เทคนิคการประเมินตนเองสู่สถานศึกษาพอเพียง (สูตร 3-4-5)


วันที่ 24 พ.ย. 55 ผมมีโอกาสได้ไปตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อน ปศพพ. ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี ร้อยเอ็ด ในระหว่างที่ นั่งฟังการกล่าวเปิดของ ว่าที่ร้อยตรี วัฒนชัย ศาลารัตน์ อดีต ผอ.โรงเรียนโพนทองวิทยายน ผมสังเคราะห์เกณฑ์ก้าวหน้าที่ท่านพูดถึง เป็นสูตรสั้นๆ ผมนำมาบันทึกไว้ตรงนี้เผื่อว่าอาจมีประโยชน์ครับ 

สูตร 3-4-5 คือ "3 ด้าน 4 คน และ 5 ระดับ"  คือ หากจะขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียน ให้พิจารณา 3 ด้าน 4 คน และ 5 ระดับ   

  • 3 ด้านคือ ด้านคน ด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ และด้านความสัมพันธ์กับองค์กรภายนอก 
  • 4 คน คือ ผอ. ครู นักเรียน และกรรมการสถานศึกษา 
  • 5 ระดับ คือ รู้เข้าใจ นำไปปฏิบัติ ชัดเจนถ่ายทอดได้ ขยายผลสู่โรงเรียนอื่น ยั่งยืนระเบิดจากภายใน 
โดยที่แต่ละด้าน หรือแต่ละคน ให้พิจารณาว่า หากต้องการจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ จะต้องพัฒนาให้ครบทั้ง 3 ด้าน 4 คน และ 5 ระดับนี้  ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 

  • ผู้บริหารต้อง รู้และเข้าใจ และนำไปปฏิบัติกับตนเอง และใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนก่อน เช่น ต้องมีการศึกษาตนเอง(รวมทั้งโรงเรียน) ว่า มีทรัยากรเด่น เก่งเรื่องอะไร หรือมีลักษณะบริบทอย่างไร อยู่ภายใต้เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมแบบใด เพื่อให้ "รู้จักตนเอง" ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้รู้และเข้าใจคำว่า "พอประมาณ" เพราะคำว่า พอประมาณ หมายถึง พอประมาณกับตนเอง เมื่อรู้บริบทตนเองแล้ว ได้นำมาใช้ในการวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแปลงสู่แผนปฏิบัติอย่างมีธรรมภิบาล เมื่อเริ่มปฏิบัติแล้วก็มีการกำกับติดตาม และประเมินผลของแผนงานเพื่อป้องกันความผิดพลาด และปรับปรุงให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การประเมินผลที่ดีนับเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีอย่างหนึ่งในการทำงาน 
  • ครู รู้เข้าใจ นำไปปฏิบัติการกับตนเอง และนำไปใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อบ่มเพาะปลูกฝังให้เกิดอุปนิสัยพอเพียงกับนักเรียน ในขั้นการถ่ายทอดได้ ครูแกนนำจะต้องสามารถถ่ายทอดจากความสำเร็จของตนเองสู่เพื่อนครูทั้งโรงเรียน และในระดับขยายผล ครูแกนนำทุกคนสามารถเป็นวิทยากรการนำหลักปรัชญาฯ สู่การจัดการเรียนการสอน ให้แก่ครูจากโรงเรียนภายนอกได้ 
  • นักเรียน รู้เข้าใจ นำไปปฏิบัติกับตนเองในการดำเนินชีวิต จนเกิดอุปนิส้ยพอเพียง นักเรียนแกนนำต้องสามารถถ่ายทอด อธิบาย ดีความ การนำไปปฏิบัติของตนเองสู่ผู้อื่นได้ ส่วนในขั้นการขยายผล นักเรียนแกนนำต้องสามารถขยายผลสู่เพื่อนนักเรียน จนมีนักเรียนที่รู้เข้าใจ นำไปปฏิบัติเพิ่มจำนวนขึ้น
  • กรรมการสถานศึกษา ต้องรู้เข้าใจ ส่งเสริมสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนฯ และช่วยถ่ายทอดขยายผลสู่ชุมชน สังคม 
ฯลฯ
 
หมายเลขบันทึก: 510887เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 06:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จากที่อ่านมา   ผมว่า  บางทีโรงเรียนก็ทำกันอยู่แล้ว  

แต่ที่มีปัญหาที่โรงเรียนไม่อยากทำ คือ ต้องเตรียมเอกสารมากมายในการใช้ประเมิน

 

เห็นด้วย กับท่านsmall man.......

แต่เอกสาร ยังสำคัญอยู่ กรรมการบางเขตฯ ต่างเขตฯ ก็ยังบ้าเอกสารอยู่เหมือนกัน

ปัญหาอยู่ที่ ระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน ไม่พร้อม ไม่ทำให้เป็นปัจจุบัน

พออยากประเมิน....ก็มองอะไรมากไปหมด

ที่โรงเรียนพอเพียงครับ พอเพียงตั้งแต่เอกสาร คือ ไม่มาก แต่เน้นเด็กปฏิบัติล้วนๆ

อยู่ที่การจัดการความรู้ในโรงเรียนครับ

ผู้บริหารควรศึกษาและทำการบ้านเรื่องนี้ ให้ทะลุปรุโปร่ง...มิใช่ อยากได้ แล้วสั่งครูอย่างเดียว

เกณฑ์ก้าวหน้ามีเพียง 8 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเกือบทั้งหมดเป็นตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ซึ่งต้องสังเกตซักถามและวิเคราะห์จากร่องรอย การถามหาร่องรอยที่เป็นเอกสารก็เพียงเพื่อค้นหากระบวนการการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดสู่โรงเรียนอื่น หลังจากที่ พบว่านักเรียนมีอุปนิสัยพอเพียง สิ่งสำคัญตามลำดับขั้นของการประเมิน ที่ผมคิดว่ากรรมการควรตรวจมีดังนี้ครับ

1) นักเรียนมีอุปนิสัยพอเพียงหรือไม่ จำนวนมากน้อยเพียงใด 2) นักเรียนเกิดอุปนิสัยพอเพียงจากอะไร กิจกรรมใดบ้าง หรือจากกระบวนการใด 3)ครูนำสู่นักเรียนอย่างไร 4) ผูับริหารมีกระบวนการขับเคลื่อนอย่างไร 5) กรรมการสถานศึกษา ชุมชนหน่วยงานภายนอกมีส่วนร่วมอย่างไร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท