เรื่องเล่าของคุณสมหมาย พลอาจ : จัดการความรู้เกษตรธรรมชาติสู่ชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง


ต้องเลิก การจะอยู่รอดได้จะต้อง เลิกอะไร เลิกพฤติกรรมความเสี่ยงต่างๆ

          คุณสมหมาย  พลอาจ เล่าในงานตลาดนัดความรู้..ขององค์กรแห่งการเรียนรู้” มรภ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 7 กันยายน  2549 (ลิงค์อ่าน) ต่อจากคุณสายัณห์ ปิกวงค์(ลิงค์อ่าน)  และคุณเชิงชาย  เรือนคำปา (ลิงค์อ่าน) และคุณทองดี  งามเสริฐ (ลิงค์อ่าน)     <hr>  <p style="text-align: center" class="content"></p>    
               “ สวัสดีครับ กว่าจะมาเป็นวันนี้ ก็ไม่ได้มีแบบนี้  มันไม่ได้สวยหรูนะครับ ผมเกิดมา โตมาจากปัญหา   เริ่มมาจากปัญหาในชุมชนพบแต่ปัญหา การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น  ปัญหาหลายๆ อย่าง ก็ได้มานั่งคุยกันกับแกนนำในชุมชน การมีหลายฝักหลายฝ่าย แม้แต่การทำกินก็ขาดความรู้   มีแต่เอาความรู้จากข้างนอกมาใช้  ดังนั้นการเริ่มต้นกันที่การทำแผนแม่บทชุมชน  ค้นหาอดีต  เรียนรู้ปัจจุบัน สาเหตุพบว่าครัวเรือนเป็นหนี้กันทุกครัวเรือน พบปัญหาการทำกินคือ              
                
1. ต้นทุนสูง         
        
2.
ผลผลิตตกต่ำ         
         
3.
ราคาผลผลิตไม่แน่นอน
             
ผมก็แยกปัญหาออกมาทีละตัวอีก ว่าปัญหาตัวนี้ สาเหตุมันมาจากอะไร สาเหตุต้นทุนสูงจะทำอย่างไร  ก็มานั่งวิเคราะห์กัน  ปุ๋ย  ยา  ค่าแรงงาน ที่เป็นต้นเหตุให้ต้นทุนสูง   และผลผลิตตกต่ำคืออะไรครับ ก็คือดินฟ้าอากาศแปรปรวนนะครับ  ดินเสีย ดินเสื่อม ภัยธรรมชาติ  เหล่านี้นะครับ เราก็มาตั้งประเด็นว่าเราจะแก้ปัญหาได้ไหม  สิ่งที่ทำได้ก็รีบลงมือทำทันที  สิ่งที่แก้ไม่ได้ก็ชะลอไว้ก่อน สิ่งที่เราทำได้เลยก็คือ 
              
1.  เลิก  การจะอยู่รอดได้จะต้อง เลิกอะไร   เลิกพฤติกรรมความเสี่ยงต่างๆ
               
2.     ต้องลด  เลิกได้ก็ต้องลดการพึ่งพาจากภายนอก  แสวงหาความรู้  ซึ่งผมเองก็ใช้ตัวองเป็นหลัก เราอย่าไปฟังคนภายนอกมาก  คนที่มาบอกเราเขาไม่รู้ปัญหาของเรา  แต่เราอยู่ในท้องถิ่นเราเป็นผู้กระทำ เรารู้ ก็ เอาคนที่มีความรู้ในพื้นที่มานั่งคุยกัน   
              
เมื่อเราลดการพึ่งพิงจากภายนอกแล้วเราก็ต้องหาสิ่งที่มาทดแทน  สิ่งทดแทนในภาคการเกษตรทดแทนพวกปุ๋ยพวกยา พวกสารเคมีต่างๆ เราต้องหาสิ่งทดแทน
 พอเรารู้แล้ว ได้สารทดแทนแล้ว แล้วเราจะทำยังไง เราก็หาภูมิปัญญาชาวบ้าน นักปราชญ์ชาวบ้านมาช่วยกันระดมความคิด  เมื่อเราหาสิ่งทดแทนได้แล้วทำไมเราถึงจะเอามาใช้ได้ ถึงจะอยู่รอดเราก็ฟันธงว่า  เราต้องผลิตได้เอง หากซื้อจากภายนอกเราก็พึ่งพาตนเองไม่ได้ เราต้องพึ่งตนเองให้ได้   และการไปหาความรู้จากภายนอกชุมชน  จากที่ต่างๆ จากศูนย์วิจัยต่างๆ  นำความรู้มาปฏิบัติงานและมาประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นได้เอง          
       
เมื่อเราผลิตเองได้แล้ว  ทำอย่างไรเราจึงจะมีรายได้เพิ่ม ก็ต้องคิดต่ออีกก็ฟันธงว่าต้องมีการแปรรูป เราถึงจะเพิ่มมูลค่า  ก็เหมือนกลุ่มของคุณทองดี  มีการแปรรูปจากข้าวที่ขายไปในตลาดราคาถังละ 50-60บาท เราก็ข้าวเปลือกเป็นข้าวสารขายในชุมชนส่วนหนึ่ง   อีกส่วนหนึ่งก็ทำเป็นข้าวพันธุ์ดี มันถึงจะอยู่รอด   ถึงจะไม่ถูกพ่อค้าเอาเปรียบ เพราะตั้งราคาขายได้เองโดยตั้งกลุ่มศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืช และขายพันธุ์พืชให้กับชุมชนในหมู่บ้าน   และจัดตั้งคนกลุ่มหนึ่งเพื่อทำพันธุ์พืชขายและซื้อกลับมาเชื่อมโยงกับคนสองกลุ่ม เมื่อแปรรูปแล้วมันก็ยังไม่สมบูรณ์แบบ ก็ยังมีอีกถ้าจะให้ดีเราต้อง
    
·       ต้องฉลาดซื้อ  ซื้อสิ่งที่จำเป็น ที่เราเอามาประกอบการ ไม่ซื้อตามกระแส หรือซื้อตามคนบอกเล่า ตามพ่อค้า พ่อค้ายา- ปุ๋ย พวกเซล จะบอกว่าปุ๋ยนี้ดีนะ ยานี้ดีนะ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
    
·       เมื่อฉลาดซื้อเมื่อตัดสินใจซื้อก็ต้องฉลาดใช้  ใช้ให้เป็น  และถูกต้อง หากใช้ไม่เป็นก็จะเสียเปล่า เสียทั้งสองด้านเลย               
              
เกิดกระบวนการทำงานรู้ ปัญหา
สาเหตุ การแก้ไขปัญหา ก็ปฏิบัติทันที พึ่งตนเองเป็นหลักโดยการผลิตเอง  พึ่งตนเองทุกอย่าง  ขั้นตอนการทำงานทุกอย่างการทำงานจนถึงการเก็บเกี่ยว  ผมจะเก็บข้อมูลทุกอย่าง  เก็บข้อมูลจนแน่ชัด  ใช้เวลา 3 ปี ที่เก็บข้อมูลว่าสูตรที่ผมทำเพื่อทดแทนนี้ใช้แล้วได้ผล  แล้วจึงกระจายความรู้ออกไปสู่ชุมชน และชุมชนรอบๆ ข้าง เดี๋ยวนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม จนถึงวันนี้คนนอกชุมชนรอบข้าง มีกลุ่มเกษตรกรที่เป็นหนี้นอกระบบ  มาให้พวกผมทำการอบรมให้  มาใช้กระบวนการฟื้นฟูอาชีพของศูนย์เรียนรู้ประจำหมู่บ้าน  ให้ชุมชนอาชีพเดียวกันมาปรับเปลี่ยนแนวคิด  มาเรียนรู้ชีวิตใหม่ สิ่งที่มันพลาดไปก็แก้ไขใหม่เพราะมันยังไม่สายครับ               
                
ที่สำคัญ คนในชุมชน ต้องมีความสามัคคีกัน ต้องมีแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน มันจึงจะแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพได้  แต่สิ่งที่พวกผมทำซึ่งเป็นความรู้ที่น่าจะจดไว้  แต่ก็ไม่ได้จดไว้เพราะผมเขียนตำราไม่เป็น ทำอย่างเดียว ใช้การถ่ายทอดโดยการปฏิบัติ จากคนสู่คน ที่เราทำเราทำจริงกระจายกันไปโดยแทรกเข้าไปที่เขาทำเคมีอยู่  ผมก็ไปแทรกทำนาโดยการหาเช่าพื้นที่ๆ เขาล้มเหลวแล้วทำนาขาดทุน จากการทำนา  ทำการผลิตและวิจัยใช้เวลา  
2-3 ปี ได้ผล คนรอบข้างเห็นด้วย 
              
ในช่วงเริ่มต้นกลุ่มของผมทำแค่
13 คนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีมากกว่า 100 คนแล้ว มีเครือขายกลุ่มพันธมิตรทั้ง 9 อำเภอในจังหวัดกำแพงเพชร มาเข้าร่วมเรียนรู้ 1500 คนแล้ว แต่ไม่มีตำราให้  ให้ลงมือฝึกปฏิบัติเอง ใช้เวลา 2 วันต่อหนึ่งรุ่นคำขวัญและหลักคิด คติเตือนใจของชุมชนทำให้ทำมาจนถึงทุกวันนี้ คือ         
         
ข้าวหอมมะลิลือไกล  ปลาค้าวใหญ่บางบัวหลวง  มะม่วงมันบ้านไร่ปรือ  ข้าวซ้อมมือบ้านคุยป้อม นาในไร่ล้อม มีพร้อมบ้านสี่คุย  คำขวัญเหล่านี้มีที่มาที่ไป เป็นหลักคิด  ทำให้มีพลังในการทำงาน
<hr> <p class="content">          คุณสมหมาย  พลอาจ   ปัจจุบัน เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
          บ้านนาป่าแดง หมู่ที่ 4
          ตำบลคุยบ้านโอง
          อำเภอพรานกะรต่าย  จังหวัดกำแพงเพชร
             เคยเล่าให้ทีมนักส่งเสริมการเกษตรฟัง ในการสัมมนาประจำเดือนกรกฏาคม 2549 มาแล้วครั้งหนึ่ง เน้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (ลิงค์อ่าน) เพิ่มเติม</p> <p class="content">บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ
วีรยุทธ  สมป่าสัก 19 กันยายน  2549</p>
<p class="content"></p>

หมายเลขบันทึก: 50777เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • พี่วีรยุทธถอดความรู้ออกมาได้ละเอียดมาก ๆ เลยครับ
  • คุณสมหมายเล่าถึงสิ่งต่าง ๆ ได้เชื่อมโยงเห็นภาพอย่างยิ่งครับ
  • ขออนุญาตชื่นชมทั้งผู้จัดกระบวนการ ผู้เล่าและทุก ๆ ท่านที่ทำให้สิ่งดี ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นมาอย่างสวยงามครับ
  • ขอพลังแห่งความสวยงามนี้จงสถิตกับทุกท่านตลอดไปครับ

เรียน  อาจารย์ปภังกร

  • คุณสมหมายเป็นผู้ที่มีความรู้จากการปฏิบัติจริงที่ดีมากคนหนึ่งนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่ให้กำลังใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท