ออกกำลังกาย นายบังคับจิตใจ ใครจะยอมทำ


ควรพยายามออกกำลังให้หลากหลายแบบ จะได้ส่วนของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย และจะได้ไม่เบื่อ

         

          ระหว่างร่วมทานมื้อเย็นกับครอบครัว พี่ชาย ลูกลุงของดิฉัน ซึ่งทุกครั้งเรามักจะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องสุขภาพกันเสมอ    ; ; เนื่องจากพี่สะใภ้ดิฉันเป็น DM ตัวพี่ชายเองก็มีคุณแม่เป็น DM     พี่ชายบอกว่าเขาจะต้องได้เครื่องออกกำลังกายแบบจักรยานปั่นอยู่กับที่มาออก กำลังกายที่บ้านและต้องบันทึกการออกกำลังกายส่งบริษัททุกเดือนซึ่งเป็นสิ่ง ที่หัวหน้ามอบให้     ฟังดูครั้งแรกเหมือนเจ้านายใจดี แต่ไหงต้องมีรายงานส่ง พี่ชายก็บอกว่าสาเหตุมาจากอาทิตย์ก่อนมีพนักงานระดับผู้บริหารเป็น DM หมดสติขณะทำงานที่บ้าน เจาะ BS > 500 mg/dl     หมอบอกสมองขาดเลือดจากหัวใจทำงานผิดปกติ เจ้านายจึงคิดเองว่าการออกกำลังกายจะทำให้ผู้บริหารทุกคนมีสุขภาพดี เลยซื้ออุปกรณ์กีฬามาบังคับให้ออกกำลังกาย    " ทำไมไม่เอาไปไว้ที่ทำงานล่ะ " พี่ชายบอกที่ทำงานก็มีแล้ว   " แล้วมีคนไปเล่นไหม " เขาบอกมีแค่ 20% จะเอาเวลาที่ไหนไปเล่น งานก็ยังทำไม่ทันต้องเอากลับไปทำที่บ้านต่อก็มี

          ก็เลยบอกพี่ชายว่า ตัวเค้าี่เองก็ยังไม่เคยใช้เครื่องออกกำลังกายที่ทำงานหรือที่บ้านเลย    ถามทีไรก็บอกว่าเหนื่อย ขอนอนดีกว่า    ซึ่งคนที่ี่รู้จักดูแลสุขภาพจะอยากออกกำลังกาย    เพราะรู้ว่าเป็นวิธีการหนึ่งในอีกหลายวิธีที่เราจะใช้ในการดูแลสุขภาพและ ป้องกันการเกิดโรคด้วยตนเองได้ิเช่นเดียวกับการดูแลอาหาร และการดูแลสภาพจิตใจด้วย จริงๆ ทุกคนก็มีเวลา 24 ชั่วโมงเป็นของตนเอง     ขึ้นกับความพอใจเป็นตัวตัดสินเรื่องที่เราจะมอบเวลาให้ต่างหาก    เลยบอกกับเขาว่า......

         " สุขภาพใช้มากไม่ดูแลมีแต่เสื่อมเสียสตางค์มากเวลาส่งมาซ่อม    การออกกำลังกายถือเป็นการดูแลสุขภาพ แต่ต้องให้พอดีพอเหมาะกับสุขภาพของแต่ละคน โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากขึ้นปัญหาสุขภาพ ความเจ็บป่วย และข้อจำกัดของร่างกายจะมากขึ้นตามมา เช่น การทรงตัวไม่ดี ต้องระวังการลื่นล้ม กระดูกบางหักง่าย จึงควรให้แพทย์ประเมินความพร้อมของสุขภาพ และแนะนำเลือกแบบของการออกกำลังกายที่เหมาะสมว่าควรจะต้องทำกี่วัน ใช้เวลานานแค่ไหน โดยเฉพาะพวกเครื่องออกกำลังกายจะรู้ได้อย่างไรว่าเหมาะกับเรา "

       แค่อยากให้พวกเรา้เข้าใจความหมายของการ ออกกำลังกายแบบง่า่ยๆเหมือนที่ดิฉันบอกกับพี่ชายว่า คือ การขยับร่างกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 15 นาทีขึ้น ต้องไม่เกิดอาการบาดเจ็บหรือเจ็บปวดใดๆทั้งก่อน-ขณะ-หลังปฏิบัติ   ;   เอาแค่รู้สึกตึงๆ กล้ามเนื้อ ขณะออกกำลังกายก็สามารถพูดคุยไดปกติไม่ถึงหอบเหนื่อย    การออกกำลังกายที่หนักเกินไปสำหรับร่างกาย จะนานๆ ครั้ง หรือต่อเนื่องแบบไม่เหมาะกับสภาพร่างกายจะยิ่งก่ออันตรายเพิ่มขึ้นแก่สุขภาพ เช่นการตีแบดมินตันดึกๆ เล่นแรงจนเหงื่อท่วมตัว เดือนละ 1-2 ครั้ง      หรือ ในคนสูงอายุที่มักกระดูกพรุน/ปวดเข่า การวิ่งที่มีแรงกระแทกมากไม่ดี ควรเป็นการเดินบนดินหรือในน้ำ ซึ่งควรพยายามออกกำลังให้หลากหลายแบบ จะได้ส่วนของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย และจะได้ไม่เบื่อ

          การจะเลือกแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม ก็ใช้หลักการเดียวกันกับที่หมอ DM จ่ายยาให้ผู้ป่วยเบาหวาน ทุกคนไม่เหมือนกันขึ้นกับว่าคุณมีอาการอย่างไรก็ให้ยาอย่างนั้นไปบรรเทา อาการ การออกกำลังกายเป็นการบรรเทาอาการและป้องกันโรคได้   

  ก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกายจึงต้องมีการเตรียมตัวเองให้พร้อมดังนี้.....

               1. การตรวจสุขภาพ เรียนรู้ว่ามีเรื่องอะไรที่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งต้องใช้พลังงานจากน้ำตาลสูงในการออกกำลังกาย
               2. เครื่องแต่งกาย รองเท้า สถานที่ ออกกำลังกายเป็นกลุ่มจะมีความเพลิดเพลินกว่า เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ถ้ามีอาการ Hypoglycemia จะได้มีคนดูแล
               3. เลือกแบบของการออกกำลังกาย ซึ่งมี 3 แบบ
                   3.1 แบบยืดเหยียด เป็นการเตรียมตัวยืดกล้ามเนื้อทุกส่วน ให้คลายตัว เพื่อป้องกันการฉีกขาด บาดเจ็บหรือกระดูกขัดโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ หัวใจ การยืดอวัยวะไหนก็ดีกับอวัยวะนั้น ถ้ากิจกรรมเป็นใช้ขาก็ยืดกล้ามเนื้อขามากหน่อยเพื่อเตรียมพร้อม ถือเป็นการ worm up หรือ cool down ก่อน/หลังออกกำลังกาย ก็ถือเป็นการฝึกเหยียดกล้ามเนื้อแต่ละส่วนด้วย

                   3.2 แบบแอร์โรบิค ไม่ได้หมายถึงการเต้นแอโรบิก แต่เป็นการออกกำลังกายโดยใช้อ๊อกซิเจน มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เพื่อช่วยให้ปอดและหัวใจทำงานมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น ควรกระทำต่อเนื่อง 20 นาที เช่น เดิน วิ่ง มวยจีน โยคะ

                   3.3 การยกน้ำหนัก มีความแรงของการกระแทกสูง

          การออกกำลังกายเบาๆ เหนื่อยแต่พูดคุยได้สบาย ไม่มีแรงกระแทกมากสำหรับคนที่ไม่เคยออกกำลังกาย จึงจะเหมาะสมกับทุกคนรวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานด้วย จะออกมากน้อยไม่สำคัญ ขอให้มีการขยับกล้ามเนื้อต่อเนื่องเพิ่มขึ้น จากที่ไม่เคยมีมาเลยก็น่าจะเป็นที่พอใจ แต่ถ้าสนใจมากอาจทำ 2-3 ครั้งๆ ละ 30 นาที / สัปดาห์  

          ส่วนในคนเป็นเบาหวานต้องทำ SMBG.... ก่อน-ขณะ-หลังออกกำลังกายด้วย เพื่อป้องกัน Hypoglycemia  โดยให้ปฏิบัติดังนี้                  - อาจให้ คาร์โบไฮเดรต 1 ส่วนเสริมก่อนออกกำลังกาย
               - ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้วก่อนออกกำลังกาย และให้สังเกิตสีปัสสาวะหลังออกกำลังกาย ถ้าปัสสาวะที่ี่ออกสีเข้ม แสดงว่าขาดน้ำให้ดื่มน้ำเพิ่ม
               - ไม่ควรออกกำลังกายในสถานที่ร้อนจัด อากาศไม่ถ่ายเท
               - ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน เพราะร่างกายล้ามาทั้งวัน
               - ไม่ออกกำลังกายขณะเจ็บป่วย หรือ BS > 250-300

          ดิฉัน จึงถือโอกาสนี้เป็นการกระตุ้นพี่ชายและพี่สะใภ้ให้เห็นความสำคัญในการออก กำลังกาย เพิ่มจากเรื่องอาหารที่เขาสนใจอยู่แล้ว พี่ชายดิฉันบอกว่าจะลองไปปรึกษาเจ้านายใหญ่อีกครั้ง ท่านจะได้ไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากแบบไม่เกิดประโยชน์ เพราะผู้บริหารบางคนแบบพี่ชายดิฉันก็ไม่อยากได้มาแบบบังคับให้ทำ ซึ่งไม่มีความสุข เช่นกัน

เล่าโดย: ยุวดี มหาชัยราชัน

หมายเลขบันทึก: 50779เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แวะมาเยี่ยมคนที่สนใจการออกกำลังกายครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท