารฐานความรู้ (1)

          ด้วยบทบาทหน้าที่ทั้งในฐานะกรรมการสถานศึกษา, คนทำงานในเครือข่ายผู้ปกครอง และที่สำคัญที่สุดก็คือ เป็นพ่อของลูกในวัยเรียน 2 คน ทั้งในระดับประถมและมัธยมต้น ทำให้ผมมีโอกาสได้เรียนรู้ว่า โรงเรียนจัดการเรียนการสอนให้กับลูกของเราอย่างไรบ้าง ไม่รู้จริงไปทุกเรื่องหรอกครับ เพราะหลักสูตรสมัยนี้แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 4 ช่วงชั้น ระดับประถมมี 2 ช่วงชั้น คือ ป.1-ป.3 และ ป.4-ป.6 ระดับมัธยมยังมีอีก 2 ช่วงชั้น คือ ม.1-ม.3 และ ม.4-ม.6 เด็ก ๆ จะต้องเรียนเนื้อหาใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือภาษาไทย, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, สุขศึกษาและพลศึกษา, ศิลปะ, การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ภาษาต่างประเทศ

          ผมว่ามาถึงตรงนี้ พ่อแม่หลายคนคงจะนึกสงสัยว่า ทำไมหลักสูตรสมัยนี้จึงแตกต่างไปจากที่เราเคยเรียนในตอนเด็ก ๆ มากมายนัก อย่าเพิ่งทำหน้างง ๆ แล้วหยุดอ่านนะครับ เพราะเมื่อถึงเวลาที่ท่านต้องไปฟังคุณครูประชุมผู้ปกครองเพื่อแจกสมุดพกรายงานผลการเรียน ท่านก็จะได้รับรู้ลึกลงไปอีกว่า โรงเรียนเขามีระบบการสอบวัดผลเก็บคะแนนลูกของเราอย่างไรบ้าง ผลการเรียนในปลายปีจึงปรากฎอย่างที่เห็นในสมุดพก

          ความจริงอย่างหนึ่งที่ผมได้รับรู้ก็คือ การเรียนสมัยนี้พ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก เรียกว่า ต้องเรียนไปพร้อมลูก รายงาน, การฝีมือ และกิจกรรมอีกมากมายหลายอย่าง เขาออกแบบมาเพื่อให้พ่อแม่ช่วยกันทำกับลูก ถ้าท่านปฏิเสธไม่รับรู้เพราะมัวยุ่งอยู่แต่เรื่องการงาน หรือมัวแต่สนใจเรื่องอื่น ๆ ผลงานของลูกก็จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อาจจะส่งงานช้าไม่ทันเวลา หรือไม่มีส่งเอาเสียเลย เมื่อถึงปลายปีที่ท่านได้ไปรับรู้ผลการเรียนของลูก ก็ไม่ต้องแปลกใจนะครับว่า ทำไมผลถึงออกมาทำให้ท่านสมหวังและผิดหวังในบางวิชา คำถามที่ติดตามมาก่อนที่จะคาดคั้นเอากับลูก ผมอยากให้พ่อแม่เริ่มต้นถามที่ตัวเองเสียก่อนครับว่า ก่อนหน้านี้ท่านปฏิเสธคำร้องขอของลูกไปมากมายแล้วแค่ไหน คำว่า “ไม่” ท่านได้เอามาใช้กับลูกในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนบ้างไหม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 511เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2005 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมสงสัยอยู่ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันการศึกษาของใครสักคนจะต้องเรียนมากน้อยแค่ใหน  ต้องเรียนอย่างไร   ใครเป็นคนกำหนด  ผมได้ยินผู้ปกครองท่านหนึ่งตำหนิลูกซึ่งไม่ชอบเรียนหนังสือ หนีเรียนบ่อย   "ให้ลูกตั้งใจเรียนหนังสือโตขึ้นลูกจะได้มีงานทำ  ถ้าไม่เรียนหนังสือแล้วโตขึ้นลูกจะทำอะไรกิน"  ผมเองได้รู้จักกับผู้ปกครองท่านนี้มากพอสมควรได้รู้เห็นการสร้างครอบครัวฐานะมานาน  ตัวพ่อการศึกษา ป.4  แม่ ม.3ไม่จบแต่ทั้งสองคนช่วยกันทำงานสร้างฐานะอยู่ในระดับแนวหน้าในสังคม มีอาชีพทีดีคือค้าขาย  มีบ้าน มีรถยนต์  3 คัน จะเห็นได้ว่าตัวผู้ปกครองเองไม่ได้ใช้ความรู้จากการศึกษา หรือใบปริญญามาใช้ในการประกอบอาชีพ  แต่ก็อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขไม่เป็นภาระให้ใครแถมยังช่วยเหลือสังคมได้อีกมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท