วิถีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


วิถีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

                 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างสู่ศตวรรษที่ 21 ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อก้าวทันปัจจุบัน  ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

                 ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ได้กล่าวว่า “ เด็กยุคใหม่ ความรู้เยอะกว่าเด็กยุคเก่า เพราะฉะนั้นการเรียนในห้องเรียนยากมากที่เด็กจะสนใจ เพราะเด็กจะสนใจเรื่องอื่นที่น่าสนใจกว่า เด็กจะเลือกเองทั้งหมดยังไม่ได้ เด็กยังคิดกว่างขวางยังไม่ได้ การศึกษาต้องเข้าไปช่วย”

                นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ กล่าวว่า “เด็กในศตวรรษนี้เป็นเด็กยุค IT  ยุคสารสนเทศ จำนวนความรู้มหาศาลเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เราไม่ต้องการเด็กท่องเก่ง เด็กเกรียนเก่ง เพียงอย่างเดียว เราอยากได้นักเรียน บัณฑิต ที่ใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ของใหม่เรื่อยๆ และรู้วิธีที่จะเรียนรู้ด้วยการมีทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) พร้อมกันนั้นก็อยากให้เด็กมีทักษะการใช้ชีวิตที่ดีด้วย (Life Skills)

ในศตวรรษที่ 21  เด็กควรจะได้รับการสอน ความรู้ในสาระวิชาหลัก คือ ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐและความเป็นพลเมืองที่ดี

เด็กควรรู้แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 ของสาระวิชาหลักซึ่งประกอบไปด้วย

        -  ความรู้เกี่ยวกับโลก

        -  ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ

        -  ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี

        -  ความรู้ด้านสุขภาพ

        -  ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้เด็กควรได้รับการฝึกทักษะ   3  3 เรื่อง คือ

      1.  ทักษะชีวิตและการทำงาน ประกอบด้วย ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์ และเป็นตัวของตัวเอง ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผลิต และความรับผิดชอบ เชื่อถือได้ ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ

       2.  ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา การสื่อสารและความร่วมมือ

       3.  ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี คือ การใช้และประเมินผลสารสนเทศได้อย่างเท่ากัน วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 4 ด้าน

        ด้านที่ 1  ด้านมาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21 

        ด้านที่ 2  ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21

        ด้านที่ 3  ด้านการพัฒนาครูศตวรรษที่ 21 

        ด้านที่ 4  ด้านสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

“การเรียนการสอนแบบมอบความรู้กันตรงๆใช้ไม่ได้ผลกับยุคปัจจุบัน จากผลการวิจัย ครูไม่ควรสอนเยอะ เพราะความรู้ปัจจุบันมีอยู่เยอะ ให้ส่วนที่สำคัญแก่เด็ก เพราะเด็กมีความรู้ความสามารถไปต่อให้งอกเงยได้เอง ส่วนที่ไม่ได้สอน เด็กจะเรียนรู้ได้เอง (Teach less, Learn more)” ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าว

อย่างไรก็ตามการจะจัดการเรียนการสอนให้ก้าวไปสู่ศตวรรษที่ 21  อย่างได้ผล ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างของบริบท สภาพแวดล้อม ปัจจัยความเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพราะคิดว่าขาดปัจจัยในการก้าวสู่ศตวรรษที่ 21

อ้างอิง

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม  สำนักงาน   

   ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน  

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

www.youtube.com

คำสำคัญ (Tags): #ศตวรรษที่ 21
หมายเลขบันทึก: 509561เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2012 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท