สอบครูผู้ช่วย, แนบตารางสอน, ครูประจำกลุ่ม-ป.บัณฑิต, โครงสร้าง กศน.อำเภอ, ผ่อนผันเกณฑ์ทหาร, ประเมินฯกับประกันฯ, เกรดการเทียบโอนต่างๆ, เทียบระดับฯตกบางด้าน, ส่ง SAR 53-55


มีเฉพาะการเทียบโอนจาก กศ.ขั้นพื้นฐานที่สูงกว่า ป.4 กับการเทียบโอนจากการประเมินความรู้และประสบการณ์ เท่านั้น ที่ผลการเทียบโอนเป็นเกรด, การประเมินคุณภาพฯเป็นขั้นตอนหนึ่งของการประกันคุณภาพฯ

 สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8 เรื่อง ดังนี้

         1. วันที่ 28 ต.ค.55 คุณ “ครูผู้ช่วย” ถามผมทางอีเมล์ผ่าน gotoknow.org ว่า  การเทียบโอนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ผลที่ได้คือ ผ่าน แต่ที่ทำงานให้ผลการเรียนเป็นตัวเลข  ผิดหรือเปล่า หรือว่ามีวิธีการเทียบให้เป็นตัวเลขด้วย ถ้าผิดควรทำอย่างไร

             ผมตอบว่า  คุณต้องเป็นผู้บอกผมครับว่าคุณเทียบยังไง ถึงออกมาเป็นตัวเลข คำนวณตัวเลขยังไง
  การเทียบโอนมี 5 วิธี คือ

             1)  เทียบโอนจาก กศ.ขั้นพื้นฐาน  ผลการเทียบโอนเป็นเกรด 8 ระดับ ยกเว้นการเทียบโอนระดับ ป.4 ผลการเทียบโอนเป็น ผ่าน
             2)  เทียบโอนจาก กศ.ต่อเนื่อง
ผลการเทียบโอนเป็น ผ่าน
             3)  เทียบโอนจากหลักสูตรต่างประเทศ ผลการเทียบโอนเป็น ผ่าน
             4)  เทียบโอนจากกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
ผลการเทียบโอนเป็น ผ่าน
             5)  เทียบโอนจากการประเมินความรู้และประสบการณ์  ผลการเทียบโอนเป็น เกรด 8 ระดับ
             สรุป  มีเฉพาะการเทียบโอนจาก กศ.ขั้นพื้นฐานที่สูงกว่า ป.4 กับการเทียบโอนจากการประเมินความรู้และประสบการณ์ เท่านั้น ที่ผลการเทียบโอนเป็นเกรด
8 ระดับ  

             ถ้าเทียบโอนจากกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ต้องแก้ผลเป็น ผ่าน


         2. วันเดียวกัน ( 28 ต.ค. ) คุณณัฐธยาน์ นอกุล ถามผมทางอีเมล์ผ่าน gotoknow.org 6 ข้อ  ดังนี้

             1)  สนง.กศน.จะเปิดสอบเลื่อนระดับหรือสอบภายในจาก พรก.ที่เป็น ครูกศน.ตำบล เป็นข้าราชการเมื่อไร
                  ตอบว่า  หมายถึงสอบเป็นข้าราชการตำแหน่งครูผู้ช่วยใช่ไหม  การสอบภายใน ผู้ที่มีสิทธิ์สอบไม่ใช่เฉพาะหัวหน้า กศน.ตำบล นะ แต่ทุกตำแหน่งที่สังกัด กศน.มีสิทธิ์สอบ ( ถ้าคุณสมบัติครบ ) จะสอบประมาณ ธ.ค.55

             2)  ตำแหน่งที่คาดว่าจะเปิดสอบบรรจุ /จำนวนเท่าไร/คุณสมบัติต้องมีอะไรบ้าง (เป็นครู กศน.ตำบลมากว่า 4 ปีแล้ว)
                  ตอบว่า  คุณสมบัติคือ
                  - เป็นครูอัตราจ้างหรือลูกจ้างชั่วคราวจากเงินงบประมาณหรือเงินรายได้ของสถานศึกษา  พนักงานราชการ  ลูกจ้างประจำ  พนักงานจ้างเหมาบริการ  ซึ่งทุกตำแหน่งต้องได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่สอนตามคำสั่งหรือสัญญาจ้างอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันไม่น้อยกว่า 3 ปี  นับถึงวันรับสมัครคัดเลือกวันสุดท้าย
                  - มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งครูและครูผู้ช่วย
( คุณสมบัติข้อนี้เป็นคุณสมบัติของครู กศน.ตำบล และครูอาสาฯ ด้วย  ปกติต้องตรวจคุณสมบัตินี้ตั้งแต่ตอนสมัครสอบเป็นครู กศน.ตำบล หรือครูอาสาฯแล้ว  สามารถตรวจสอบได้ตามวิธีในข้อ 8 ที่ 
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/499858  
                  - มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ( ครั้งนี้สำหรับผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู อาจใช้ใบอนุญาตปฏิบัติการสอนแทนได้ )

                  จำนวนบรรจุทันทีประมาณ 12 คน ที่เหลือปกติถ้าให้สอบเฉพาะคนภายในสังกัด จะไม่ให้ขึ้นบัญชี แต่เข้าใจว่า กศน.จะขออนุญาต ก.ค.ศ.ขอขึ้นบัญชีผู้สอบผ่านเกณฑ์ไว้ 2 ปี ( ไม่ทราบว่า ก.ค.ศ.จะอนุญาติอย่างไร )

             3)  ติวหรือศึกษาเพื่อเตรียมตัวจากที่ไหนดีที่สุด
                  ตอบว่า  ผมไม่ทราบว่าที่ไหนดีที่สุด

             4)  ความเป็นไปได้ที่จะปรับ พรก.เป็น ข้าราชการเลยมีไหม หรือหากเปิดสอบมีโอกาสแค่ไหนที่จะเปิด
                  ตอบว่า  การจะปรับ พรก. ( พนักงานราชการ ) เป็นข้าราชการโดยไม่ต้องสอบ ต้องเป็นมติ ครม. แม้แต่จังหวัดชายแดนใต้ก็มีความเป็นไปได้น้อย ส่วนจังหวัดอื่น ๆ คงไม่มี

             5)  การสอบข้าราชการครู กศน. การแข่งขันรุ่นแรงมากน้อยเพียงใด
                  ตอบว่า  สอบข้าราชการครู กศน. มีการแข่งขันน้อยกว่าในระบบ แต่การแข่งขันก็ยังสูง
ครั้งที่แล้ว กศน.พื้นที่ทั่วไป มีผู้สมัคร 5,483 คน ได้บรรจุ 167 คน ( 1 ต่อ 33 )

             6)  แต่ละตำแหน่งต้องอ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง
                  ตอบว่า  ในประกาศรับสมัครจะบอกไว้ด้วยว่าจะสอบเนื้อหาใดบ้าง  ( ดูได้จาก หลักสูตรการคัดเลือก ตอนท้ายของหนังสือที่ 
https://dl.dropbox.com/u/109014048/v12.pdf  )

         3.วันเดียวกัน ( 28 ต.ค. ) คุณอนุวัฒน์ ทองบุตร ผู้สมัครเข้ารับการเทียบระดับการศึกษา  ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ทำงานอยู่กรุงเทพ ไม่ค่อยได้ไปทำงานด้านพัฒนาสังคม ก็เลยไม่รู้จะเขียนประสบการณ์ด้านพัฒนาสังคมลงในแฟ้มอย่างไร ถ้าไม่เขียนก็จะไม่ผ่านการประเมินใช่ไหม  ส่วนมากผู้สมัครจบไหม  ส่วนมากไม่ผ่านข้อไหน  ถ้าไม่ผ่านมีแก้ไหม
             ผมตอบว่า  การประเมินเทียบระดับ ในส่วนของ "ประสบการณ์" แบ่งเป็น
3 ด้าน คือด้านการพัฒนาอาชีพ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชนแต่.. ตัดสินที่คะแนนรวมครับ คือ บางด้านอาจได้คะแนนน้อยแต่ถ้ามีด้านอื่นได้คะแนนสูง เมื่อรวมกันแล้วถึงเกณฑ์ก็ผ่านแต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาท ควรพยายามคิดหาเรื่องมาเขียนให้ได้ทุกด้าน เผื่อด้านอื่นก็ไม่ได้คะแนนสูง( ที่ยากจริง ๆ จะอยู่ในส่วนสอบ "ความรู้" )
             - สถิติรวมทั้งประเทศปีที่แล้ว ผ่าน 69 % ( ผ่านประมาณ 69 คน จาก 100 คน )
             - ส่วนมากไม่ผ่านการสอบความรู้
             - ถ้าไม่ผ่านด้านไหน ( ด้านประสบการณ์ หรือด้านความรู้ ) ก็สมัครใหม่ ทำแฟ้มหรือสอบใหม่เฉพาะด้านนั้น

         4.วันเดียวกัน ( 28 ต.ค. ) ผมตอบคำถามคุณ Chakuta Aeng ที่ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า  โครงสร้างกศน.อำเภอ ถ้าจะมีการปรับเปลี่ยนที่ไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ในโครงสร้างฯ 2551 จะได้หรือไม่ (ขึ้นกับดุลยพินิจของผู้บริหารสถานศึกษา)
             ตอบว่า  ปรับโครงสร้างได้ตามบริบทของแต่ละแห่ง

         5. วันที่ 29 ต.ค.55 ท่าน ผอ.กศน.อ.อุทัย โทร.มาถามผมว่า ที่ผมตอบในเว็บว่า กศน.อ.ที่จะรับการประเมินภายนอกในปีงบประมาณ 2556 ให้ส่ง SAR ปีงบประมาณ 2553-2555 นั้น ถูกต้องหรือไม่  ผมตอบว่าผมมั่นใจว่าถูกต้อง
             อย่างไรก็ตาม วันเดียวกัน ผมได้ถามเรื่องนี้กับกลุ่มพัฒนา กศน.  ได้รับคำตอบจากท่าน ผอ.กลุ่มพัฒนา กศน. ว่า ให้ส่ง
SAR ปีงบประมาณ 2553-2555
             ส่งเป็นเล่มชุดเดียว ( รวม 3 เล่ม ) และส่งเป็นแผ่น CD อีก 6 แผ่น ( แต่ละแผ่นมีไฟล์ SAR 53-55 ทั้ง 3 ปี เหมือนกันทั้ง 6 แผ่น )

             นอกจากนี้  ท่าน ผอ.กลุ่มพัฒนา กศน. ยังบอกว่า  เฉพาะการเก็บข้อมูลในบางตัวบ่งชี้ที่จะนำมาคำนวณค่าร้อยละนั้น บางเรื่องถ้าไม่สามารถเก็บข้อมูล 3 ปีได้ เพราะขัดหลักความเป็นจริง ( สมศ.เพิ่งประกาศตัวบ่งชี้การประเมินรอบสามได้ปีเดียว บางตัวบ่งชี้เป็นเรื่องที่ กศน.ไม่เคยเก็บข้อมูลมาก่อน )  ก็ให้เก็บข้อมูลตามที่เก็บได้จริง ไม่จำเป็นต้องครบ 3 ปี

         6. การผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร
             ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 73 ( พ.ศ.2536 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497  กำหนดบุคคลผู้จะได้รับการผ่อนผันฯ ในข้อ 2 (ง) ว่า “นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ... ให้ได้รับการผ่อนผันจนสำเร็จระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้ไม่เกินอายุ 22 ปีบริบูรณ์”
             จึงขอประชาสัมพันธ์ ให้สถานศึกษา กศน. สำรวจนักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐาน ระดับ ม.ปลาย อายุ 20-22 ปี ( เกิดในปี พ.ศ.2533-2535 ) ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ  และประสงค์จะขอผ่อนผันการตรวจเลือก  ให้ทำเรื่องขอผ่อนผัน  โดยให้ กศน.อำเภอ/เขต รวบรวมส่ง สนง.กศน.จังหวัด/กทม ภายในเดือนธันวาคม  และ สนง.กศน.จังหวัด/กทม. รวบรวมส่งผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของ นศ.นั้น ภายในเดือนกุมภาพันธ์

         7. วันที่ 1 พ.ย.55 คุณ “Jeed Saengdee” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพ กับคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพ เหมือนกันไหม
             ผมตอบว่า  ไม่เหมือนกัน การประเมินคุณภาพฯเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการประกันคุณภาพ  โดยกระบวนการประกันคุณภาพประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

             1)  การควบคุมคุณภาพภายใน
             2)  การตรวจสอบคุณภาพ
             3)  การประเมินคุณภาพ ด้วยการประเมินตนเอง (SAR), การประเมินโดยต้นสังกัด ( รวมทั้งการประเมินภายนอก )

         8. วันที่ 2 พ.ย.55 สำนักงาน กศน.โดย กจ.แจ้งแนวปฏิบัติในการ “ขออนุญาตประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เพื่อใช้สมัครเรียน ป.บัณฑิต ตามหนังสือที่ ศธ 0210.118/3363  ( พร้อมทั้งให้ตรวจสอบรายชื่อผู้อยู่ในการสำรวจของต้นสังกัดด้วย ที่ http://www.nfe.go.th/home/index.php?option=com_content&view=article&id=24078:-ict-2554&catid=112:2010-11-29-13-37-39&Itemid=219  )
             หนังสือฉบับนี้ได้แนบ "แนวปฏิบัติของสถานศึกษา..." มาด้วย โดยระบุไว้ในแนวปฏิบัติข้อ 2 ว่า ครูประจำกลุ่มถึงแม้จะได้รับ "อนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" ก็เรียน ป.บัณฑิต ไม่ได้ เพราะอะไร ?!..

             เพราะ... ยุคปัจจุบันนี้ ให้จ้างครูประจำกลุ่มเฉพาะกลุ่มเป้าหมายพิเศษเท่านั้น ( ส่วนกลุ่มทั่วไปถึงแม้จะมีจำนวนนักศึกษาน้อยก็ให้จ้างเป็นครู ศรช. แต่ให้เบิกเงินตามรายหัว )
             กลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น ผู้ต้องขัง ทหารกองประจำการ ฯลฯ รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายพิเศษอื่น ๆ เช่น อสม.
             ซึ่งครูประจำกลุ่มที่ถูกต้องในยุคปัจจุบัน จะเป็นบุคลากรในหน่วยงานต้นสังกัดของกลุ่มเป้าหมายพิเศษนั้น เช่น เป็นหมอ เป็นข้าราชการทหาร เป็นข้าราชการกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น ครูประจำกลุ่มเหล่านี้ถือเป็นบุคคลนอกสังกัด ไม่สามารถนับรวมเป็น “ครู กศน.” ให้มีสิทธิเรียนป.บัณฑิตได้

             อนึ่ง  หนังสือฉบับนี้ พิมพ์ตัวหนาพร้อมขีดเส้นใต้ ไว้ว่า "คุณสมบัติครบ" ตามที่คุรุสภากำหนด ซึ่งประกอบด้วย
             1)  มีรายชื่ออยู่ในการสำรวจของต้นสังกัด
             2)  ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการสอน โดยมีสัญญาจ้างให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการสอนจนถึงวันที่รับสมัคร ( สัญญายังไม่หมดอายุ )

             3)  มีหนังสือจากคุรุสภาที่ "อนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" ซึ่ง ออกให้ก่อนวันที่สมัครเรียน และยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน

             ถ้าคุณสมบัติไม่ครบ เรียน ป.บัณฑิตได้ไหม ?

             ถ้าคุณสมบัติไม่ครบทุกข้อ
             - เรียนได้ ( บางมหาวิทยาลัยไม่ตรวจคุณสมบัติทุกข้อ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน )
             - เสียเงินค่าเรียนได้
             - เสียเวลาเรียนจนจบได้
             - เรียนจบแล้วก็ได้ประกาศนียบัตรของมหาวิทยาลัย
             แต่...
             คุรุสภาไม่ให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  เท่านั้น

             ทั้งนี้  การ “ขออนุญาตประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”  คุรุสภากำหนดเพิ่มให้แนบตารางสอนด้วย โดยคุรุสภาจะนับจำนวนชั่วโมงสอนในตารางว่า ผ่านเกณฑ์หรือไม่  ( ผมไม่แน่ใจว่าเกณฑ์คือต้องสอนสัปดาห์ละอย่างน้อย 10 ชั่วโมง ใช่หรือไม่ )  ในการขออนุญาตนี้ ถ้าไปติดต่อที่คุรุสภา กทม. จะใช้เวลาไม่เกิน 15 วัน ( ฝากกันไปก็ได้ แต่ต้องลงนามรับรองเอกสารไปให้ครบถ้วน )  แต่ถ้าส่งไปทางไปรษณีย์อาจใช้เวลามากกว่า 1 เดือน และถ้าเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน เรื่องก็อาจเงียบหายไปเลย




             กรณีเร่งด่วน ให้เพิ่มเอกสาร
             - ประกาศรับสมัครเรียน ป.บัณฑิต ของมหาวิทยาลัย ที่ระบุช่วงเวลารับสมัคร
             - ใบรายชื่อที่สถานศึกษานำส่งให้ไปเรียน ป บัณฑิต ที่ประกาศ ( ปริ๊นท์จากรายชื่อผู้แจ้งความประสงค์ของ กจ.กศน. )
            กรณีเร่งด่วนนี้ ถ้าใกล้ปิดรับสมัคร คุรุสภาจะดำเนินการให้ก่อน ซึ่งจะได้ภายในวันที่ยื่นขอ



หมายเลขบันทึก: 507502เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2012 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่ท่านอาจารย์นำมาเผยแพร่ แล้วผออำเภอจะเปิดสอบเมื่อ ไหร่ครับ(เพื่อนหลายคน)คอยติดตามข่าวจากท่านอาจารย์อยู่ขอบคุณครับ

ผอ.อำเภอก็คงจะเปิดสอบประมาณ ธ.ค.55 เช่นกันมั้งครับ Ico48

มาเยี่ยมชมผลงานและให้กำลังใจในการทำงานเพื่อสร้างสรรค์ของ อ.เอกชัยครับ

กระทรวงศึกษาธิการ ให้โอกาส พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ในสังกัด ทำงาน 3 ปี สอบภายในเป็น ข้าราชการ ได้ แต่กระทรวงอื่นๆ กลับ ไม่มีนโยบายในการก้าวหน้าแบบนี้บ้างเลย ครับ

ผมไม่ทราบเรื่องกระทรวงอื่น ๆ แต่กระทรวงอื่น ๆ บางกระทรวงอาจจะมีนะ เคยได้ยินเกี่ยวกับ กรมป่าไม้, กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดี ที่อาจารย์นำมาแบ่งปันค่ะ

ขอบคุณ อ.เอกชัยที่ทำให้เราได้มีข้อมูลดีๆ มาพัฒนาตนเอง เสมอๆ ขอบคุณค่ะ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ อ.เอกชัย ตลอดค่ะ ได้ประโยชน์และไขข้อสงสัยทุกเรื่องค่ะ

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ Ico48 Ico48 Ico48 Ico48

ผมส่งสี่ครั้งละครับยังไม่อนุญาตเลย

ครั้งแรกสัญญาจ้างใกล้หมดอายุ

ครั้งที่สอง ในสัญญาต้องระบุเป็นครูอัตราจ้าง

ครั้งที่สาม ตารางสอนไม่ถูกต้อง

ครั้งที่สี่กำลังจะส่ง

ปล.เบอร์คุรุสภาติดต่อยากมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท