การทำงานของคนต่างด้าว


การทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยนั้น มีเพียงบทบัญญัติที่จำกัดงานไม่ให้บุคคลต่างด้าวทำ...

ปัจจุบันการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นบ่อย  การที่แรงงานเหล่านี้ย้ายจากภูมิลำเนาของตนไปยังอีกประเทศหนึ่งเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  หรือโอกาสที่ดีกว่าที่ได้รับในประเทศของตน

ในครั้งนี้จึงขอกล่าวึงเรื่องการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยว่ามีการควบคุมในรูปแบบใดและมีมาตรการทางกฎหมายอย่างไร 

คนของประเทศหนึ่งที่จะเข้าไปทำงานในประเทศหนึ่งๆ นั้นโดยปกติแล้วสิทธิในการทำงานของคนต่างด้าวนั้นจะเป็นสิทธิที่มีเงื่อนไข เนื่องจากการที่บุคคลผู้นั้นไม่ได้เป็นพลเมืองของประเทศนั้นๆ

ดังนี้ เราจะมาศึกษากรณีการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทย การเข้าทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยนั้นจะเป็นรูปแบบของการกำหนดห้ามทำงานหรือวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยอาศัยเหตุผลทางด้านศาสนาหรือภูมิปัญญาไทย ศิลปวัฒนธรรมและความจำเป็นทางเศรษฐกิจ กฎหมายที่ใช้ควบคุมเรื่องการทำงานของคนต่างด้าวในปัจจุบันได้แก่  พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 โดยงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำนั้นจะบัญญัติอยู่ในมาตาม 6 ของพรบ. ฉบับนี้  ซึ่งจะปรากฏตามพระราชกฤษฎีกากำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำจะมีอยู่ด้วยกัน 39 อาชีพ แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1 งานบริการ

2 งานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยและศิลปวัฒนธรรม

3 งานที่เกี่ยวกับศาสนา

4 งานอื่นๆ

บุคคลต่างด้าวที่จะมาขอรับใอนุญาตทำงานได้นั้นจะต้องไม่เดินทางเข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน  จะต้องเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

แต่พรบ. ฉบับนี้จะใช้บังคับกับบุคคลธรรมดา  จะไม่ใช้บังคับแก่บุคคลที่อยู่ในคณะผู้แทนทางการฑูต  ซึ่งถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลที่ปลอดจากการบังคับใช้กฎหมายภายในของรัฐ

นอกจากนี้คนต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะได้รับใบอนุญาง่ายขึ้น เนื่องจากประเทศไทยประสงค์ในคนต่างด้าวเข้ามาลงทุนจึงมีกฎหมายที่สร้างแรงจูงใจให้คนต่างด้าวเข้ามาลงทุน โดยตามมาตรา 10 ของพรบ.ว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว

 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กฎหมายเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยนั้นเป็นบทบัญญัติที่กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ แต่ไม่ได้มีบทบัญญัติในการควบคุมนายจ้าง  น่าจะเป็นการเปิดเสรีมากเกินไป  เพราะ บทบัญญัติของกฎหมายเพียงแต่บอกว่ากำหนดงานที่ห้ามทำ  จึงสามารถสรุปได้ว่างานใดที่ไม่ห้ามถือว่าคนต่างด้าวสามารถทำได้  กฎหมายการควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว  น่าจะมีการปรับปรุงให้มีความเข้มงวดมากว่านี้  ดังเช่นกฎหมายของประเทศอื่นๆ  ที่จะต้องมีบทบัญญัติควบคุมนายจ้างด้วย

ดังนั้นในครั้งต่อไปจะศึกษากรณีการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศอื่นว่ามีรูปแบบที่เหมือนหรือแตกต่างกับของประเทศไทยอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 51034เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2006 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท