หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน : มมส.และ สกว.ฝ่ายวิจัย ...สู่การจัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อท้องถิ่น


Four in One: และพันธกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน

 

 

การขับเคลื่อน 1 หลักสูตร 1 ชุมชน  ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ หรือการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งสู่แนวคิด “เรียนรู้คู่บริการ” และการใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  โดยมี “ชุมชน”  หรือ “ท้องถิ่น”  เป็นแหล่งเรียนรู้  รวมถึงการบูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยใน 4  องค์ประกอบหลัก  (Four in One) ไปพร้อมๆกัน คือ ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการสู่สังคม  และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุมถึงการพยายามสื่อสารถึง “จุดยืน” หรือ “พันธกิจ”  อันยิ่งใหญ่ที่มหาวิทยาลัย  (สถาบันอุดมศึกษา)  มีต่อสังคม  มิใช่ตระหง่านอยู่บน “หอคอยงาช้าง”


การขับเคลื่อน 1 หลักสูตร 1  ชุมชน  เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง “มหาวิทยาลัยกับชุมชน”  นับตั้งแต่การพัฒนาโจทย์เพื่อนำมาสู่การบริการวิชาการ  การออกแบบกิจกรรมตั้งแต่ระยะต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ  ภายใต้กระบวนทัศน์อันสำคัญคือ “ลงมือทำร่วมกัน”  พยามยามหลีกเลี่ยงการสร้างความเลื่อมล้ำในทางการเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

 

ครับ,คำว่า “มหาวิทยาลัย”  ในมิติของผมก็หมายถึง อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต  ส่วน “ชุมชน”  ก็หมายถึงชาวบ้าน หรือแม้แต่ภาคีอื่นๆ ที่อาจครอบคลุมถึงภาคีภาคส่วนต่างๆ  ทั้งจากภาครัฐและเอกชน-

 


 

 

1 หลักสูตร 1 ชุมชน : สู่การตั้งศูนย์วิจัยเพื่อท้องถิ่น

 


การขับเคลื่อน 1 หลักสูตร 1  ชุมชนไม่เพียงดำเนินการภายใต้นโยบายของการเรียนรู้คู่บริการที่เน้นกระบวนการบูรณาการภารกิจหลัก 4 ประการ (Four in One) เท่านั้น  แต่ยังมุ่งที่จะศึกษา “ระบบและกลไกของการจัดตั้งศูนย์
(หน่วย) วิจัยเพื่อท้องถิ่น”  ไปพร้อมๆ  กัน  โดยเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย วิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ด้วยการ จัดทำข้อตกลงร่วมกัน (
Memo of
Understanding - MOU) ในลักษณะการร่วมทุนทั้งสองฝ่าย (Co-funding)

 

ด้วยเหตุนี้  การขับเคลื่อน1 หลักสูตร 1 ชุมชนของมหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงไม่ใช่แค่ภารกิจ 4 ประการเท่านั้น  หากแต่เป็นกระบวนการหนึ่งของการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์/หน่วยวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาอาจารย์  นักวิชาการในมหาวิทยาลัยควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของ “ชุมชน”  ให้เติบโตเป็นนักพัฒนา หรือนักวิจัยที่สามารถหยิบจับเอา “ทุนทางสังคม” ของตนเองออกมาสู่การพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นตนเอง โดยอาศัย “ศาสตร์”  หลากมิติ  และอาศัยเครือข่ายหลากระบบมาช่วยเสริมศักยภาพของชุมชนในแบบของการ “เรียนรู้ร่วมกัน”

 


 

แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าถึงแม้จะยังไม่ก้าวเดินบรรลุถึงการจัดตั้งศูนย์หรือหน่วยวิจัยเพื่อท้องถิ่นโดยตรง  แต่มหาวิทยาลัยมหาสารคามกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย วิจัย (สกว.)  ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ก็มีกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อเสริมพลังได้อย่างน่าสนใจ  มิใช่แค่การให้ทุนสนับสนุนการบริการวิชาการในมิติ 1 หลักสูตร 1 ชุมช
จำนวน 65 หลักสูตรๆ ละ 80,000 บาท เท่านั้น   หากแต่หมายถึงการสนับสนุนให้อาจารย์และชุมชนได้รับทุนการวิจัยจำนวน 5 โครงการโครงการละ 200,000 บาท อันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน  เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์/หน่วยวิจัยเพื่อท้องถิ่น 


โดยผู้ที่ได้รับทุนก็ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะอาจารย์หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัยเท่านั้นแต่ยังเปิดกว้างให้อาจารย์จากสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาของจังหวัดมหาสารคามได้เสนอโครงการเข้ามาของรับทุนการวิจัยด้วยเช่นกัน 


กระบวนการเช่นนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เป็นที่ตั้ง ไม่ติดยึดกับการพัฒนาศักยภาพของตนเองโดยไม่คำนึงถึงการแบ่งปัน หรือร่วมเรียนรู้กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ

วิธีคิดเช่นนี้ จึงสื่อให้เห็นถึงเค้าลางอันเป็นบทบาทและสถานะของศูนย์หรือหน่วยวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่กำลังจัดตั้งขึ้นด้วยเหมือนกันทั้งในระบบการให้ทุน  ติดอาวุธทางปัญญาหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาชุมชนผ่านการวิจัยแบบมีส่วนร่วม

 


 

 

ให้ทุน... ให้การหนุนเสริม : พัฒนาต่อยอด


ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ไม่เพียงให้ทุนสนับสนุนต่อการทำวิจัยเท่านั้น  แต่ได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับคณะผู้วิจัย (อาจารย์-ชาวบ้าน)  รวมถึงคณะทำงาน 1 หลักสูตร 1 ชุมชน  ตั้งแต่การพัฒนาโจทย์  การออกแบบกระบวนการเรียนรู้/วิจัยแบบมีส่วนร่วม  การถอดบทเรียน การจัดกระทำกับข้อมูล-ความรู้สู่ “นวัตกรรม”  ในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อผู้คนหลากวัย หลากสถานะ ไม่ใช่นวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ที่อ่านได้เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น 


ด้วยเหตุนี้การสกัดข้อมูลหรือชุดความรู้สู่การเผยแพร่นั้น  จึงคิดคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายหลากหลายมิติ เช่น นักวิชาการ  ผู้เรียน เด็กเยาวชน  ชาวบ้าน ฯลฯ  เป็นที่ตั้ง  เสมือนการย้ำถึงแนวคิดของการ “...สื่อสารสร้างสุข..สื่อสารเพื่อให้เกิดพลังสื่อสารให้ตรงตามคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย....”


ครับ,ในกระบวนการหนุนเสริมเหล่านี้  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฯ  ขันอาสาเป็น “พี่เลี้ยงใหญ่”  ด้วยการระดมนักวิชาการที่เคยทำวิจัย/โครงการวิจัยแบบ CBR (เชิงลึก)  มาคอยให้คำแนะนำ กระตุ้นให้ผู้ขับเคลื่อนงานวิจัยและงานบริการ 1 หลักสูตร 1 ชุมชนไปอย่างใกล้ชิด ภายใต้หลักคิดคือการเรียนรู้ร่วมกันจัดการความรักคู่กับการจัดการความรู้...

 

ซึ่งกระบวนการเช่นนี้ปรากฏหลายรูปลักษณ์  เช่น กลั่นกรองโครงการ บรรยายให้ความรู้และร่วมฝึกปฏิบัติการภาคสนาม ลงพื้นที่เยี่ยมยามถามข่าว  จัดเวทีถอดบทเรียนเป็นระยะๆ  ประเมินผลการขับเคลื่อนของแต่ละโครงการฯ

 


 

อย่างไรก็ดีกระบวนคิดดังกล่าว  เสมือนการพยายามสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ในอีกมิติหนึ่ง  บางกลุ่มถูกสร้างผ่านเวทีงานวิจัยโดยตรง  บางกลุ่มถูกสร้างผ่านงานบริการวิชาการ  และพร้อมที่จะเติบโตเป็น “พี่เลี้ยงรุ่นใหม่”  ไปในตัว เสมือนหลักการของการเป็น “ผู้นำ” ที่ต้องสร้าง “ผู้นำ” หรือ “นักวิจัย”  สร้าง “นักวิจัย”  มิใช่ลงทุนแล้วหายวูบไปกับกระแสธาร หรือกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ “เรียนรู้”


ครับ, เมื่อเดินทางมาถึงจุดนี้  ถึงแม้จะยังไม่ก้าวย่างไปสู่การจัดตั้ง“ศูนย์/หน่วยวิจัยเพื่อท้องถิ่น”  กระบวนการทำงานร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ก็ยังขับเคลื่อนอย่างค่อยเป็นค่อยไป  ...(ทำไปเรียนรู้ไป) 



เฉกเช่นกับการขับเคลื่อนในระยะนี้ก็อยู่ระหว่างการออกแบบเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ออกแบบการโสเหล่ 
ออกแบบการประเมินผลเพื่อเชิดชูกระบวนการเรียนรู้  คัดเลือกชุมชนต้นแบบและชุมชนต้นแบบ  เพื่อเป็น “โมเดล” ของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  รวมถึงพัฒนาต่อยอดสู่การ “วิจัย” และ “การบริการวิชาการ”  อีกรอบ เพื่อก่อให้เกิดความ “ต่อเนื่อง”
  หรือแม้แต่การกลับไปปรับแต่งเรื่องบางเรื่องที่ยังตกค้างอยู่ในวิถีของการทำงานในรอบที่ผ่านมา


ครับ, ผมเชื่อว่ากระบวนการเล็กๆ เช่นนี้แหละ คือแนวโน้มสำคัญที่หมายถึงความเข้มแข็งของชุมชนอันหมายถึง “มหาวิทยาลัย” และ “ชุมชน” รวมถึงความเข้มแข็งของกระบวนการจัดการเรียนรู้...




หมายเลขบันทึก: 509105เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2012 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ทั้งแนวคิด..กระบวนการ และการขับเคลื่อนร่วมกันเช่นนี้ สะท้อนแบบอย่างดีๆของมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชนเป็นสุข..ขอให้กำลังใจค่ะ

หากประเทศไทย มีคนที่ีมีความคิดริเริ่มและมีศักยภาพแบบนี้เยอะก็คงขับเคลื่อนไปได้เยอะนะคะ เป็นกำลังใจให้นะคะ

สวัสดีครับ พี่ใหญ่นงนาท สนธิสุวรรณ

การบริการวิชาการแก่สังคมในมิติ 1 หลักสูตร 1 ชุมชน   เน้นให้แต่ละหลักสูตรนำจุดแข็ง/ศักยภาพของตนเองไปสู่การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม  โดยเริ่มตั้งแต่การหาโจทย์ของการทำงานร่วมกัน  ส่วนนิ

สิตก็จะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการชุมชน  เป็นการเรียนการสอนที่ไม่จมอยู่แต่ในห้องเรียน  นิสิตมีอิสระในการออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ขณะที่ผู้สอนทำหน้าที่เป็น "โค้ช" ...

1 หลักสูตร 1 ชุมชน  จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และบ่มเพาะอันสำคัญตามเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ว่า

  • มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน
  • นิสิตเป็นที่ช่วยเหลือสังคมและชุมชน

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับ พี่Bright Lily

การได้คิดแล้วมีโอกาสได้ลงมือทำ  ผมถือว่าเป็นเรื่องวิเศษสุดของชีวิต   เพราะปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ ดังนั้นการเรียนรู้ในบริบทของกิจกรรม 1 หลักสูตร 1 ชุมชน  จึงเป็นทางอันยิ่งใหญ่  เพราะนิสิต หรือผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ  เป็นการเรียนรู้และปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทั้งนิสิต อาจารย์ ชาวบ้าน หรือแม้แต่เครือข่ายอื่นๆ  สิ่งเหล่านี้  ผมเชื่อว่านิสิตจะเกิดกระบวนทักษะของการการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี

ขอบพระคุณครับ

เชื่อว่าชุมชนยังอยากให้มหาวิทยลัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเช่นเดียวกัน...เห็นๆได้จากที่นิสิตลงชุมชนแล้ว..เห็นความสุขออกมาจากร้อยยิ้ม

สวัสดีครับ คุณ แดนไท

หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน  เสมือนสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกับชุมชน  ด้วยการที่มหาวิทยาลัยเดินออกสู่สังคมอย่างเป็นระบบ  ไม่เจ้ายศเจ้าอย่าง...แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  ลดความเหลื่อมล้ำในทางความรู้...

คิดว่า มมส. เดินทางถูกทาง แล้วครับ

สุดยอด อ.แผ่นดินเป๊ะมาก อย่างนี้ซิ blogger ในใจชลัญ

  • ส่งแรงใจมาเชียร์เต็มที่ครับ
  • เป็นความฝันหนึ่งที่อยากให้เกิด ตั้งแต่ผมตัดสินใจไปร่วมงานที่ มมส. แล้วครับ
  • ดีใจมาก ๆ ที่ความฝันจะกลายเป็นความจริง
  • http://www.gotoknow.org/blogs/posts/122212

 

-สวัสดีครับ..

-หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน...เป็นแนวคิดที่ดีครับ..

-ร่วมสนับสนุนครับ..

-ค่อยเป็นค่อยไป...ร่วมเรียนรู้..ไปด้วยกัน..ครับ...

-ขอบคุณครับ..

 

สวัสดีค่ะ พี่พนัส

  • ชอบค่ะสำหรับโครงการนี้
  • เป็นสิ่งที่ดีที่ไม่แบ่งแยกพวกเราพวกเขา
  • เป็นการให้โอกาสคนในและคนนอกได้สัมผัสกันและกัน
  • ได้รับรู้บูรณาการแนวคิดทั้งสองฝ่ายให้เข้มข้นอย่างเข้มแข็ง
  • ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นก็คือส่วนรวม ประเทศชาติ นั่นเองนะคะ
  • ปลื้ม.. และขอสนับสนุนให้บังเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนนะคะ.

ด้วยความระลึกถึงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท