ข้อพิพาททางกฎหมายของ ปตท


ผลกระทบต่อการดำเนินงาน

 ข้อพิพาททางกฎหมายของ ปตท

 ข้อพิพาททางกฎหมายที่ ปตท. เป็นคู่ความหรือคู่กรณี  ซึ่งเป็นคดีหรือข้อพิพาทที่ยังไม่สิ้นสุดและเป็นคดีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ ปตท. อย่างมีนัยสำคัญ  และเป็นคดีที่มิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยปกติ  มีรายละเอียดดังนี้


 1. กิจการร่วมค้า IPCO – G & C (“IGC”) ได้เรียกร้องค่าเสียหายกับ ปตท. โดยได้ยื่นฟ้อง ปตท.ต่ออนุญาโตตุลาการของหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce หรือ “ICC”) เป็นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาวางท่อก๊าซธรรมชาติคู่ขนาน ระหว่างระยอง – บางปะกง - วังน้อยตามสัญญาลงวันที่ 26 ธันวาคม 2537  รวมทั้งสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวมีค่าจ้างตามสัญญารวมจำนวน 36,326,902 เหรียญสหรัฐ  และ 894,724,857 บาท  ต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 ในประเด็นเรื่องความรับผิด  โดยได้ชี้ขาดให้คู่กรณีแบ่งรับความเสียหาย บางกรณีให้ IGC รับผิดในความเสียหาย บางกรณี IGC จะได้รับค่าเสียหายจาก ปตท. ในร้อยละ 70 ของวงเงินที่เรียกร้อง ฯลฯ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545  คณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสิน Final Award ให้ ปตท. ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยถึงวันที่ 1 กันยายน 2544 เป็นเงิน 25,303,798 เหรียญสหรัฐฯ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 จนกว่าชำระเสร็จ และให้ ปตท. ชำระค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีอนุญาโตตุลาการ  เป็นเงิน 3,130,739 เหรียญสหรัฐฯ วันที่ 31 มกราคม 2546  IGC ได้ยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของ คณะอนุญาโตตุลาการต่อศาลแพ่ง  โดยขอให้ศาลบังคับให้ ปตท. ชำระเงินรวม 31,403,669 เหรียญสหรัฐฯ แก่ IGC ปตท.ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดี และในที่สุดศาลแพ่งได้พิพากษายกคำร้องของ IGC โดยวินิจฉัยว่าขั้นตอนการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการยังไม่ครบถ้วนตามสัญญา คณะอนุญาโตตุลาการจึงยังไม่มีอำนาจทำคำชี้ขาด คำชี้ขาดจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ศาลแพ่งจึงไม่รับบังคับให้ ขณะนี้ IGC ได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งต่อศาลฎีกา และคดีนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา

 จากข้อเท็จจริงข้างต้น ปตท. ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง IGC เป็นจำเลยในศาลแพ่งให้รับผิดชอบกรณีบริษัทส่งมอบงานล่าช้าเป็นเหตุให้ ปตท. เสียหาย  เป็นเงินประมาณ 4,273.8 ล้านบาท คดีอยู่ระหว่างการสืบพยานจำเลย
 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 ปตท. และ IGC ได้จัดทำข้อตกลงเพื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาล เพื่อยุติคดีพิพาททุกคดี โดย IGC ได้ถอนคำร้องบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และ ปตท.ได้ถอนฟ้องคดีแพ่งแล้ว คดีนี้จึงเป็นอันยุติ


 2.บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด ถูกฟ้องเรียกค่าทดแทนการวางท่อน้ำมันผ่านที่ดินเอกชน
กรณีบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด มีโครงการวางท่อน้ำมัน  ศรีราชา - สระบุรี ผ่านที่ดินเอกชน โดยชำระค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 ซึ่งในรายห้างหุ้นส่วนจำกัดสุสวาสกับพวก ปตท.กำหนดค่าทดแทนให้ 2 ล้านบาท ห้างฯ กับพวกไม่พอใจจึงได้ยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เรียกให้ชดใช้เงินค่าเสียหายประมาณ 1,000 ล้านบาท (ต่อมาแก้ฟ้องเป็น 4,900 ล้านบาท) ซึ่ง ปตท.และบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด ต่อสู้คดีเรื่องค่าเสียหายดังกล่าว ขณะนี้ห้างฯ กับพวก ได้ยื่นหนังสือขอถอนคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่  10 มกราคม 2546 และนำคดีไปฟ้องศาลปกครอง กล่าวหา ปตท.และพนักงาน ปตท. ที่ดำเนินการวางท่อน้ำมันชลบุรี-สระบุรี ผ่านที่ดินของตนโดยไม่มีสิทธิ เป็นการละเมิดทางปกครอง ปตท.ได้มอบคดีให้สำนักงานอัยการสูงสุดยื่นคำให้การแก้คดี และพนักงานอัยการได้แก้คดีแล้วเมื่อเดือนมีนาคม 2546 ศาลปกครองกลางได้ส่งคดีไปยังศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521  มาตรา 29 และมาตรา 30 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 48 และมาตรา 49 หรือไม่ อย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่า พรบ. ปตท. ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ และได้ส่งคดีกลับสู่ศาลปกครองเพื่อพิจารณาต่อ
ศาลปกครองได้นัดคู่ความยื่นคำร้องเพิ่มเติม ก่อนจะมีคำสั่งยุติการสืบข้อเท็จจริงจากคู่ความต่อไป คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

ข้อพิพาททางกฎหมายที่ ปตท. เป็นคู่ความหรือคู่กรณี  ซึ่งเป็นคดีหรือข้อพิพาทที่ยังไม่สิ้นสุดและเป็นคดีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ ปตท. อย่างมีนัยสำคัญ  และเป็นคดีที่มิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยปกติ  มีรายละเอียดดังนี้


 1. กิจการร่วมค้า IPCO – G & C (“IGC”) ได้เรียกร้องค่าเสียหายกับ ปตท. โดยได้ยื่นฟ้อง ปตท.ต่ออนุญาโตตุลาการของหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce หรือ “ICC”) เป็นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาวางท่อก๊าซธรรมชาติคู่ขนาน ระหว่างระยอง – บางปะกง - วังน้อยตามสัญญาลงวันที่ 26 ธันวาคม 2537  รวมทั้งสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวมีค่าจ้างตามสัญญารวมจำนวน 36,326,902 เหรียญสหรัฐ  และ 894,724,857 บาท  ต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 ในประเด็นเรื่องความรับผิด  โดยได้ชี้ขาดให้คู่กรณีแบ่งรับความเสียหาย บางกรณีให้ IGC รับผิดในความเสียหาย บางกรณี IGC จะได้รับค่าเสียหายจาก ปตท. ในร้อยละ 70 ของวงเงินที่เรียกร้อง ฯลฯ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545  คณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสิน Final Award ให้ ปตท. ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยถึงวันที่ 1 กันยายน 2544 เป็นเงิน 25,303,798 เหรียญสหรัฐฯ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 จนกว่าชำระเสร็จ และให้ ปตท. ชำระค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีอนุญาโตตุลาการ  เป็นเงิน 3,130,739 เหรียญสหรัฐฯ วันที่ 31 มกราคม 2546  IGC ได้ยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของ คณะอนุญาโตตุลาการต่อศาลแพ่ง  โดยขอให้ศาลบังคับให้ ปตท. ชำระเงินรวม 31,403,669 เหรียญสหรัฐฯ แก่ IGC ปตท.ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดี และในที่สุดศาลแพ่งได้พิพากษายกคำร้องของ IGC โดยวินิจฉัยว่าขั้นตอนการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการยังไม่ครบถ้วนตามสัญญา คณะอนุญาโตตุลาการจึงยังไม่มีอำนาจทำคำชี้ขาด คำชี้ขาดจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ศาลแพ่งจึงไม่รับบังคับให้ ขณะนี้ IGC ได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งต่อศาลฎีกา และคดีนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา

 จากข้อเท็จจริงข้างต้น ปตท. ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง IGC เป็นจำเลยในศาลแพ่งให้รับผิดชอบกรณีบริษัทส่งมอบงานล่าช้าเป็นเหตุให้ ปตท. เสียหาย  เป็นเงินประมาณ 4,273.8 ล้านบาท คดีอยู่ระหว่างการสืบพยานจำเลย
 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 ปตท. และ IGC ได้จัดทำข้อตกลงเพื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาล เพื่อยุติคดีพิพาททุกคดี โดย IGC ได้ถอนคำร้องบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และ ปตท.ได้ถอนฟ้องคดีแพ่งแล้ว คดีนี้จึงเป็นอันยุติ


 2.บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด ถูกฟ้องเรียกค่าทดแทนการวางท่อน้ำมันผ่านที่ดินเอกชน
กรณีบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด มีโครงการวางท่อน้ำมัน  ศรีราชา - สระบุรี ผ่านที่ดินเอกชน โดยชำระค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 ซึ่งในรายห้างหุ้นส่วนจำกัดสุสวาสกับพวก ปตท.กำหนดค่าทดแทนให้ 2 ล้านบาท ห้างฯ กับพวกไม่พอใจจึงได้ยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เรียกให้ชดใช้เงินค่าเสียหายประมาณ 1,000 ล้านบาท (ต่อมาแก้ฟ้องเป็น 4,900 ล้านบาท) ซึ่ง ปตท.และบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด ต่อสู้คดีเรื่องค่าเสียหายดังกล่าว ขณะนี้ห้างฯ กับพวก ได้ยื่นหนังสือขอถอนคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่  10 มกราคม 2546 และนำคดีไปฟ้องศาลปกครอง กล่าวหา ปตท.และพนักงาน ปตท. ที่ดำเนินการวางท่อน้ำมันชลบุรี-สระบุรี ผ่านที่ดินของตนโดยไม่มีสิทธิ เป็นการละเมิดทางปกครอง ปตท.ได้มอบคดีให้สำนักงานอัยการสูงสุดยื่นคำให้การแก้คดี และพนักงานอัยการได้แก้คดีแล้วเมื่อเดือนมีนาคม 2546 ศาลปกครองกลางได้ส่งคดีไปยังศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521  มาตรา 29 และมาตรา 30 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 48 และมาตรา 49 หรือไม่ อย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่า พรบ. ปตท. ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ และได้ส่งคดีกลับสู่ศาลปกครองเพื่อพิจารณาต่อ
ศาลปกครองได้นัดคู่ความยื่นคำร้องเพิ่มเติม ก่อนจะมีคำสั่งยุติการสืบข้อเท็จจริงจากคู่ความต่อไป คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

คำสำคัญ (Tags): #ข้อพิพาทของปตท.
หมายเลขบันทึก: 50829เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท