KM ที่รัก ตอนที่67 NEED, WANT,DEMAND .......มีหน้าตาเป็นอย่างไร ในมิติของชาวบ้าน


            need, want, Demand   น่าจะมีคำอธิบายหลายมิติ ทั้งความหมายโดยตรง และความหมายโดยอ้อม  และขึ้นอยู่กับ บริบทของคนที่ อธิบายและให้ความหมาย

           ผมขออนุญาต ใหความหมายผ่านมิติของผม(ไม่น่าจะผิด และไม่น่าจะถูกทั้งหมด) เพราะคำทั้งสามมีความหมาย ไกล้เคียงกัน และบางกรณี มีความหมายที่ทับซ้อนกันอยู่

            คำแรก "need" เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของคนเรา  ความต้องการชนิดนี้  อาจจะไม่เต็มใจ, ไม่ชอบ แต่ต้องได้ เพราะมีความจำเป็น มาก เช่น คนเราบางครั้งก็ไม่ชอบกินข้าว ไม่ชอบกินยา แต่ต้องกิน เพราะถ้าไม่กิน จะทำไห้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ถึงกับเป็นอันตรายต่อชีวิต ก็ได้

             คำที่สอง "want" มีความหมายคล้ายๆกับ "need" แต่ต่างกันที่  want เป็นการพัฒนามาจาก need     want เป็นความต้องการของเจ้าตัวเอง ที่มีการปรุงแต่งด้วย เพื่อไห้เกิดภาพที่ชัดเจน  แต่ want จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ทุกอย่างที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับ power  ของแต่ละคน  ว่าสามารถทำได้ตามความต้องการได้หรือไม่

              ส่วน Demand  เป็นความต้องการอีกมิติหนึ่ง ที่เรามักจะได้ยินควบคู่กับ Supply ซึ่งหมายถึง ความต้องการขาย จำหน่ายออก

                สำหรับ Demand  จะมีความสัมพันธ์กับ  need  และ want อย่างมาก  เพราะ Demand  จะพัฒนามาจาก need  และ want   Demand  เป็นความต้องการที่ละเอียดอ่อน ผู้ตัดสินใจ จะมีบทบาท และสำคัญที่สุด และก็ขึ้นอยู่กับ power ด้วย   ซึ่ง Demand จะเป็นดุลยภาพ การพิจารณาตัดสินใจของผู้บริโภคจริงๆ

                 โจทย์ ก็คือ  แล้ว need , want, Demand  ของชาวบ้าน(ตัวจริง) ฉบับจริง จะมีหน้าตา เป็นอย่างไร เพราะจะเป็นตัวชี้วัด  และบ่งชี้ การก้าวย่างและการกำหนด" ธงชีวิต" ของเขาเอง ..ครับ 

หมายเลขบันทึก: 50858เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

     ผมมีสมการมาลปรร.ด้วยครับ อุปสงค์ (Demand) = [ความจำเป็น (Need) - ความจำเป็นที่ไม่รับรู้ (unfelt need)] X ความยินดี และความสามารถในการจ่าย (willingness & ability to pay)

     จากบันทึกนี้ครับ ทดสอบหลังเรียนครั้งที่ 1 วิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ที่ผมเขียนไว้นานมากแล้ว (มีแผนภาพประกอบด้วยครับในบันทึก) ลองแวะเข้าไปอ่านดูนะครับ

     แล้วจะกลับมาใหม่นะครับ เคลียร์งานก่อนครับ

ปัจจุบัน อุปสงค์สำหรับคนที่มีเงินและไม่เห็นคุณค่าของเงินอาจจะไม่มีคำว่า ความจำเป็นเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเพียงแค่พึงพอใจและมีเงินจ่าย ก็เกิดอุสงค์แล้ว  โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินไปกับแฟชั่นของวัยรุ่น  
          ขอบคุณครับ   ที่ช่วยไห้คำชี้แนะ  ขอคารวะครับ ที่ชี้คลังความรู้ให้กับผู้น้อย ยินดีตามไปดูทุก ซอกในคลังความรู้เลยครับ(ขอตัวก่อน..จะรีบไปติดตาม ข่าวดังของเราก่อน..ครับ)

ขอบคุณอาจารย์ศิริพงษ์มากครับ

ที่ทำให้ผมได้มองเห็นของความเหมือนบนความแตกต่างของความต้องการ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท