สิทธิมนุษยชนกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล


กฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองปัจเจกบุคคลทั่วไปอันมีลักษณะเป็นสากล ไม่ได้มุ่งคุ้มครองปัจเจกบุคคลของรัฐหนึ่งรัฐใดโดยเฉพาะ

กฎหมายระหว่างแผนกคดีบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ที่ข้าพเจ้าเขียนมากน้อยเพียงไร 

                 กฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองปัจเจกบุคคลทั่วไปอันมีลักษณะเป็นสากล ไม่ได้มุ่งคุ้มครองปัจเจกบุคคลของรัฐหนึ่งรัฐใดโดยเฉพาะ 

                วิทยานิพนธ์ที่ข้าพเจ้าเขียนนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิสตรีไทยภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี กรณีศึกษา สถานะและสิทธิของสตรีไทยในพุทธศาสนาเมื่อข้าพเจ้าพิจารณาถึงวิทยานิพนธ์ที่ข้าพเจ้าเขียน ว่าเกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลอย่างไรก็เห็นว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลจะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ การจะปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลได้นั้นจะต้องพิจารณาก่อนว่าบุคคลใดที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด นั้นมีลักษณะระหว่างประเทศหรือไม่  อย่างเช่น บุคคลนั้นอาจจะมีสัญชาติต่างประเทศ  หรือมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ หรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ และเข้ามาเกี่ยวข้องกับบุคคลหนึ่งบุคคลใดในประเทศไทยก็อาจเป็นได้ ซึ่งลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลจะเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองบุคคลซึ่งเป็นเอกชนที่มีจุดเกาะเกี่ยวระหว่างประเทศตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป หรือกรณีเรื่องสัญชาติของบุคคลก็เป็นเรื่องของการได้สิทธิหรือเสียสิทธิในสัญชาติ สิทธิที่จะเป็นบุคคลสัญชาติไทยเพราะมีพ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่เป็นคนสัญชาติไทย สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่เราควรจะได้จากรัฐ หากรัฐไม่ยอมให้สิทธิในการที่เราจะมีสัญชาติไทยตามหลักสายโลหิต คือ ตามพ่อแม่เรา รัฐยอมละเมิดสิทธิอันชอบธรรมของเรา รัฐก็ย่อมต้องรับผิดต่อเราได้ และกรณีดังกล่าวก็อาจถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้เช่นกัน เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิอันชอบธรรมของความเป็นมนุษย์ การที่ใครจะมาละเมิดสิทธิดังกล่าวย่อมถือเป็นการไม่ชอบ และหากมีกฎหมายรองรับถึงสิทธินั้นว่ามีอยู่จริงการกระทำดังกล่าวย่อมผิดกฎหมายได้เช่นกัน

              ส่วน วิทยานิพนธ์ที่ข้าพเจ้าเขียนเป็นเรื่องสิทธิสตรีไทย หากมองแต่เฉพาะสตรีไทยก็จะต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น แต่เพียงสัญชาติเดียว และสตรีไทยนั้นก็คงไม่มีองค์ประกอบที่มีลักษณะระหว่างประเทศแน่นอน แต่สิ่งที่จะบ่งบอกว่าวิทยานิพนธ์ที่ข้าพเจ้าเขียนมีลักษณะระหว่างประเทศอย่างไรนั้น ก็คือ กฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี ซึ่งก็ได้แก่ สนธิสัญญา หรืออนุสัญญาต่างๆที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นหลักโดยเป็นความตกลงร่วมมือกันในทางระหว่างประเทศที่มีรัฐเข้าร่วมเป็นภาคีมากกว่า 2 ประเทศขึ้นเพื่อทำความตกลงที่จะปกป้องคุ้มครองปัจเจกบุคคล หากมองดูความตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวจะเห็นว่าเป็นการมุ่งคุ้มครองปัจเจกบุคคลเป็นหลัก ซึ่งก็จะเหมือนกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลที่ให้ความคุ้มครองปัจเจกบุคคลเป็นหลักเช่นกัน       

                 ความแตกต่างของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คือ

             กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีลักษณะข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ  โดยจะเกี่ยวข้องกับประเทศตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป

                ส่วนกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองปัจเจกบุคคลทั่วไปอันมีลักษณะเป็นสากล ไม่ได้มุ่งคุ้มครองปัจเจกบุคคลของรัฐหนึ่งรัฐใดโดยเฉพาะ 

                วิทยานิพนธ์ที่เขียนนั้น  ได้พูดถึง สิทธิที่สตรีไทยจะต้องได้รับความคุ้มครองตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี  สิทธินั้นจะต้องเป็นสิทธิที่ประเทศไทยยอมรับว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ประชาชนควรจะมีและควรจะได้เช่นเดียวกันทุกคน ประเทศไทยจึงเข้าเป็นภาคี เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองค.ศ.1966 ซึ่งก็จะพูดถึงสิทธิในการดำรงชีวิต สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สิทธิในความเสมอภาคตามกฎหมาย สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นต้น ซึ่งเป็นสิทธิโดยทั่วไปที่พลเมืองจะต้องได้รับความคุ้มครองเป็นการทั่วไป แต่ก็จะมีความตกลงบางเรื่องที่มุ่งคุ้มครองกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ค.ศ.1979 ที่มุ่งคุ้มครองสตรีโดยเฉพาะ  หรือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 ก็จะมุ่งคุ้มครองเด็กโดยเฉพาะ  แต่วิทยานิพนธ์ที่เขียนจะมุ่งเฉพาะกลุ่มสตรี ซึ่งเป็นกลุ่มสตรีไทยและศึกษาเฉพาะสิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยเฉพาะสิทธิสตรีไทยในพุทธศาสนาเท่านั้น จะไม่พูดถึงสิทธิสตรีไทยในศาสนาอื่น ที่ศึกษาเฉพาะในศาสนาพุทธเพราะประชาชนไทยนับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในประเทศ แต่กรณีนี้จะศึกษาเฉพาะปัญหาสถานะและสิทธิสตรีไทยในพุทธศาสนาที่เป็นภิกษุณีและแม่ชี  ว่าสถานะและสิทธิของกลุ่มบุคคลทั้งสองประเภทนี้ได้รับการยอมรับตามกฎหมายไทยมากน้อยเพียงใด  และเมื่อเปรียบเทียบภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาในประเทศที่มีกฎหมายรับรองสถานะ และทำให้ได้รับสิทธิต่างๆในฐานะภิกษุสงฆ์ กรณีนี้จะถือเป็นการเลือกปฏิบัติของกฎหมายของรัฐหรือไม่  และการที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ จะถือว่ากรณีดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ คือ ให้การยอมรับสถานะของภิกษุสงฆ์ว่าเป็นนักบวชในพุทธศาสนา แต่ไม่ยอมรับภิกษุณีหรือแม่ชีว่าเป็นนักบวชในพุทธศาสนา  เมื่อไม่ยอมรับก็ย่อมทำให้ภิกษุณีและแม่ชีไม่ได้สิทธิที่นักบวชควรจะได้เพราะไม่มีสถานะเป็นนักบวช   เป็นต้น

                   จะเห็นได้ว่าวิทยานิพนธ์ที่ข้าพเจ้าเขียนก็เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลคนหนึ่งที่ได้รับการปฏิบัติจากรัฐโดยไม่เป็นธรรม เมื่อเปรียบเทียบกับปัจเจกบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการรับรองจากรัฐและมีสิทธิต่างๆ ที่รัฐพึงให้ อย่างไม่เท่าเทียมกัน การปฏิบัติของรัฐดังกล่าวจะถือว่าขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ซึ่งข้าพเจ้ากำลังศึกษาและกำลังเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ เพื่อศึกษาปัญหาดังกล่าวต่อไป                         

หมายเลขบันทึก: 51069เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2006 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อยากถามนงค์พงาว่า

ในความเห็นของนงค์พงา กฎหมายขัดกัน = กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล หรือ ?

อยากให้ลองทบทวนตรงนี้นะคะ มิฉะนั้น จะมองข้ามหลายสิ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับ "สิทธิของสตรีไทย"

กฎหมายขัดกันไม่ได้= กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล แต่กฎหมายขัดกันเป็นส่วนหนึ่งที่รวมอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศบุคคลคะ ขอบคุณอาจารย์คะที่แนะนำ ทำให้หนูต้องกลับไปทบทวนหลายๆรอบ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท