ความแตกต่างระหว่างบุคคล


ความแตกต่างระหว่างบุคคลในชั้นเรียน

ความแตกต่างระหว่างบุคคล เกิดขึ้น ได้ 2 ลักษณะคือ
1.มีมาแต่กำเนิด เช่น สติปัญญา อวัยวะ ความเจริญเติบโต ความสามารถด้านภาษา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู การป่วยไข้ เป็นต้น
2.เกิดขึ้นทีหลัง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสิ่งต่างๆ เช่น ความสนใจ ประสบการณ์ การปรับตัว ทัศนคติ ความสำเร็จทางการเรียน ซึ่งเกิดจากคุณภาพของผู้สอน แรงสนับสนุนจากครอบครัว ควาททะเยอทะยาน แรงผลักดันจากสังคม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

1. ความแตกต่างด้านร่างกาย

บุคคลเกิดมาพร้อมด้วยองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน (ยกเว้นฝาแฝดแท้) และด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีลักษณะทางร่างกายแตกต่างกัน ทั้งในด้านโครงสร้าง และรูปทรงของอวัยวะที่เป็นส่วนประกอบของร่างกาย และการทำงานของอวัยวะร่างกาย

ความแตกต่างของรูปร่างและรูปทรงที่ปรากฏความแตกต่างทางด้านร่างกาย ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากพันธุกรรม แต่สิ่งแวดล้อมก็มีโอกาสเข้าไปแทรกแซงที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ในกรณีของฝาแฝดแท้ เมื่อได้รับการเลี้ยงดู การให้อาหาร ตลอดจนความรัก ความเอาใจใส่ที่แตกต่างกันก็อาจทำให้เกิดความแตกต่างด้านรูปร่างและรูปทรงได้เช่นกัน

แนวทางแก้ไขปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านร่างกาย

-เรียนรู้ได้ด้วยการสัมผัส จับต้อง การเคลื่อนไหวร่างกาย และการปฏิบัติจริง

-สนับสนุนให้เล่นกีฬา การแสดง เต้นรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย

-จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือได้ปฏิบัติจริง

-ให้เล่นเกม เดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย

-ให้เล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง กีฬา การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ

-ยุทธศาสตร์ในการสอนคือการให้นักเรียนปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง ได้สัมผัส เคลื่อนไหว ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ และการเรียนผ่านการแสดงบทบาทสมมุติ แสดงละคร

   -เปิดโอกาสให้ทำงานตามลำพัง ทำงานคนเดียว อิสระ แยกตัวจากกลุ่มบ้าง

-สอนให้เห็นคุณค่าของตัวเอง นับถือตัวเอง(self esteem)

-สนับสนุนให้ทำงานเขียน บันทึกประจำวัน หรือทำหนังสือ จุลสาร

-สนับสนุนให้ทำโครงงาน การศึกษารายบุคคล หรือทำรายงานเดี่ยว

-ให้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ตามจังหวะการเรียนเฉพาะตน

-ให้อยู่กับกลุ่ม ทำงานร่วมกับผู้อื่นบ้าง

-ยุทธศาสตร์การสอนควรเน้นที่การเปิดโอกาสให้เลือกศึกษาในสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ การวางแผนชีวิต การทำงานร่วมกับผู้อื่น การศึกษารายบุคคล(Individual Study)

ผู้ที่มีความสามารถทางด้านนี้มีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพอิสระ เป็นเจ้าของกิจการ เป็นนายจ้างของตัวเอง นักคิด นักเขียน นักบวช นักปรัชญา นักจิตวิทยาครู–อาจารย์ เป็นต้น


  ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านทางเชาว์ปัญญา

ความแตกต่างทางเชาว์ปัญญา คือ ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่ เกี่ยวกับการคิดและความสามารถในที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในเชิงนามธรรม และรูปธรรมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีความสารถในการแยกแยะสิ่งต่างๆ ได้ บุคคลที่เกิดในท้องพ่อแม่เดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะฉลาดเหมือนๆ กัน แต่โดยทั่วไปความฉลาดของลูกพ่อแม่เดียวกันมักจะไม่แตกต่างกันมากนัก เพื่อให้แน่ใจว่าคู่ของตนมีพันธุกรรมเกี่ยวกับสติปัญญาหรือไม่ควรตรวจสอบก่อนสมรส และนักจิตวิทยาปัจจุบันเชื่อว่าความความสามารถทางสติปัญญาเป็นผลพวงมาจากพันธุกรรม และสามารถเสริมได้ภายหลังให้บุคคลเกิดพัฒนาการที่ดีได้แต่ถ้าเกิดมาแล้วปัญญาอ่อนโอกาสที่จะแก้ไขยากมาก เชาว์ปัญญาหรือสติปัญญาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คู่สมรสควรให้ความสำคัญลำดับต้นๆของการมีครอบครัว

แนวทางแก้ไขปัญหา-ให้มีโอกาสได้ทดลองหรือทำอะไรด้วยตนเอง-ส่งเสริมให้ทำงานสร้างสรรค์งานศิลปที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์-ให้เล่นเกมที่ฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เช่น เกมไพ่ เกมตัวเลข ปริศนาตัวเลข ฯลฯ

  -ให้ช่วยทำงานบ้าน งานประดิษฐ์ ตกแต่ง

  -ฝึกการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การศึกษาด้วยโครงงานในเรื่องที่นักเรียนสนใจ

  -ฝึกฝนทักษะการใช้เครื่องคิดเลข เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

  -ยุทธศาสตร์ในการสอนคือให้ฝึกคิดแบบมีวิจารณญาณ วิพากษ์ วิจารณ์ ฝึกกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด การชั่ง ตวง วัด การคิดในใจ การคิดเลขเร็ว ฯลฯ

ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านทางอารมณ์

ความแตกต่างทางอารมณ์ คือ ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่จะควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ขณะเกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง การมีอารมณ์ของมนุษย์เริ่มตั้งแต่อารมณ์กลัว อารมณ์โกรธ อารมณ์รัก พอใจ ยินดี ตื่นเต้น การแสดงอารมณ์ต่างๆ ต้องแสดงออกอย่างเหมาะสมแต่ในความเป็นบุคคลพบว่ามีการใช้อารมณ์ค่อนข้างมาก ดังนั้นการฝึกในเรื่องการควบคุมอารมณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคมปัจจุบัน ในการดำเนินชีวิตของบุคคลหากใช้อารมณ์มากกว่าความรู้สึก บุคคลนั้นก็จะอยู่ในสังคมอยาก เป็นมนุษย์ต้องใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลจะต้องเก็บความรู้สึกจนขาดความเป็นตัวเอง บางครั้งการเก็บอารมณ์และความรู้สึกจนขาดความเป็นตัวของตัวเองอาจทำให้บุคคลเกิดอาการเครียด ปวดท้องเป็นโรคกระเพาะหรือแม้กระทั่งปวดหัวโดยไม่ทราบสาเหตุ อารมณ์เป็นได้ทั้งตัวสร้างสรรค์และตัวทำลาย อารมณ์ขันทำให้จิตใจเบิกบาน อารมณ์เศร้าหมอง หดหู่ ทำให้คนเกิดความตึงเครียดวิตกกังวล

แนวทางแก้ไขปัญหา

ดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่ต้องแนะนำ ให้ผเรียนแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม สมเหตุสมผล พองามหรือรู้จักที่จะควบคุม ยับยั้งพอเหมาะพอควรไม่แสดงอารมณ์จนกลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ หรือเก็บอารมณ์จนกลายเป็นคนเฉยเมยไปไม่มีปฏิกิริยาใดๆ โดยทั่วไปบุคคลควรจะแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสมตามโอกาสอันควร

 ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านทางสังคม

ความแตกต่างทางด้านสังคม คือ ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่จะปรับตนให้เข้ากับบุคคลและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ และของสังคมอื่น ๆ ด้วยมนุษย์ตั้งแต่เกิดมาก็ต้องอยู่ในระบบของสังคม ตั้งแต่สังคมครอบครัว สังคมเพื่อนบ้าน โตขึ้นก็เป็นสังคมโรงเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา บุคคลต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมทั้งสิ้น

แนวทางแก้ไขปัญหา

-จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้ากลุ่ม ทำงานร่วมกัน

-ส่งเสริมให้อภิปราย เรียนรู้ร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน

-สามารถเรียนได้ดีหากให้โอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

-ยุทธศาสตร์ในการสอนได้แก่การให้ทำงานร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การจำลองสถานการณ์ บทบาทสมมุติ การเรียนรู้สู่ชุมชน เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างเพศ

ความแตกต่างทางเพศมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างเพศหญิงและเพศชายมีความแตกต่างด้านฮอร์โมน ผู้ชายมีฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ที่ช่วยให้เขามีลักษณะภายนอกและพฤติกรรมของผู้ชาย ผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ช่วยให้ผู้หญิงมีลักษณะเป็นหญิงฯลฯ
  เด็กหญิงมีแรงจูงใจในการแสวงหาความสำเร็จน้อยกว่าผู้ชาย เด็กหญิงมักเอาความสำเร็จไปปนกับการได้รับความรัก และการยอมรับ คือใฝ่หาความสำเร็จเพื่อให้ได้มาซึ่งความรักคำวิพากษ์วิจารณ์มักมีผลต่อจิตใจของเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย  สิ่งที่เด็กชายชอบได้แก่ แท่งไม้ ยวดยานพาหนะ และบุคคลที่อยู่ในเครื่องแบบ ส่วนสิ่งที่เด็กหญิงชอบได้แก่ เครื่องตกแต่ง และบุคคลที่แต่งกายเป็นระเบียบความคิดของเพศชายหนักแน่นมากกว่าความคิดของเพศหญิงความคิดของเพศชายมุ่งในเรื่องของตนเองมากกว่า ในขณะที่ความคิดของเพศหญิง เน้นหนักในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเพศชายแสดงอาการก้าวร้าวมากกว่าเพศหญิงเพศหญิงมีความสามารถในการใช้ถ้อยคำได้ดีกว่า จึงมีความสามารถในการติดต่อกับบุคคลอื่นได้เหมาะสม และนุ่มนวลกว่าเพศชาย

แนวทางแก้ปัญหา

-ให้ผู้เรียนเข้าใจในความแตกต่างระหว่างเพศ ทั้งชายและหญิง และร่วมมือกันช่วยเหลือด้วย พูดคุยกับเด็กถึงข้อดีของเพศตนเอง  โดยพยายามให้เดกเป็นฝ่ายพูดมากกว่ารับฟัง เสริมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก

  -ส่งเสริมให้เล่นกิจกรรมเหมาะกับเพศตนเอง  แต่ในระยะแรกเด็กอาจกลัวไม่กล้า  ครูอาจเลือกกิจกรรมที่มีลักษณะกลางๆ  ไม่รุนแรง เช่นศิลปะ ดนตรี หรือกีฬาที่ไม่หนักเกินไป โดยให้คลุกคลีในกลุ่มเพศชายด้วยกัน

  -ครอบครัว  เชิญผู้ปกครองมาพบ  โดยมีหลักการพูดคุยกับผู้ปกครองดังนี้  ไม่สรุปว่า สาเหตุหลักเป็นผลจากการเลี้ยงดู  หรือพ่อแม่ทำเพราะพ่อแม่อาจรู้สึกผิด  โกรธ ต่อต้าน และเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องด้วยควรเน้นที่การแก้ไขที่เป็นไปได้โดยปรับความสัมพันธ์ของพ่อแม่ให้ดีขึ้น ให้พ่อใกล้ชิด มีกิจกรรมร่วมกับลูก และแม่ควรปรับอารมณ์ให้เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอ หรือเอาลูกมาเป็นพวก  ให้พ่อแม่ใช้หลักการข้างต้นด้วย  ควรให้ความหวังอย่างเป็นจริงในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็ก โดยทั่วไปในเด็กวัยเรียน    ดังนั้น พ่อแม่ควรเตรียมพร้อมที่จะยอมรับลูก  ละมองข้ามข้อดีด้านอื่น  ตลอดจนพัฒนาเด็กให้รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง  เพราะหากเด็กยังรู้สึกหรือแสดงพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศจนเข้าถึงวัยรุ่นพ่อแม่ควรต้องปรับปรุงทัศนะที่จะแก้ไขเป็นการยอมรับในที่สุด อาจพิจารณาพบจิตแพทย์ หรือจิตแพทย์เด็ก  หากพบปัญหาในครอบครัวมาก หรือครอบครัวแสดงความจำนงและต้องการแก้ไขอย่างจริงจัง

ความแตกต่างด้านความถนัดและความถนัด

ได้แก่ ความแตกต่างในด้านศักยภาพ หรือสมรรถภาพที่แฝงอยู่ในตัวบุคคล โดยอาศัยสติปัญญาและความสนใจเป็นพื้นฐาน ความถนัดอาจมีมาแต่กำเนิด เนื่องจากความถนัดต้องใช้สติปัญญาเป็นพื้นฐาน หรืออาจมีโดยอาศัยการฝึกฝน ทำให้เกิดทักษะได้

ความแตกต่างทางความสนใจ ได้แก่ ความโน้มเอียงที่บุคคลจะเลือก หรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนเองชอบ เช่น บางคนสนใจกล้วยไม้ บางคนสนใจการอ่านหนังสือพิมพ์ และบางคนสนใจวีดีทัศน์ เป็นต้น ความสนใจจะช่วยให้นผู้เรียนรู้จักตนเอง

แนวทางแก้ปัญหา - ครูสังเกตความเป็นอยู่ของผู้เรียน
- ครูต้องจับจุดความสนใจต่าง ๆ ที่นักเรียนแสดงออกจากคำพูด - ศึกษากิจกรรมที่ผู้เรียนกระทำ หรือประพฤติปฏิบัติ-.ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น ในการเรียนการสอน-จัดให้มีการนำเสนองานที่ผู้เรียนชอบและถนัด
 


คำสำคัญ (Tags): #ครู
หมายเลขบันทึก: 508136เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2012 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท