ชิปผสม ซิลิกอนและเลเซอร์


อินเทล พัฒนาชิปแบบใหม่

อินเทล (Intel)  ได้ร่วมกันพัฒนากระบวนการผลิตชิปคอมพิวเตอร์แบบใหม่ขึ้น การผลิตชิปดังกล่าวจะทำให้เกิดชิปลูกผสมซิลิกอนและเลเซอร์   (hybrid silicon-laser chips) ที่สามารถส่งข้อมูลได้ทางแสงเลเซอร์ แทนที่จะส่งผ่านสายเชื่อมต่ออย่างที่เป็นในชิปซิลิกอนปัจจุบัน

 

ซึ่งเป็นการผสานเทคโนโลยีซิลิกอนเดิมเข้ากับการใช้เทคโนโลยีโฟโตนิค  อินเทลระบุว่าการใช้แสงเลเซอร์เป็นทางสื่อสารข้อมูลระหว่างกลุ่มชิปหลายๆในระบบ จะช่วยลดปัญหาคอขวด หรือปัญหาความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลที่ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของวงกรชิปปัจจุบันอยู่ได้

 

อุปกรณ์โฟโตนิคนั้นแตกต่างจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรงที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้อิเล็กตรอนเป็นตัวพาหะในการนำข้อมูล แต่โฟโตนิกส์จะใช้แสง (Photon) เป็นตัวพาหะ การใช้แสงเป็นตัวพาหะทำให้อุปกรณ์โฟโตนิคมีคุณภาพในการรับส่งข้อมูลเหนือกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความเร็วของการส่งข้อมูลของโฟโตนิคนั้นเท่ากับความเร็วแสง และยังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับแสงซึ่งมีขนาดเล็ก ทำให้สามารถบรรจุวงจรโฟโตนิคได้ในจำนวนที่มากกว่าวงจรอิเล็กทรอนิกส์

 ซึ่งนั่นก็เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จากการส่งข้อมูลผ่านทางสายเชื่อมต่อของชิปซิลิกอน มาเป็นการส่งข้อมูลผ่านทางแสงเลเซอร์ ที่มีราคาถูกแต่คุณภาพ ความสามารถในการทำงานสูง รวดเร็วกว่า แล้วยิ่งต่อไปในอนาคตต้องมีการพัฒนาจากแสงเลเซอร์ไปเป็นสิ่งอื่นที่ดีกว่า สะดวกกว่า มีประโยชน์และราคาถูกกว่าด้วย ค่ะ ที่มา  ผู้จัดการออนไลน์
คำสำคัญ (Tags): #ima#itrsu
หมายเลขบันทึก: 50943เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2006 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท