ปกิณกะคดีควาย : ควายในตำนาน


อารยธรรมเขมรที่เคยรุ่งเรืองอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ มีความเชื่อในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายหรือปาศุปตะที่นับถือเทพเจ้าสำคัญ ๓ องค์ ซึ่งเรียกว่า ตรีมูรติ ได้แก่ พระศิวะ ถือว่า เป็นเทพเจ้าสูงสุด เป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งในจักรวาล องค์ที่ ๒ คือ พระพรหม ถือว่า เป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลกในตอนต้น องค์ที่ ๓ คือ พระวิษณุ เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่างเป็นผู้บำรุงรักษาโลกและปกปักษ์รักษามวลมนุษย์

นอกจากนี้ยังนับถือเทพเจ้าอีกมากมายและสลักเป็นรูปเทพเจ้าไว้ตามปราสาทต่างๆ เทพเจ้าแต่ละองค์ก็จะมีสัตว์เป็นพาหนะประจำพระองค์แตกต่างกันไป ยกตัวอย่าง เช่น
    โคนนทิ (Nandi) หรือ โคอศุภราชเป็นพาหนะของพระศิวะ (หรือพระอิศวร) และพระอุมา
     หงส์ (Hamsa) เป็นพาหนะของพระพรหมเทพเจ้าผู้รักษาทิศเบื้องบน
     ครุฑ  (Garuda) เป็นพาหนะของพระวิษณุ (หรือพระนารายณ์)
     ช้างเอราวัณเศียรเดียว (Eravana) เป็นพาหนะของพระอินทร์ (Indra) เทพเจ้าผู้รักษาทิศตะวันออก
     ระมาด (Ramad) หรือ แรด เป็นพาหนะของพระอัคนี (Agni) เทพเจ้าแห่งไฟและเป็นเทพเจ้าผู้รักษาทิศตะวันออกเฉียงใต้
    ม้าอัศดรเป็นพาหนะของพระวายุ (Vayu) เทพเจ้าแห่งลมและเป็นเทพเจ้าผู้รักษาทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
     คชสีห์ (Gajasimha) เป็นรูปสิงห์ที่มีงวงเหมือนช้าง เป็นพาหนะของท้าวกุเวร (Kuvare) เทพเจ้าผู้รักษาทิศเหนือ
     สิงห์ (Simha) เป็นพาหนะของพระเกตุ (Ketu)
นาคห้าเศียร (Naga) เป็นพาหนะของพระพิรุณหรือพระวรุณ (Varuna) เทพเจ้าผู้รักษา
ทิศตะวันตกและเป็นเทพเจ้าผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์
     ส่วนกระบือ หรือ กรบิ (Krabi) นั้นเป็นพาหนะของพระยม (Yama) เทพเจ้าผู้รักษาทิศเบื้องล่างเป็นเทพผู้ตัดสินคดีภายในนรก
     ได้มีการค้นพบประติมากรรมรูปกระบือทรงเครื่องที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ รูปกระบือดังกล่าวคล้ายคลึงกับรูปโคนนทิพาหนะของพระศิวะ แต่รูปโคนนทิหากสลักเป็นประติมากรรมลอยตัวก็มักแสดงเป็นรูปโคกำลังหมอบเสมอ
     เครื่องประดับที่ปรากฏบนประติมากรรมรูปกระบือที่เขาพนมรุ้งจะเห็นว่าเครื่องหลังและสร้อยคอตกแต่งด้วยอุบะขนาดสั้นห้องประดับ มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องประดับของช้างเอราวัณในศิลปะแบบนครวัด  นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมรูปพระยมทรงกระบือบนกลีบขนุนปราสาทด้านทิศใต้ซึ่งพระยมประทับนั่งหันหน้าออก พระหัตถ์ขวาชูคฑาขึ้นเสมอพระเศียร ส่วนกระบือที่ทรงนั้นหันข้างออกมีผ้าลาดบนหลังและตกแต่งด้วยเครื่องประดับ
     นอกจากความเชื่อตามศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายแล้ว ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องพิธีทำบุญสงกรานต์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับควายหรือกระบืออยู่บ้าง ตามนิทานที่เล่ากันต่อๆมาว่าท้าวกบิลพรหม (บางแห่งเรียกว่าท้าวมหาพรหม)  ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ มีธิดาอยู่ ๗ องค์ ได้แก่ นางทุงษะ นางรากษส นางโคราด นางกริณี นางมณฑา  นางกิมิทาและนางมโหธร ทั้ง ๗ นางเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์และจัดให้เป็นนางสงกรานต์
     ต่อมาแพ้การตอบปัญหาธรรมกับ "ธรรมบาลกุมาร" ถูกตัดศีรษะ นางสงกรานต์ทั้ง ๗ ก็ผัดเปลี่ยนเวรกันมาเชิญพระเศียรของท้าวกบิลพรหมผู้บิดาออกมาแห่ทุกรอบ ๓๖๕ วัน (๑ ปี)
     
     ถ้าพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ วันอาทิตย์เป็นเวรของนางทุงษะแต่งตัวทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาทรงจักร ซ้ายทรงสังข์ ขี่พาหนะครุฑ
     วันจันทร์ เป็นเวรของนางโคราด แต่งกายทัดดอกปีบ  เครื่องประดับมุกดา ภักษาหาน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า ขี่พาหนะเสือ
     วันอังคาร เป็นเวรของนางรากษส ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา  ภักษาหารโลหิต อาวุธขวาตรีศูล ซ้ายธนู ขี่พาหนะสุกร
     วันพุธเป็นเวรของนางมณฑา ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า ขี่พาหนะลา
    วันพฤหัสบดี เป็นเวรของนางกริณี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน ขี่พาหนะช้าง
     วันศุกร์ เป็นเวรของนางกิมิทา ทัดดอกจงกลณี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ ขี่พาหนะกระบือ
     วันเสาร์ เป็นเวรของนางมโหธร ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล ขี่พาหนะนกยุง
     นอกจากจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ที่เป็นพาหนะของเทพตามตำนานหรือของนางสงกรานต์ตามความเชื่อที่มีมาแต่โนราณแล้ว ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ที่เป็นเครื่องสักการะเทวดาประจำทิศทั้ง ๘ ในประเพณีทำบุญมหาชาติ หรือพระเวสสันดร หรือบุญผะเหวด  ที่เป็นบุญเดือนสี่ของชาวอีสาน และจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็นงานประเพณีประจำจังหวัดมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๓
     ในงานจัดงานบุญตามประเพณีดังกล่าวจะมีการทอหรือปักลวดลายบนทุง หรือธง หรือตุง (ภาคเหนือ) โดยปักเป็นรูปสัตว์ ตามคำกลอนอีสานที่จารึกไว้ดังนี้
" ครุฑก็เนาอยู่ยังหนแห่งบูรพา
อาคเณย์แมวอยู่เผือแผงเฝ่า
ทักษิณเจ้าราชสีห์แหนแห่
บักเค่าเม่า นั่งเฝ่าหรดี
         ปัจฉิมเมนาคล่ำประจำอยู่ปัจฉิมเม
          หนูเนาในพายัพ อยู่เผือแผงข่าง
         อุดรซ่างพายศาลล้านเถื่อน
         เลือนเลือนงัวแม่ง่องกินหญ่าฝ่ายอีสาน"
 
ในหนังสือ "สืบสานประเพณี งานบุญผะเหวดจังหวัดร้อยเอ็ด ๑-๓ มีนาคม ๒๕๔๕ ได้ให้รายละเอียดไว้ว่าทุงรูปสัตว์ที่ปักไว้ตามทิศทั้งแปดนอกจากจะบูชาเทวดาประจำทิศแล้ว ยังเป็นเครื่องบูชาสาวกของพระพุทธเจ้าด้วย ดังนี้ คือ
  ทิศบูรพา ทุงรูปครุฑ บูชาพระอัญญาโกนฑัญญะ
   ทิศอาคเนย์ ทุงรูปแมว  บูชาพระมหากัสสปะ
   ทิศทักษิณ ทุงรูปราชสีห์ บูชารพระสารีบุตร
   ทิศหรดี ทุงรูปเสือ บูชาพระอุบาลี
   ทิศปัจฉิม  ทุงรูปนาค บูชาพระอานนท์
   ทิศพายัพ ทุงรูปหนู บูชาพระควัมปติ
  ทิศอุดร ทุงรูปช้าง  บูชาพระโมคคัลล่
   ทิศอีสาน  ทุงรูปวัว  บูชาพระราหุล

จากความเชื่อ ตำนาน หรือนิทานต่างๆ มักจะมีสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ดังนั้น คนกับสัตว์คงจะต้องมีความผูกพันกันตลอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

จากส่วนหนึ่งในผลงาน ควายกับฅน ของ เรืองศักดิ์ ละทัยนิล ที่ตั้งใจทำขึ้นด้วยความสำนึกในคุณค่า และแรงศรัทธาที่มีต่อ ควายไทย จ



หมายเลขบันทึก: 50929เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2006 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณบอน

ครูอ้อย ก็เขียนเรื่อง ควาย ที่ ควายได้เพื่อน

คิดถึงจังเลย

ความคิดถึงของครูอ้อย กำลังเดินทางยกใหญ่เลยนะครับช่วงนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท