“ การคิดเชิงระบบ” ( OVERVIEW OF SYSTEMS THINKING )


การคิดเชิงระบบ

  การคิดเชิงระบบ

              การคิดเชิงระบบ ( SYSTEMS  THINKING ) โดย   DANIAL  ARONSON      พบว่าการมีพื้นฐานมาจากการพัฒนาพลวัตของระบบต่างๆ  ซึ่งเริ่มวางรากฐานโดยศาสตราจารย์ฟอร์เรสเตอร์แห่งสถาบัน  MIT ในปี  1956  ศาสตราจารย์ฟอร์เรสเตอร์ได้เล็งเห็นความจำเป็นในการทดสอบความคิดใหม่ๆในระบบต่างๆทางสังคม  เช่นเดียวกับการทดสอบความคิดต่างๆทางวิศวกรรม  การคิดเชิงระบบจะช่วยให้คนเราเข้าใจระบบต่างๆทางสังคมได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและจะสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าไปได้เหมือนๆกับการที่คนเราใช้หลักการด้านวิศวกรรมไปทำความเข้าใจและทำความกระจ่างชัดในระบบเครื่องกลต่างๆ 

 วิธีการของการคิดเชิงระบบ                  วิธีการของการคิดเชิงระบบมีพื้นฐานที่แตกต่างจากวิธีการวิเคราะห์แบบดั้งเดิม  กล่าวคือ  การคิดแบบดั้งเดิมจะมุ่งเน้นไปที่การแยกส่วนของสิ่งต่างๆที่จะศึกษาออกเป็นส่วนย่อยๆ  ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว  คำว่า วิเคราะห์  ก็หมายถึงตรงๆว่า การแตกออกเป็นส่วนต่างๆที่ประกอบกัน  ในทางตรงกันข้าม  การคิดเชิงระบบ  มุ่งเน้นไปที่วิธีการคิดอย่างมีสหสัมพันธ์กันของส่วนประกอบต่างๆ ในระบบ  ซึ่งอาจเป็นชุดขององค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกันจนทำให้เกิดพฤติกรรม  ดังนั้นย่อมหมายถึงว่า  แทนที่จะไปแยกวิเคราะห์เป็นส่วนเล็กๆของระบบที่กำลังทำการศึกษาอยู่  แต่การคิดเชิงระบบมุ่งไปที่การขยายมุมมองเพื่อให้สามารถนำเอาภาพรวมและส่วนประกอบโดยรวมต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกันมาทำการศึกษา  ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้กลายเป็นบทสรุปที่ครอบคลุมและชัดเจนมากกว่า  ผลที่ได้จากการวิเคราะห์โดยวิธีดั้งเดิม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเนื้อเรื่องที่ทำการศึกษานั้นมีความซับซ้อนเชิงพลวัตหรือมีผลกระทบป้อนกลับจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอก                ลักษณะของการคิดเชิงระบบ  จะทำให้ได้คำตอบที่มีประสิทธิผลอย่างยิ่งกับปัญหาที่ยากลำบากที่จะแก้ไข  เช่น  กรณีที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างซับซ้อน  กรณีที่มีผลกระทบต่อกันและกันในอดีตหรือผลกระทบจากปัจจัยอื่น  และกรณีที่มีเหตุสืบเนื่องมาจากการไม่ประสานสอดคล้องกันของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง  ตัวอย่างเรื่องราวที่ความคิดเชิงระบบถูกนำไปใช้อย่างได้ผล  ได้แก่                                

  -                 ปัญหาเชิงซ้อนเกี่ยวกับการช่วยให้ผู้แสดงเข้าใจภาพรวมของเรื่องที่จะต้องแสดง  ไม่ใช่เข้าใจเพียงบทบาทของตนเอง

 -                    ปัญหาต่อเนื่องที่ทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจากการพยายามแก้ปัญหาที่ผิดๆมาในอดีต

-                    กรณีที่จะมีผลกระทบ  (หรือจะได้รับผลกระทบ)  ต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว  หรือต่อสิ่งแวดล้อมจากการแข่งขัน

-                     ปัญหาที่ยังไม่มีทางออกที่ชัดเจน 

การนำความคิดเชิงระบบไปใช้                 ตัวอย่างที่สามารถมองเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างมุมมองของความคิดเชิงระบบกับมุมมองของวิธีการวิเคราะห์แบบดั้งเดิมก็คือ   การดำเนินการลดการทำลายพืชผักโดยแมลงต่างๆ  วิธีการแบบเก่ากระทำโดยเมื่อแมลงกำลังกัดกินพืชผักก็ให้ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดลงไปที่ผักนั้นๆโดยมิได้คำนึงถึงขีดจำกัดของประสิทธิภาพของยาและการก่อให้เกิดมลพิษแก่ดินและน้ำ  เพราะยังไม่มียาฆ่าแมลงใดเลยที่สามารถจะฆ่าแมลงได้ทั้งหมดโดยไม่มีผลกระทบต่ออากาศ ดิน และน้ำ เคยมีการตั้งคำถามกันบ้างหรือไม่ว่า การใช้ยาฆ่าแมลงจะทำให้เกษตรหรือบริษัทได้รับผลดีในบั้นปลายจริงหรือ      ถ้าเราจะเขียนผังการใช้ยาฆ่าแมลงขึ้นมาดู    จะพบว่า 

      system1


                (  ซึ่งอธิบายได้ว่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณยาฆ่าแมลง  จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแมลงที่กำลังทำลายพืชผักในขณะที่ลูกศรแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองถ้าให้ “ S”  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน  คือ  ถ้าตัวแปรต้นมากตัวแปรตามก็จะมากตามไปด้วย  และให้  “O”  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในทางตรงกันข้ามกัน  คือถ้าตัวแปรต้นมากตัวแปรตามก็จะน้อย  หรือตัวแปรต้นน้อย  ตัวแปรตามก็จะมาก  โดยความหมายนี้จะอ่านได้ว่าปริมาณของยาฆ่าแมลงที่ใช้จะมีผลในทางตรงกันข้ามกับปริมาณแมลงที่มากัดกินพืชผัก  โดยความเชื่อนี้แสดงว่า  ปริมาณของยาฆ่าแมลงที่มากขึ้นจะทำให้ปริมาณของแมลงศัตรูพืชลดลง )               

จากวิธีคิดตามผังข้างต้นนี้จะพบว่าปริมาณของยาฆ่าแมลงที่มากขึ้นจะทำให้แมลงศัตรูพืชน้อยลงและพืชผักโดยรวมที่ถูกทำลายน้อยลง                แรงจูงใจทำนองนี้จึงยืนยันว่าการกำจัดแมลงศัตรูพืชจะสามารถแก้ปัญหาได้แต่มักจะพบว่าไม่ใช่  เพราะพืชผักจะถูกทำลายโดยแมลงศัตรูพืชจะเกิดขึ้นเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น  ผังข้างต้นจึงอธิบายภาพได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น  ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆก็คือ  ปัญหาแมลงศัตรูพืชจะยิ่งเลวร้ายลงไปอีกในปีต่อๆไปและยาปราบศัตรูพืชก็จะช่วยอะไรได้น้อยลงทุกทีด้วย                ทั้งนี้เพราะแมลงที่กินพืชผักดังกล่าวจะเป็นตัวควบคุมประชากรของแมลงอื่นๆโดยการ  ข่มขู่หรือการแข่งขันกันในหมู่แมลงด้วยกัน  เมื่อยาฆ่าแมลง  ฆ่าแมลงที่กัดกินพืชผักก็จะกำจัดการควบคุมประชากรแมลงอื่นๆด้วย  จะทำให้แมลงอื่นๆระดมสรรพกำลังเข้ามาทำลายพืชผักมากกว่าแมลงที่เราใช้ยาฆ่าแมลงไปแล้วเสียอีก                อีกนัยหนึ่งก็คือการกระทำที่ตั้งใจว่าจะให้ช่วยแก้ปัญหา กลับกลายเป็นสิ่งทำให้ปัญหาย่ำแย่ลงไปอีก  เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงข้างเคียงโดยไม่ได้ตั้งใจที่ส่งผลให้ปัญหาทรุดหนักลงไปกว่าเดิม                การศึกษาบางกรณีได้ให้ข้อแนะนำว่า  แมลงส่วนใหญ่ประมาณ  25  ชนิด  ที่ทำให้เกิดปัญหาการทำลายพืชผักในแต่ละปีซึ่ง  สามารถเริ่มต้นอธิบายได้โดยผังวงจรดังนี้ 

systemthinking2

                   ตามความเข้าใจในผังวงจรนี้พบว่า  การใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นจะทำให้จำนวนแมลง A  ( แมลงศัตรูพืชตัวเดิม ) ลดลง    ซึ่งจะนำไปสู่การลดลงอย่างฉับพลันของแมลงที่กัดกินพืชผัก  ( ซึ่งเป็นความตั้งใจในการใช้ยาฆ่าแมลง )  อย่างไรก็ตาม  เมื่อจำนวนของแมลง  A  ลดลง  ก็จะทำให้แมลง  B  เพิ่มขึ้น  ( เครื่องหมายตัดตอน  หมายถึง  ระยะเวลาที่ผ่านไป )  เนื่องจากแมลง  A  ไม่สามารถควบคุมแมลง  B  ได้เท่าที่ควร  ก็จะทำให้ประชากรของแมลง  B  เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล  ก็จะทำให้ยิ่งทำลายพืชผักได้อย่างมหาศาลกว่าเดิม  ซึ่งตรงกันข้ามกับความตั้งใจเดิมที่จะลดจำนวนแมลงศัตรูพืชลง  ผลที่ได้รับในระยะสั้นจึงส่งผลกระทบอย่างแตกต่างในระยะยาว                ด้วยภาพของระบบนี้ในใจ  วิธีการดำเนินการที่จะส่งผลในระยะยาวก็จะถูกพัฒนาขึ้น  เช่นการจัดการควบคุมศัตรูพืชแบบผสมผสาน  ซึ่งหมายรวมถึงการควบคุมแมลงศัตรูพืช  โดยการนำสัตว์นักล่าแมลงเข้ามาในพื้นที่  ซึ่งวิธีนี้ได้มีการทดลองโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  ของ  MIT  แล้วว่าได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจกับทั้งจะสามารถป้องกันมลพิษที่จะเกิดขึ้นแก่ดินและน้ำได้อีกด้วย                การที่วิธีคิดเชิงระบบทำให้มีมุมมองที่กว้างออกไปจึงทำให้เกิดความคิดริเริ่มที่จะส่งเสริมความเข้าใจในการแก้ปัญหาในระยะยาวขององค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาต่างๆ  ด้านความอยู่รอดขององค์กร  เพราะทั้งๆที่องค์กรอาจจะกำลังทำสิ่งที่ถูกต้องด้านการแก้ปัญหาสัมพันธภาพกับลูกค้าโดยมีทีมงานรับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว  ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วหลายครั้งในอดีตและถึงกับได้ขอให้ลูกค้าเสนอแนะวิธีการที่อาจจะแก้ปัญหาได้ให้ด้วย                แต่ไม่มีใครมองเห็นภาพของผลกระทบจากอดีตที่มามีส่วนในการสร้างปัญหาในปัจจุบัน  หลังจากใช้เวลาทำงานร่วมกัน  2  วัน  ผู้เขียนพบว่าสามารถช่วยให้องค์กรมองเห็นว่าอะไรบ้างมีส่วนทำให้ปัญหาทวีความร้ายแรงมากขึ้นและมีวิธีการที่ดีใดบ้างที่สามารถจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้  การดำเนินการข้างต้นจบลงด้วยการช่วยกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาโดยการสนับสนุนของทีมงานและลูกค้า                การมองให้เห็นภาพรวมทั้งหมด  จะทำให้ทีมงานสามารถมองเห็นความเป็นไปได้ต่างๆที่ยังไม่เคยมองเห็นมาก่อนแม้ว่าจะเคยพยายามมาแล้วหลายครั้งก็ตาม  การคิดเชิงระบบจึงมีพลังในการช่วยให้ทีมงานคิดค้นและเข้าใจปัญหาได้อย่างทะลุปรุโปร่ง  ถ้าหากรู้จักนำวิธีคิดเชิงระบบนี้ไปใช้กับปัญหาที่เหมาะสม  ( ตัวอย่างอื่นๆ  ในทางบวกที่เกิดจากการใช้ความคิดเชิงระบบในด้านทรัพยากรบุคคลและในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงต่างๆ  สามารถหาอ่านได้ใน  บัญญัติที่  5 ”  ของ ปีเตอร์  เซ็งเก้  และในจดหมายข่าว  ซึ่งจัดพิมพ์โดยปีกาซัส )

 วิธีดำเนินการกับปัญหาที่ยากมากๆ                 ปัญหาที่สำคัญๆจำนวนมากที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบันมีความซับซ้อนที่ประกอบด้วยผู้เกี่ยว ข้องหลากหลาย  และมักจะได้รับผลกระทบมาจากการดำเนินการในอดีต  การจัดการกับปัญหาดังกล่าวนับว่าเป็นความลำบากยิ่ง  และผลลัพธ์จากการใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบดั้งเดิมก็มักจะไม่ประสบความสำเร็จอีกทั้งยังส่งผลให้เกิดความท้อถอยในการใช้วิธีการที่เคยใช้มาก่อนด้วย                ผลประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของการคิดเชิงระบบก็คือ  ความสามารถในการดำเนินการกับปัญหาประเภทดังกล่าวได้  พร้อมทั้งจะสามารถยกระดับความคิดของเราในการที่จะคิดค้นผลลัพธ์ที่เราต้องการ  ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานองค์การ  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ณ์ที่ซับซ้อน  มีรายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นมากมาย  และที่ยังไม่สามารถหาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพได้อย่างยากเย็นต่างๆ

คำสำคัญ (Tags): #การคิดเชิงระบบ
หมายเลขบันทึก: 50839เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท