practice-based evidence ไม่ใช่ evidence-based practice


เพิ่งมารู้ แต่ก็ยังไม่สาย

วันนี้คุยกับ อจ ลัดดา เหมาะสุวรรณ พูดถึงเรื่องการทำงานแก้ปัญหาเด็กอ้วน ซึ่งทาง มสชทำงานกับ อจ มากว่าปี โดยมีคุณหมอชูชัยมาเป็น ประธานคณะทำงานประสานวิชาการ และมี สกว เป็นเจ้ามือสนับสนุนงบประมาณในการสร้างความรู้ และเชื่อมโยงความรู้ไปใช้ประโยชน์

มีอยู่ตอนหนึ่งเราคุยกันว่า ทาง สกว อยากให้ มสช ทำงานในลักษณะขยายผลจากความรู้ที่มีอยู่แล้ว เพื่อเอาไปสู่การแก้ปัญหาโรคอ้วนในโรงเรียน แต่พวกเรารู้สึกว่า สกวน่าจะสนับสนุนการสร้างความรู้มากกว่าไปสนับสนุนการแก้ปัญหา

คุณหมอลัดดาก็เลยเล่าให้ฟังว่าความจริงสองเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันได้นะ และความจริงแล้วความรู้เพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วน ก็จะไปคิดแบบวิจัยเดิมๆไม่ได้ คือไปรอสร้างความรู้ (evidence) แล้วเอาความรู้ไปสู่การปฏิบัติ (practice) หรือที่ฝรั่งเรียกเป็นสำนวนว่า evidence-based practice

แต่ความจริงแล้วการสร้างความรู้ต้องสร้างจากการลงไปแก้ปัญหา ซึ่งศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญโรคอ้วนเป็นคนพูดเองว่า ถ้ารอให้มีความรู้ชัดแล้วค่อยไปแก้ปัญหา มันรอไม่ไหว เพราะกว่าจะมีความรู้ชัดเจนว่าอะไรได้ผลไม่ได้ผล ต้องไปรอวัดผลกันนานมาก ตามไม่ทันการแก้ปัญหา

แต่ในทางตรงข้าม ถ้าลงมือแก้ปัญหาเลยแล้วค่อยๆเรียนรู้จากการแก้ปัญหา เป็นกระบวนการสร้าง evidence จากการลงมือทำ(practic) เรียกว่าเป็น practice-based evidence แบบนี้น่าจะได้ผลดีกว่าทั้งในการแก้ปัญหา และการสร้างความรู้

ผมกับคุณหมอชูชัยนั่งฟังแล้วก็พูดขึ้นมาพร้อมกันว่า พวกฝรั่งนักวิชกาารเพิ่งมารู้ ที่เมืองไทยเราทำกันแบบนี้มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่สายที่พวกนักวิชาการฝรั่งจะมาเริ่มสนใจ และพูดกันจริงๆจังๆ

เวลาพวกเราเอาความรู้ที่ได้จากการทำงานแก้ปัญหาไปเขียนเป็นผลงานวิจัย จะได้ไม่มีใครหาว่า ไม่เป็นวิชาการ แต่ต้องมายอมรับว่าเป็นกระบวนการสร้างความรู้แบบใหม่

ไม่ใช่มวยวัด หรืองานวิจัยชั้นสอง อย่างที่คนทำงานทั่วไปมักจะกลัวกัน

แต่คนทำ R2R รู้มานานแล้วว่า เป็นการสร้างความรู้ที่น่าจะมีคุณค่าสูงมาก 

มันช่วยกันทำ practice-based evidence มากกว่ารอ evidence-based practices กันเถอะนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 50904เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2006 01:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
     ปี 2540 ผมและคณะ ได้ทำวิจัยในงานประจำตอนอยู่ สอ. โดยรวมกัน 3 สอ.ในตำบลนาปะขอเรื่อง "การพัฒนาคุณภาพบริการในชุมชน ของ สอ.ในตำบลนาปะขอ" ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการตัดสินเป็นผลงานเด่นระดับเขต (เขต 12 สมัยนั้น) ตามโครงการทศวรรษพัฒนาสถานีอนามัย (มีการตัดสินสูงสุดที่ระดับเขต แล้วนำมา ลปรร.กันที่ระดับประเทศ โดยไม่มีการประกวดต่อแล้ว)
     ประสบการณ์หนึ่งที่ได้รับคือการตอบคำถามคณะกรรมการแต่ละระดับ คือ เป็นงานวิจัยอย่างไร เพราะดูจะไม่ค่อยถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยเอาเสียเลย ผมก็ได้แต่บอกว่าจะเป็นหรือไม่ผมไม่อาจจะตัดสินแทนคณะกรรมการได้ เนื่องจากผมเป็นคนนำเสนอ หากแต่งานวิจัยนี้ เป็นการถอดบทเรียนการทำงานเครือข่ายร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการของ สอ. 3 สอ.ในตำบลหนึ่ง และทำไปโดยไม่มีใครสั่งให้ทำ แต่เราอยากทำเอง เป็นการทำไป ปรับไปแก้ไขปัญหาไป และอยากถอดบทเรียนไว้เพื่อประยุกต์และขยายผลต่อในระดับอำเภอเท่านั้น
     ตอนนำเสนอโครงการ ก็มีพี่สมใจและพี่ปุ้ม จาก สสจ.พัทลุง มาเป็นแมวมอง แล้วเชียร์ให้ส่ง เนื้อแท้เดิม ๆ ของเราไม่มีเจตนาที่จะส่งเข้าประกวดตั้งแต่ต้น เลยออกมาเป็นธรรมาติมากไปหน่อย แต่จากการตัดสินของคณะกรรมการในครั้งนั้น (ซึ่งผมเชื่อว่ายังไม่มีคำว่า R2R เลย) ทำให้ผมมั่นใจมากขึ้นในเรื่องการพัฒนางานด้วยการวิจัย ว่าเป็นการพัฒนาคนไปด้วย ซึ่งทีมงานที่ทำร่วมด้วยในขณะนั้น (จนท.สอ.) เกิดแรงบันดาลใจการทำวิจัยในงานประจำต่อ ๆ กันมา ไม่ว่าจะเป็นที่ สอ.ต.นาปะขอ สอ.บ้านหาดไข่เต่า และ สอ.บ้านเกาะเคียน อ.บางแก้ว จ.พัทลุง ครับ
     หากตอนนั้น ผมรู้จักคำว่า "practice-based evidence มากกว่ารอ evidence-based practices" ผมคงตอบคณะกรรมการที่ถามได้เนี๊ยบขึ้นกว่าที่เคยตอบนะครับ เสียดายเชียว...ครับ 

เห็นด้วยนะ ใครว่าคำพูด หรือภาษาไม่มีความหมาย ตัวอย่างของคำ อย่าง KM R2R practice-based evidence ล้วนแต่เป็นของรู้ๆกัน แต่พอไม่มีใครคิดคำสั้นๆจับใจขึ้นมา คนทั่วไปก็ยังรู้สึกว่ามันไม่น่าจะมีความหมายอยู่ดี

คนเราอยู่กับสิ่งที่เคยชิน ต้องชมคุณชายขอบกับพวก ที่กล้าหาญเอาเรื่องเข้าประกวด

ผมไม่รู้ว่าเคยเล่าเรื่อง งานวิจัย 10 กลุ่มที่ได้ทุนจากมูลนิธิ รอคกีเฟลเลอร์ หรือยัง ว่ามันเป็นงานพัฒนามากว่างานวิจัย และแต่ละทีมก็ทำแบบที่พยายามอิงกระบวนการวจัย แบบดั้งเดิม

ขนาดนั้น คนว่นใหญ่ยังไม่ค่อยรู้สึกว่ามันเป็นวิจัย

อะไรคือวิจัย อะไรไม่ใช่วิจัย คงยังเถียงกันไปอีกนานในวงการนักวิชาการที่จะรู้สึกมั่นใจ เมื่อมักรอบให้เกาะ

พวกเราพวกนอกกรอบ ต้องช่วยกันสร้าง กรอบใหม่ อย่าไปเกาะกรอบเก่า สร้างเสร็จ ก็ทิ้ง อย่าไปยึด

ช่วยกันคิดคำเท่ห์ๆด้วยครับ เผื่อความคิดดีๆของพวกเราจะขยายตัวได้ดี และเร็วกว่านี้

อจ ประเวศ เคยยกตัวอย่างว่า อจ อมร จันทรสมบูรณ์ พูดเรื่อง คอนสติวชั่นนิสมซ์ อยู่นาน อจ ไปอ่านเจอเข้า เอามาเรียกใหม่ว่า ปฏิรูปการเมือง แต่แนวคิดเดียวกันคือต้องใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ หลังจากนั้นใครๆก็พูดถึงการร่างรัฐธรรมนูญให้ดี เพื่อปฏิรูปการเมือง ถ้ายังใช้คำเดิม อาจจะยังไม่มีใครรู้ หรือเห็นควมสำคัญของการแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นเครื่องมือปฏิรูปการเมืองก็ได้ อาจจะมัวแต่ไปแก้ กม เลือกตั้ง หรือ กม พรรคการเมืองกันอยู่ แล้วก็จะแก้ได้แต่เรื่องนักการเมือง ทั้งๆที่เรื่องการเมืองต้องแก้ที่การสร้างกลไกอื่นๆ โดยไประบุไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย 

เรียกว่า ทำไปใช้ไป แบบนี้น่าสนใจดีครับ บางทีเรามักจะต้องรอให้งานวิจัยเสร็จก่อนแล้วค่อยนำมาขยายผล แต่ก็ต้องยอมรับว่า บางทีข้อเสนอแนะใช้ไม่ได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การวิจัยแล้วลองใช้ในสังคม ใช้ได้หรือไม่ได้ก็เอาปรับปรุงต่อ อันนี้ท่าทางจะดีกว่าเสร็จทั้งช้นแล้วนำเสนอ

เรืองของเรตต้งก็พยายามทำแบบนั้น คิดเสร็จรอบหนึ่งก็ให้ลองใช้ในสังคม สังคมรับหรือไม่รับ แล้วก็แก้กันไป ตอนนี้เร่มเข้าที่เข้าทางแล้ว เหลือแต่เพียงการทำความเข้าใจกับสังคมในระดับมหภาคอีกรอบ

GotoKnow ก็เป็น practice-based evidence ค่ะ ทำไปใช้ไปเช่นกันค่ะ แล้วจึงออกมาเป็น research papers ค่ะ
  • ผมก็เพิ่งได้มาเรียนและรู้เช่นเดียวกันครับ
  • ขอบพระคุณมาก ๆ ครับที่นำสิ่งดี ๆ มาเผยแพร่ให้ได้กระจ่างครับ

ปิดโรงงานขนม ลูกอม ลูกกวาด และของขบเคี้ยวให้หมด ไม่ต้องวิจัย ปัญหาไม่เกิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท