กระบวนการทำนาแบบปราณีต 2


ตัวอย่างเกษตรปราณีตในกัมพูชา กับแนวโน้มการทำนาต้นเดียวของชาวนาไทย

กระบวนการทำนาแบบปราณีต
 เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า หากเปรียบเทียบเป้าหมายของการปลูกข้าวของชาวนาจากอดีตถึงปัจจุบัน จะมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด  คือเมื่อก่อน  เน้นผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนและเหลือจึงขาย ส่วนปัจจุบันมักจะเป็นในทิศทางตรงข้าม เอาขายเป็นหลัก จะกินทีหรือ ซื้อเขาสบายกว่า ในขณะที่ชาวนาและสังคมไทยอาจมีมุมมองแบบนี้ แต่ในบทความบทนี้ ฉันมีโอกาสได้ถอดเทปกระบวนการทำนาแบบปราณีตเพื่อพัฒนาเกษตรกรกัมพูชามาเล่าสู่กันฟัง ด้วยเห็นว่ามันเป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากความต้องในการที่จะมีข้าวดีๆไว้บริโภคในครัวเรือนของคนกัมพูชา ซึ่งฉันคาดหวังว่าชาวนาไทยจะหยุดตรองเพื่อจะลองคิดทบทวนเหมือนที่กัมพูชากำลังทำอยู่นี้บ้าง ที่น่าชื่นชมสำหรับคนกัมพูชา คือ การค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการปลูกข้าว โชคดีที่ชาวนาในกัมพูชาได้รับการส่งเสริมเรื่องความรู้ทางด้านเกษตรกรรมธรรมชาติจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรมกัมพูชา โดยองค์การเซดัค  มาเผยแพร่แนวคิดจากข้าวหนึ่งเมล็ด เปลี่ยนเป็นข้าวหมื่นเมล็ด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองมาศึกษากันดู
กระบวนการทำนาปรังตามหลักเกษตรกรรมธรรมชาติของกัมพูชา มีจุดเน้นสำคัญที่ การเพาะพันธุ์ข้าวเพื่อให้ชาวนาได้ผลตอบแทนสูง ดังนี้
เทคนิคการเพาะพันธุ์เมล็ดข้าวทำได้โดย
1.ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปแช่น้ำ ชาวนาต้องทำการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่เมล็ดเต็มแน่น สมบูรณ์ หรือนำไปแช่น้ำ เพื่อดูว่าเมล็ดไหนลอย ลีบ แล้วแยกทิ้ง
2.หลังจากนั้นให้นำเมล็ดข้าวที่คัดเลือกแล้ว ไปแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 10 นาที จุดประสงค์เพื่อให้เมล็ดข้าวงอกง่ายขึ้น
3.หลังจากแช่น้ำอุ่นแล้ว ให้นำเมล็ดข้าวใส่ถุงและแช่ในน้ำ 1 คืน
4.วันต่อมาให้ยกเมล็ดพันธุ์ข้าวขึ้นมาจากน้ำ วางทิ้งไว้อีก 2 วัน เมล็ดข้าวจะงอกแตกหน่อออกมา โดยในช่วง 2 วันนี้ ให้หมั่นรดน้ำ ให้เมล็ดข้าวชุ่มชื่นอยู่เสมอ และวางทิ้งไว้ในร่ม
5.ก่อนนำข้าวหว่านให้เตรียมแปลงให้ดีและใส่ปุ๋ยคอก
6.ตอนหว่านข้าวให้หว่านบางๆ ไม่หนาแน่นเกินไป หลังจากหว่านให้รดน้าวันละ 1 ครั้ง ตอนเย็น
7.จากนั้นให้เตรียมไถนาและเตรียมดินสำหรับปักดำ กล้าข้าวที่หว่าน มีอายุแค่เพียง 8-10 วันเท่านั้น
8.ชาวนาต้องคราดนาปรับที่นาให้เรียบเสมอกัน  ระบายน้ำออกไม่ให้มีน้ำขัง มีน้ำเพื่อให้ดินชุ่มชื่นก็พอ
ขั้นตอนการถอนกล้าไปดำ
1.ควรคัดเลือกต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์
2.ถอนและเก็บใส่กาละมังหรือภาชนะอื่นๆ
3.ให้ถอนและนำกล้าขึ้นไปพร้อมกับดินที่ติดขึ้นมา ห้ามสลัดและห้ามมัดรวมเป็นกำ
4.หลังจากถอนต้นกล้าแล้ว ต้องนำไปปักดำ ภายใน 30 นาที
วิธีการปักดำ
1.ปักดำทีละต้น
2.ระยะห่างเท่าๆกัน ไม่ชิดและไม่กว้างเกินไป ในระยะ 23 ซนติเมตร เพื่อให้ต้นข้าวเติบโตได้เท่ากัน
3.ข้อควรระวัง ต้องไม่ปักดำต้นกล้าลึกมาก
วิธีการปลูกข้าวต้นเดียว คือ
1คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์ ต้นกล้าที่สมบูรณ์และดำห่างๆ
2.ถอนต้นกล้าแล้ว ดำทันที ถ้าไม่ดำทันที ต้นข้าวจะชะงักการเจริญเติบโตและงอกช้า
3.ต้นกล้าข้าวต้องดำตอนที่อายุยังอ่อนอยู่ เพราะต้นกล้าอ่อนจะมีเวลาเพียงพอในการเจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นกล้าอายุมาก
4.ไม่ต้องดำต้นกล้าลึก ควรดำตื้นๆ ถ้าดำลึก ต้นกล้าจะบอบช้ำและเติบโตช้า ถ้าดำตื้นจะเติบโตได้เร็วในวันรุ่งขึ้น หลังจากปักดำเสร็จแล้ว
5.การดำต้นข้าว ดำกอละต้นเดียวเท่านั้น  เพราะถ้าดำหลายต้น ต้นข้าวจะแย่งการเจริญเติบโตกัน ถ้าดำต้นเดียวข้าวจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่า เพราะรากข้าวจะแผ่ได้ทุกทิศทาง และสามารถรับแสงได้เต็มที่ โดยไม่มีข้าวต้นอื่นขึ้นมาบดบัง
6.ช่วงปักดำข้าวให้ระบายน้ำออกให้หมด ไม่ให้น้ำขังในแปลงนา เพราะถ้าน้ำขังในแปลงนา จะทำให้ดินอับ ระบายอากาศได้ไม่ดี เพราะข้าวพันธุ์พื้นเมืองต้องการอากาศมากกว่าน้ำ ถ้ามีน้ำขังรากจะเติบโตได้ไม่ดี
7.หลังจากปักดำเสร็จข้าวจะเติบโตพร้อมกับต้นหญ้า เช่นกัน เพราะฉะนั้น ต้องทำการถอนหญ้าในแปลงออกให้สม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลดี 2 ประการ คือ  ข้าวจะงอกงามดีขึ้น  และ ดินจะเบาลงไม่แน่น
เมื่อถอนหญ้าออกแล้วข้าวจะสูงสม่ำเสมอ ถ้าไม่ถอนหญ้าออก ระดับข้าวจะสูงพอๆกับต้นหญ้า ข้าวจะไม่งอกงาม เศษวัชพืช สามารถทำไปเป็นปุ๋ยหมักหว่านในนา
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
ชาวนาทุกคน ทำนาก็อยากได้ผลผลิตสูง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ชาวนาต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก และใส่ปุ๋ยเคมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ด้วยคาดหวังว่ามันจะทำให้ได้ปริมาณข้าวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผลกระทบที่ตามมา ก็มีเกิดขึ้นกับระบบนิเวศน์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด  ในทางกลับกัน ถ้าชาวนาหันมาปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาใหม่ โดยนำเทคโนโลยีการปลูกข้าวมาใช้ เช่น หันมาใช้เทคนิคการปลูกข้าวต้นเดียว เพราะการปลูกข้าวต้นเดียว จะไม่ส่งผลผกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เทคโนโลยีนี้มีความจำเป็นและเหมาะสมอย่างยิ่งในฤดูร้อน เพราะเป็นการทำนาที่ประหยัดน้ำ ลดการใช้น้ำได้ถึง 50%
ที่สำคัญชาวนาก็ไม่ต้องขยายพื้นที่มาก ก็สามารถให้ผลผลิตสูงได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนพันธุ์ข้าวหรือเทคโนโลยีดั้งเดิมที่เคยทำมา แต่ชาวนาต้องขยันเป็นพิเศษ เพราะ ต้องดูแลทั้งข้าว ดูแลทั้งหญ้า ดูแลทั้งน้ำ ไม่ต้องกลัวว่าผลผลิตจะต่ำเลย  และสามารถทำได้ 2-3 ครั้งต่อปีด้วยซ้ำ โดยไม่ต้องขยายพื้นที่การทำนาให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ที่สำคัญต้องหันมาใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมือง ควรนำพันธุ์ข้าวในประเทศมาปลูก เพื่อรักษาพันธุ์ข้าวดั้งเดิมไว้ เนื่องจากพันธุ์ข้าวในประเทศหลายสายพันธุ์มีคุณภาพและรสชาติดี มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ปลูกอยู่แล้ว  ถ้าเราให้ความสำคัญกับการค้นหาว่าข้าวพันธุ์ไหนดี อร่อย ผลผลิตดี แล้วนำมาขยาย จะทำให้เราได้ข้าวตามที่เราต้องการ  เพราะข้าวดั้งเดิม ถ้าคัดเลือกดี ก็จะให้ผลผลิตดี แตกต่างจากข้าวพันธุ์ปรับปรุงใหม่ ซึ่งเราต้องใช้พันธุ์ข้าวในปริมาณมากๆ

ข้อมูลอ้างอิง
เทคนิคการปลูกข้าวต้นเดียวนี้ ผู้คิดค้นคือ มร.ลังลอง ลุยเย นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ซึ่งทำงานอยู่ในประเทศมาดากัสการ์ ท่านได้ค้นคว้าไปพร้อมกับการผสมพันธุ์ข้าว และต่อมาได้ถูกพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ ในปี 2543 ณ ประเทศมาดากัสการ์ ( โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคอแนลของสหรัฐอเมริกา กับ มาดากัสการ์ ต่อมาองค์การเซดัค นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ ผสมผสานกับเทคโนโลยีดั้งเดิมของกัมพูชา และส่งเสริมถ่ายทอดให้ชาวนากัมพูชา จังหวัดต่างๆ ได้แก่ กันกาม ตาแกว กัมปงทม กัมปงจาม กัมปงสะบือ 500 ครอบครัว องค์การเซดัค ได้เชิญชวนเกษตรกรให้ทดลอง ในแปลงทดลอง มีการฝึกอบรมให้ข้อมูลเพื่อแนะนำให้ความช่วยเหลือ ได้ป่านการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี ผลผลิตข้าวจำนวน 6-8 ตัน/เฮกเตอร์ หรือ 90-120 ถัง/ไร่

ลองย้อนกลับมาดูกระบวนการปรับเปลี่ยนแนวคิดของชาวนาไทย ในฐานะคุณอำนวย แนวคิดการทำนาแบบปราณีตไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย มันพิสูจน์กันมาแล้ว ว่าเจ๋งจริง แต่ถ้าจะให้ฉันใส่ความคิดใหม่ลงแทนความคิดเดิมของชาวบ้านแบบเพียวๆ ฉันว่าเหมือนเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุงจริงๆ แต่สิ่งที่ฉันคิดว่า มันจะสามารถช่วยให้แนวคิดใหม่นี้เป็นที่สนใจของชาวบ้าน อย่างน้อยอาจช่วยกระตุกต่อมคิดของพวกเค้า ก็คงหนีไม่พ้นโรงเรียนชาวนา กับกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นชาวบ้านเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ กิจกรรมที่มีความหลากหลายเพื่อนำพาชาวบ้านไปสู่การเรียนรู้ เพื่อให้เข้าถึงเรื่องนั้นๆ อันจะนำไปสู่ความตระหนัก ก่อนจะโน้มน้าวกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง ลักษณะการพูดคุยจึงเน้นเรื่องเวทีชาวบ้าน ให้มีโอกาสคิดและพูดโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เสริมบรรยากาศที่ดีที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันเองมากขึ้น อย่างน้อยให้ได้ช่วยกันวิเคราะห์ความเป็นไปได้ นานาปัญหาที่ชาวบ้านได้นำมาเล่าสู่กันฟังหรือร่วมกันวิเคราะห์ โดยเฉพาะเรื่องรูปแบบการทำนาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ หลายๆเรื่องได้ถูกนำมาพูดและทบทวนในเวที  ฉันไม่ลืมที่จะใช้เวทีชาวบ้าน ค้นหาคุณค่าทางสังคมที่มีอยู่ของพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ในครั้งแรกของการเข้าพื้นที่ ด้วยเหตุผลที่ต้องการรู้เขารู้เรา  และโปรยความรู้สึกแห่งการเชิดชูต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น  ทุกชุมชนย่อมภาคภูมิใจในคุณค่าของตนเอง ถ้าเราสามารถหยิบมายกย่องเชิดชูได้ ฉันเทิดทูนภูมิปัญญาชาวบ้าน ฉันอยากยกศักดิ์ศรีคืนสู่ชาวนา เพราะฉันคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของพวกเค้า ฉันจึงเลือกที่จะรื้อฟื้นวัฒนธรรมข้าวมาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพราะรู้ว่าชุมชนยังสนใจอยู่ และยิ่งถ้าจะลองย้อนกระบวนการทำนาแบบสมัยก่อนมาเชื่อมโยง อย่าคิดเชียวว่าเพ้อฝัน ชาวบ้านเค้าแสดงออกถึงความรู้สึกของความอยากกลับย้อนไปจริงๆ ฉันอาจไม่ได้มีบทบาทในฐานะครูผู้สอนหรือวิทยากร แต่หน้าที่สำคัญของฉัน คือการเป็นผู้เชื่อมโยงประเด็นด้วยการดึงสภาพปัญหาที่ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อเรื่องต่างๆ กับเรื่องการใช้สารเคมี และผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมเมื่อใช้สารเคมีในการทำนา การเชื่อมโยงทั้งสองทางสลับกันไปมา จะยิ่งสามารถบอกให้ชาวบ้านเข้าใจได้ว่า ปัญหาเหล่านั้น เกิดขึ้นตรงจุดใด สาเหตุมันคืออะไร ถึงมันจะเป็นแค่การรับรู้ตามแบบฉบับของชาวบ้าน แต่ฉันก็ถือว่ามันคือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงแนวคิด  ฉันและชาวบ้านสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆได้ โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ของพวกเราเป็นเวที และแน่นอนที่สุด แนวคิดการดำนาต้นเดียวของกลุ่มชาวนา เกิดขึ้นได้ เพราะเรามีเวทีพูดคุยตุกกระต่อมคิดกันอย่างจริงจัง ร่วมกันนี่เอง
การเรียนรู้ที่ควบคู่ไปกับการพิสูจน์ด้วยตา ชาวบ้านจะเป็นคนนำไปขยายผล จากครอบครัวสู่เครือญาติและเพื่อนบ้าน โดยจะนำผลและสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ไปเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างการทำนาแบบใช้สารเคมีและแบบลดต้นทุน ผลที่ออกมาจากการพิสูจน์ผ่านแปลงสาธิตตั้งแต่กระบวนการแรกจนถึงขั้นเก็บเกี่ยว จากแหล่งศึกษาดูงานหลายแห่ง ปรากฎชัดว่ามันลดต้นทุนได้จริง ยิ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ ถึงแม้อาจจะยังไม่เต็มร้อย แต่คนสนใจรอบนอกก็ให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น ฉันว่าการปรับเปลี่ยนความคิดเพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่ มันเกิดขึ้นให้เห็นเป็นระยะๆระหว่างการเรียนรู้ผ่านกลุ่มที่มีความเป็นพวกเดียวกัน
ขณะเดียวกันนั้น คุณค่าที่มันเกิดขึ้นเหนือสิ่งใด ชาวบ้านเป็นผู้รับความรู้ใหม่ แต่ในทางกลับกันความรู้และประสบการณ์เดิมของชาวบ้านก็คือความรู้ใหม่แก่ตัวฉันด้วย ชาวบ้านไม่ได้รับเพียงอย่างเดียวนะ ความเป็นผู้ได้ให้บ้าง มันน่าจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจได้ ถึงแม้จะมีบทบาทที่สังคมตีคุณค่าและความหมายเพียงคำว่า “ชาวนา” ในขณะที่บทบาทของฉัน อาจได้รับการยกย่องจากสายตาชาวบ้านว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีฐานความรู้ทางเทคนิคเกษตร แต่ก็แค่ทฤษฎีเพียงงูๆปลาๆ ไหนเลยจะเทียบเกียรติและคุณค่าของชาวนาตัวจริงได้

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 508เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2005 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชมพู่จ๋า น้ำอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มพื้นที่ที่ ชมพูดูแลค่ะว่า

มีชาวนาคนไหนบ้าง เป็นพระเอก นางเอก ในแต่ละเรื่องที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้มา

หรือองค์ความรู้เด็ดๆ ที่พบระหว่างทางการเรียน ค่ะ

น้ำจะเอามาเป็นข้อมูลในการทำหนังสือและโปสเตอร์ และจัดงานมหกรรมค่ะ

ถ้าได้จากพื้นที่ของพี่เหรียญ หรือคนอื่นด้วยก็ดี ค่ะ เดี๋ยวชาวบ้านจะน้อยใจ 

[email protected]

[email protected]

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ 06-6114525, 02-6199701 เบอร์น้ำเองจ้า

สวัสดีครับ คุณพี่ชมพู่ แห่งข้าวขวัญ

       ผมชื่อ นคร ลิมปคุปตถาวร เป็นนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาเกษตรยั่งยืน ครับ

  ผมเป็นแฟนคลับของโรงเรียนชาวนา ของมขข.ผ่านบล็อกของ อาจารย์วิจารณ์ พานิช ตั้งแต่ เรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวนา แล้วครับ ผมสนใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของชาวนา และ มีคำถามที่อยากจะนำไปศึกษาว่า การทำนาแบบอินทรีย์ หรือ การทำนาแบบทั่วไปของชาวนาจะอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศในนาข้าวได้ดีกว่ากัน และ ผมเห็นว่าน่าจะศึกษาว่าสิ่งที่ชาวนาปฏิบัติในแต่ละช่วงของการปลูกข้าว ว่าทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร ใช้ปัจจัยต่างๆในปริมาณเท่าไร ตั้งแต่การเตรียมดิน การดูแลรักษา ใส่ปุ๋ย(เคมี/อินทรีย์) พ่นสารสกัดสมุนไพร(หรือยาเคมี) ฮอร์โมน (เคมี/อินทรีย์)ปรับระดับน้ำในนาแล้ว อธิบายความสัมพันธ์ของการปฏิบัติเหล่านี้ว่ามีผลต่อระบบนิเวศในไร่นาอย่างไร กิจกรรมใดเป็นตัวสำคัญที่ผลมากต่อสิงมีชีวิตในนา สัมพันธ์อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แมลง ทั้งกลุ่มที่เป็นแมลงดี(ตัวห้ำ ตัวเบียน) และ แมลงร้าย(แมลงศัตรูข้าว)  จึงอยากทราบว่า คุณพี่พอจะมีความคิดเห็นอย่างไรกับการศึกษาในครั้งนี้ ว่าจะมีประโยชน์ต่อชาวนาหรือไม่ และ มีประเด็นอะไรที่พี่อยากนำเสนอหรือชี้แนะแก่ผมบ้าง

จึงขอบพระคุณ มาในความกรุณาช่วยเหลือมาในครั้งนี้ด้วยครับ

เพราะจะเป็นสิ่งที่ผมภูมิใจมาก ถ้าการเรียนปริญญาโทของผมจะมีประโยชน์แก่เกษตรกรโดยตรง กรณีที่ผมมีโอกาสช่วยได้

 

อ้อ ถ้ามีท่านไหน อยากจะชี้แนะ แนะนำ แลกเปลี่ยน พูดคุยกับผมหรือ จะติดต่อมา ก็ติดต่อได้ที่ อีเมลล์ด้านล่างนี้นะครับ

[email protected]

หรือ โทร 0-1867-2042 นะครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ ที่ให้โอกาสพูดคุยกัน 

ขอบคุณคุณนครมากนะคะ ที่ติดตาม จนถึงขั้นเป็นแฟนคลับ แต่ถ้าจะเป็นแฟนคลับจริงๆ น่าจะได้ลองมาพูดคุยและหาข้อมูลถึงถิ่นจะดียิ่งขึ้นไปอีกนะคะ

เรื่องประเด็นที่ถามมานั้น ต้องขออภัยถ้าตอบช้า ต้องยอมรับว่า เพิ่งได้เข้ามาอ่านแล้วเจอกับคำถามที่น่าสนใจนี่แหล่ะค่ะ เอาเป็นว่า พออ่านคำถามปุ๊บ ก็ต้องนั่งครุ่นคิดหลายทางเหมือนกัน ว่าจะตอบโดยวิธีไหน เพราะชักจะไม่ใช่คำตอบสั้นๆเสียแล้วสิคะ

เอาเป็นว่า พี่จะนำข้อมูลที่น้องฝากถาม ไปจัดเขียนเป็นบทความลงบล๊อคให้ได้อ่านกัน ค่อยๆทยอยอ่านนะคะ เพราะเรื่องดีๆของนักเรียนชาวนา โดยเฉพาะการจัดการความรู้ที่ มขข.ทำเนี่ย มันมีเยอะมาก จะใช้เวลาสั้นๆมานั่งเขียน ท่าจะไม่ไหว แต่ในช่วงนี้ ขอสัญญาว่า บล๊อคของข้าวขวัญจะไม่หายไปไหนคะ เพราะตั้งใจว่า จะมายึดพื้นที่แบบเต็มรูปแบบ แต่ถ้าน้องใจร้อนแล้วอยากจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจในเชิงลึก รถโดยสารจากกรุงเทพ-สุพรรณ 85 บาท ขาดตัวค่ะ หรือจะโทรศัพท์มาแลกเปลี่ยนกันได้ค่ะ ที่ 035-597193 แนะนำให้มาถึงถิ่น เพราะจะได้เอิบอิ่มกับบรรยากาศลูกทุ่งๆด้วยค่ะ

      ขอบคุณมากครับ สำหรับคำตอบและหมายเลขติดต่อ  แล้วผมจะรีบติดต่อไปทันทีครับ

แลกเปลี่ยนกันสักนิดนะครับ

  การสำรวจ แปลงนาของโรงเรียนชาวนาที่ มขข.นี้ รู้ได้อย่างไรครับว่า   ตอนนี้ไม่ต้องจัดการควบคุมปริมาณแมลงร้าย ไม่ทราบว่าใช้อัตราส่วนของแมลงดี/แมลงร้ายที่ใช้กันของโรงเรียนเกษตรกรทั่วไปรึเปล่าครับ(ที่เขาว่าแมลงดี 1 /แมลงร้าย 10 ตัว เฉลี่ยต่อจุดสำรวจ ๑ จุด) ถ้าใช่แล้ว ทำไมจึงใช้อัตราส่วนนั้นครับ มีที่มาอย่างไร เป็นจริงทุกสภาพนิเวศหรือไม่

           ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ ขอให้มีความสุขวันตรุษจีนนะครับ ซินเจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดไช้ ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท